จากกรณีเหตุการณ์พายุไซโคลนนากีส พัดถล่มพม่าทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ได้เป็นข่าวและมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้เพราะพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด รวมทั้งภัยพิบัติอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในลักษณะเดียวกันก็ได้ เพราะพื้นที่อยู่ติดเขต
แดนกัน “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ 21 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น
4,139 คน (กรุงเทพฯ 1,236 คน 29.86% ต่างจังหวัด 2,903 คน 70.14%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. การให้ความสำคัญของคนไทยต่อเหตุการณ์พายุไซโคลนนากีสถล่มพม่าที่เป็น “รูปธรรม”คือ
อันดับที่ 1 ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง 51.32%
อันดับที่ 2 สร้างความตื่นตัวให้กับคนไทยเกี่ยวกับภัยพิบัติ 24.45%
อันดับที่ 3 สนใจศึกษา / หาข้อมูล / แนวทางการป้องกัน / อยากให้มีการวิเคราะห์เจาะลึก 9.91%
อันดับที่ 4 เห็นความสำคัญของระบบเตือนภัย 9.57%
อี่น ๆ เช่น สนใจภาวะโลกร้อน / การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ฯลฯ 4.75%
2. จากกรณีพายุไซโคลนนากีสถล่มพม่า คนไทยคิดเห็นว่าควรเป็นบทเรียนแก่คนไทย ดังนี้
อันดับที่ 1 การเตือนภัย/การตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสารเพื่อการป้องกัน 41.94%
อันดับที่ 2 ความสูญเสียที่ทุกฝ่ายต้องช่วยเหลือกัน 29.77%
อันดับที่ 3 ภัยพิบัติตามธรรมชาติเกิดได้ตลอดเวลา/ไม่ประมาท 12.49%
อันดับที่ 4 การมีหน่วยงานที่ต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องป้องกันภัยพิบัติ 10.22%
อี่น ๆ เช่น การให้ความสำคัญของรัฐ, ประชาชนต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 5.58%
3. การใช้ประโยชน์จากกรณีพายุไซโคลนนากีสในลักษณะ “การทำวิกฤตให้เป็นโอกาส” ในทัศนะของคนไทย
อันดับที่ 1 ควรจัดให้มีการรณรงค์ระบบการป้องกันภัยพิบัติอย่างจริงจัง 48.39%
อันดับที่ 2 ใช้เป็นกรณีให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของระบบเตือนภัย / การแจ้งข้อมูลข่าวสาร 34.48%
อันดับที่ 3 การรณรงค์เกี่ยวกับธรรมชาติ / สภาวะแวดล้อม/ ภาวะโลกร้อน / การดูแลรักษาธรรมชาติอย่างจริงจัง 15.83%
อี่น ๆ เช่น การจัดทำหลักสูตรภัยพิบัติทางธรรมชาติในโรงเรียน ฯลฯ 1.30%
4. ระดับความหวาดกลัวของคนไทยต่อกรณีพายุไซโคลนนากีสถล่มพม่า กรณีที่อาจจะเกิดในประเทศไทย
อันดับที่ 1 กลัวมาก 78.57%
เพราะ พื้นที่อยู่ใกล้เคียงกัน / ติดกัน, ความรุนแรงคงจะป้องกันยาก ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ค่อยหวาดกลัวมากนัก 18.53%
เพราะ ถ้าจะเกิดในประเทศไทยก็คงไม่สูญเสียเท่าพม่า, ระบบเตือนภัยไทยดีกว่า,
มีการสื่อสารทั่วถึงกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่กลัว / เฉยๆ 2.90%
เพราะ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คาดการณ์ยาก/ ป้องกันยาก / อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ทั้งนี้เพราะพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด รวมทั้งภัยพิบัติอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในลักษณะเดียวกันก็ได้ เพราะพื้นที่อยู่ติดเขต
แดนกัน “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ 21 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น
4,139 คน (กรุงเทพฯ 1,236 คน 29.86% ต่างจังหวัด 2,903 คน 70.14%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. การให้ความสำคัญของคนไทยต่อเหตุการณ์พายุไซโคลนนากีสถล่มพม่าที่เป็น “รูปธรรม”คือ
อันดับที่ 1 ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง 51.32%
อันดับที่ 2 สร้างความตื่นตัวให้กับคนไทยเกี่ยวกับภัยพิบัติ 24.45%
อันดับที่ 3 สนใจศึกษา / หาข้อมูล / แนวทางการป้องกัน / อยากให้มีการวิเคราะห์เจาะลึก 9.91%
อันดับที่ 4 เห็นความสำคัญของระบบเตือนภัย 9.57%
อี่น ๆ เช่น สนใจภาวะโลกร้อน / การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ฯลฯ 4.75%
2. จากกรณีพายุไซโคลนนากีสถล่มพม่า คนไทยคิดเห็นว่าควรเป็นบทเรียนแก่คนไทย ดังนี้
อันดับที่ 1 การเตือนภัย/การตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสารเพื่อการป้องกัน 41.94%
อันดับที่ 2 ความสูญเสียที่ทุกฝ่ายต้องช่วยเหลือกัน 29.77%
อันดับที่ 3 ภัยพิบัติตามธรรมชาติเกิดได้ตลอดเวลา/ไม่ประมาท 12.49%
อันดับที่ 4 การมีหน่วยงานที่ต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องป้องกันภัยพิบัติ 10.22%
อี่น ๆ เช่น การให้ความสำคัญของรัฐ, ประชาชนต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 5.58%
3. การใช้ประโยชน์จากกรณีพายุไซโคลนนากีสในลักษณะ “การทำวิกฤตให้เป็นโอกาส” ในทัศนะของคนไทย
อันดับที่ 1 ควรจัดให้มีการรณรงค์ระบบการป้องกันภัยพิบัติอย่างจริงจัง 48.39%
อันดับที่ 2 ใช้เป็นกรณีให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของระบบเตือนภัย / การแจ้งข้อมูลข่าวสาร 34.48%
อันดับที่ 3 การรณรงค์เกี่ยวกับธรรมชาติ / สภาวะแวดล้อม/ ภาวะโลกร้อน / การดูแลรักษาธรรมชาติอย่างจริงจัง 15.83%
อี่น ๆ เช่น การจัดทำหลักสูตรภัยพิบัติทางธรรมชาติในโรงเรียน ฯลฯ 1.30%
4. ระดับความหวาดกลัวของคนไทยต่อกรณีพายุไซโคลนนากีสถล่มพม่า กรณีที่อาจจะเกิดในประเทศไทย
อันดับที่ 1 กลัวมาก 78.57%
เพราะ พื้นที่อยู่ใกล้เคียงกัน / ติดกัน, ความรุนแรงคงจะป้องกันยาก ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่ค่อยหวาดกลัวมากนัก 18.53%
เพราะ ถ้าจะเกิดในประเทศไทยก็คงไม่สูญเสียเท่าพม่า, ระบบเตือนภัยไทยดีกว่า,
มีการสื่อสารทั่วถึงกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่กลัว / เฉยๆ 2.90%
เพราะ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คาดการณ์ยาก/ ป้องกันยาก / อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-