สวนดุสิตโพล: “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนมกราคม 2567

ข่าวผลสำรวจ Thursday February 1, 2024 09:04 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: “ดัชนีการเมืองไทย” เดือนมกราคม 2567
?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนมกราคม 2567 จำนวน 2,203 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 20-28 มกราคม 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนน เต็ม 10 สรุปเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้
1. ประชาชนให้คะแนน ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนมกราคม 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.48 คะแนน
2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด ?ดัชนีการเมืองไทย? โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้
ที่          ดัชนีการเมืองไทย          คะแนน          ที่          ดัชนีการเมืองไทย          คะแนน
1          สิทธิและเสรีภาพของประชาชน          5.77          14          การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้          5.54
2          ความมั่นคงของประเทศ          5.71          15          ผลงานของรัฐบาล          5.53
3          สภาพสังคมโดยรวม          5.70          16          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน          5.48
3          ผลงานของนายกรัฐมนตรี          5.70          17          ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน          5.47
5          การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า          5.64          18          กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม          5.42
6          เสถียรภาพทางการเมือง          5.62          19          สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม          5.33
7          ผลงานของฝ่ายค้าน          5.60          20          ค่าครองชีพ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ          5.26
8          การพัฒนาด้านการศึกษาสำหรับประชาชน          5.59          20          การแก้ปัญหาการว่างงาน          5.26
9          การมีส่วนร่วมของประชาชน          5.58          22          การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล          5.25
9          การแก้ปัญหาต่างๆ ในภาพรวม          5.58          23          การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส          5.18
11          การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม          5.57          24          การแก้ปัญหาความยากจน          5.15
12          การปฏิบัติตนและพฤติกรรมของนักการเมือง          5.55          25          ราคาสินค้า          5.04
12          การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ          5.55          *          ภาพรวม          5.48

2. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนมกราคม 67
ที่          นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล          ภาพรวม          ที่          นักการเมืองฝ่ายค้าน          ภาพรวม
1          เศรษฐา ทวีสิน          51.46%          1          พิธา ลิ้มเจริญรัตน์          61.31%
2          อนุทิน ชาญวีรกูล          25.50%          2          ชัยธวัช ตุลาธน          20.44%
3          แพทองธาร ชินวัตร          23.04%          3          ศิริกัญญา ตันสกุล          18.25%

3. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนมกราคม 67
ที่          ผลงานฝ่ายรัฐบาล          ภาพรวม          ที่          ผลงานฝ่ายค้าน          ภาพรวม
1          ตรึงราคาพลังงาน ไฟฟ้า น้ำมัน          48.38%          1          ตรวจสอบโครงการต่างๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต           56.63%
2          แก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบ          28.90%                    แลนด์บริดจ์
3          30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว          22.72%          2          อภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณ          27.28%
                              3          ผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม          16.09%







สรุปผลการสำรวจ : ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนมกราคม 2567

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมกราคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 2,203 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) เน้นตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ผลงานของรัฐบาล ผลงานของฝ่ายค้าน พฤติกรรมนักการเมือง สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม ค่าครองชีพ สิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมไปถึงการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนน เต็ม 10 คะแนน

ผลสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมกราคม 2567 เฉลี่ย 5.48 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน เฉลี่ย 5.77 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ราคาสินค้า เฉลี่ย 5.04 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 51.46 นักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 61.31 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรึงราคาพลังงาน ไฟฟ้า น้ำมัน ร้อยละ 48.38 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การตรวจสอบโครงการต่าง ๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต แลนด์บริดจ์ ร้อยละ 56.63 จากผลสำรวจดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมกราคม 2567 สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนผลงานนายกรัฐมนตรีค่อนข้างดี ถึงแม้ผลงานของรัฐบาลในภาพรวมจะได้คะแนนไม่สูงนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ปัญหาราคาสินค้า ความยากจน การทุจริตคอร์รัปชั่น ยาเสพติด การว่างงาน ค่าครองชีพ และปัญหาเศรษฐกิจโดยภาพรวม โดยคะแนนด้านสิทธิเสรีภาพมาเป็นอันดับ 1 เนื่องจากเห็นว่ามีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น สังคมให้ความสำคัญกับความเสมอภาคมากขึ้น รวมถึงมีการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม ส่วนฝ่ายค้านโดดเด่นในการตรวจสอบงานโครงการของรัฐบาลที่นับว่าสร้างมาตรฐานได้ดีในแง่ของการทำงานเชิงข้อมูล นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

จากผลโพลประชาชนมีความเชื่อมั่นในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนสูง คาดว่าสืบเนื่องมาจากเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้มาจากการเลือกตั้งภาคประชาชน แต่ความกังวลเรื่องปากท้องของประชาชนยังมีอยู่พอสมควรสังเกตได้จากตัวชี้วัดเรื่องราคาสินค้าที่ได้รับคะแนนน้อยที่สุด โดยคุณเศรษฐา ทวีสินเป็นนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่โดดเด่นแสดงให้เห็นว่าการทำงานได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน ด้านคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านที่โดดเด่นน่าจะมาจากภาพลักษณ์ความเป็น                คนรุ่นใหม่และการวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมาจนเป็นที่ถูกใจของประชาชน ส่วนผลงานของรัฐบาลในการตรึงราคาพลังงาน ไฟฟ้า น้ำมัน ได้รับการตอบรับมากที่สุดอาจเป็นเพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อปากท้องของประชาชนโดยตรง

ในภาพรวมของผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังมีความคาดหวังต่อรัฐบาลชุดนี้ จึงยังต้องติดตามผลงานในระยะยาว และมองเห็นถึงการทำงานอย่างตั้งใจของฝ่ายค้าน แต่โดยรวมแล้วก็ต้องติดตามสถานการณ์การเมืองต่อไปว่าจะเปลี่ยนแปลงไปทิศทางใด ผศ.สรศักดิ์ มั่นศิลป์ รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ