?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?วันลอยกระทงกับวัฒนธรรม ประเพณีและประวัติศาสตร์ไทย? จำนวน 1,424 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 12-23 พฤศจิกายน 2566 สรุปผลได้ ดังนี้
อันดับ 1 พอรู้บ้าง 69.03% อันดับ 2 รู้เป็นอย่างดี 24.23% อันดับ 3 ไม่ค่อยรู้ 6.74% 2. ประชาชนคิดว่า ?วันลอยกระทง? มีบทบาทสำคัญอย่างไร อันดับ 1 เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีไทยสู่สายตาชาวโลก 95.35% อันดับ 2 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 68.48% อันดับ 3 ผู้คนได้มาพบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกัน 62.55% 3. ประชาชนคิดว่าประเพณีลอยกระทงมีศักยภาพในการเป็น Soft Power ของไทยมากน้อยเพียงใด อันดับ 1 มาก 70.72% อันดับ 2 ปานกลาง 26.05% อันดับ 3 น้อย 3.23% 4. ประชาชนคิดว่า ?วันลอยกระทง? เกี่ยวข้องกับ Soft Power ของไทยอย่างไร อันดับ 1 ช่วยดึงดูดความสนใจ ทำให้ต่างชาติได้เห็นถึงประเพณี ศิลปะ ดนตรี อาหาร การแต่งกาย 89.63% อันดับ 2 มีเอกลักษณ์โดดเด่น สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทย 85.83% อันดับ 3 เป็นเทศกาลที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น 72.28% 5. ?วันลอยกระทง? ทำให้ประชาชนสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้นหรือไม่ อันดับ 1 สนใจมากขึ้น 51.54% อันดับ 2 สนใจเท่าเดิม 46.63% อันดับ 3 ไม่สนใจ 1.83% 6. ประชาชนคิดว่าปัญหาและอุปสรรคของการถ่ายทอดเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทยคืออะไร อันดับ 1 การเปลี่ยนแปลงของสังคม ค่านิยม และพฤติกรรมของคนไทย 71.59% อันดับ 2 การเรียนการสอนยาก มีเนื้อหา รายละเอียดเยอะ 69.48% อันดับ 3 หาผู้ถ่ายทอดสื่อสารข้อมูลได้ยาก ขาดองค์ความรู้และความเข้าใจ 67.72% 7. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไรจึงจะทำให้คนไทยสนใจวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น อันดับ 1 นำเทคโนโลยีและสื่อโซเชียลมาช่วยเผยแพร่ เชื่อมโยงกับปัจจุบัน 85.09% อันดับ 2 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย 71.02% อันดับ 3 ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอด 70.60% *หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) สรุปผลการสำรวจ : ?วันลอยกระทงกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย?
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง?วันลอยกระทงกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,424 คน (สำรวจทางออนไลน์) สำรวจระหว่างวันที่ 12-23 พฤศจิกายน 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างพอมีความรู้บ้างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง ร้อยละ 69.03 โดยมองว่าวันลอยกระทงเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีไทยสู่สายตาชาวโลก ร้อยละ 95.35 และเห็นว่าประเพณี ลอยกระทงมีศักยภาพในการเป็น Soft Power ในระดับมาก ร้อยละ 70.72 เนื่องจากช่วยดึงดูดความสนใจ ทำให้ต่างชาติเห็นถึงประเพณี ศิลปะ ดนตรี อาหาร การแต่งกาย ร้อยละ 89.63 ทั้งนี้วันลอยกระทงทำให้ประชาชนสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น ร้อยละ 51.54 ด้านปัญหาและอุปสรรคของการถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ไทย คือ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ค่านิยมและพฤติกรรมของคนไทย ร้อยละ 71.59 จึงควรนำเทคโนโลยีและสื่อโซเชียลมาช่วยเผยแพร่ เชื่อมโยงกับปัจจุบัน ร้อยละ 85.09
นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533
จากการเสวนากลุ่มเรื่อง ?ประวัติศาสตร์สร้าง Charisma? พบว่า "ประวัติศาสตร์" อุดมไปด้วยสหวิทยาการความรู้ ทำให้เรารู้มาก เข้าใจมาก อธิบายได้มาก จนทำให้เราเป็นคนรอบรู้ มีเสน่ห์ทางปัญญาและสามารถนำวัฒนธรรม มาปรับใช้ เช่น ม.สวนดุสิตมีวัฒนธรรมสวนดุสิต โดยเฉพาะการมีบุคลิกภาพที่ดีทั้งกายและจิตใจ เติมด้วยภูมิปัญญาทางสมอง ด้วยการมีวิธีคิดทางประวัติศาสตร์ พร้อมเป็นผู้มีความมั่นใจในตัวเอง จะทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ด้วย "ประวัติศาสตร์" อ่านแล้วไม่ต้องเชื่อ...ต้องลองสนใจประวัติศาสตร์ เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวแล้วจะเข้าใจ ทุกวันนี้คนรู้จักประวัติศาสตร์น้อยไป คิดสั้น ๆ เพียงแค่ว่าคือการท่องจำเรื่องเดิม ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ "น่าขบขันยิ่งนัก"
ผศ.ดร.สาระ มีผลกิจ
โรงเรียนการท่องเที่ยวและบริการ
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
หากกล่าวถึงความมีเสน่ห์ของวิชา ?ประวัติศาสตร์และโบราณคดี? จากมุมมองของคนที่ชื่นชอบและสนใจ จะแยกแยะได้ถูกต้องว่า วิธีของการศึกษาของศาสตร์ทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกัน โดยประวัติศาสตร์จะค้นคว้าศึกษา ?เอกสาร ตำรา? อย่างเป็นระบบระเบียบเทียบกับขั้นตอนวิทยาศาสตร์ ส่วนโบราณคดี คือ ?การสำรวจขุดค้น? ตรวจสอบชั้นดินที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและหลากหลายเข้าช่วยศึกษา แต่โดยรวมแล้วต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อทำความเข้าใจ ?มนุษย์? เรื่องราวของสังคม วัฒนธรรมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตัวอย่างเช่น ?งานลอยกระทง? ที่ผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลพบว่า ประชาชนให้ความสนใจมากขึ้นถึงร้อยละ 51.54 ฉะนั้น หากเราย้อนอดีตได้มาก เราก็จะเข้าใจปัจจุบันและอนาคตได้ดีมากขึ้น เชื่อว่าใครได้เรียนสองศาสตร์นี้จะเพิ่ม คาริสม่าอย่างแน่นอน
ผศ.ดร.ดวงกมล อัศวมาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต