สวนดุสิตโพล: คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่ 2567

ข่าวผลสำรวจ Monday May 27, 2024 08:34 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่ 2567

?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่ 2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,127 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 สรุปผล ได้ดังนี้

?          ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเลือก สว.ชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้น

1. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า ?ผู้จะสมัคร สว. จะต้องมีอายุครบ 40 ปีบริบูรณ์ มีประสบการณ์
ไม่น้อยกว่า 10 ปี และเสียค่าสมัคร 2,500 บาท?
   อันดับ 1          ทราบ          54.30%
อันดับ 2          ไม่ทราบ          45.70%

2. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า ?ผู้สมัคร สว. หาเสียงไม่ได้ ให้แนะนำตัวได้เท่านั้น?
   อันดับ 1          ทราบ          57.68%
อันดับ 2          ไม่ทราบ          42.32%

3. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า ?จะมีการเลือก สว.ชุดใหม่ รอบแรก (รอบระดับอำเภอ) วันที่ 9 มิ.ย.67?
   อันดับ 1          ไม่ทราบ          55.81%
อันดับ 2          ทราบ          44.19%

4. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า ?ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีสิทธิเลือก สว. มีเฉพาะผู้สมัคร สว. ด้วยกันเท่านั้น
ที่มีสิทธิเลือกและเป็นการเลือกกันเองภายในกลุ่มอาชีพ และการเลือกไขว้ข้ามกลุ่มอาชีพ?
   อันดับ 1          ไม่ทราบ          50.31%
อันดับ 2          ทราบ          49.69%

5. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า ?สว.ชุดใหม่มีอำนาจแต่งตั้งองค์กรตรวจสอบอิสระ และเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ?
   อันดับ 1          ไม่ทราบ          52.35%
อันดับ 2          ทราบ          47.65%

6. ความคาดหวังของประชาชน ต่อ สว.ชุดใหม่

  อันดับ 1          ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ถูกต้อง           56.71%
อันดับ 2          ประวัติดี  ซื่อสัตย์ สุจริต          53.88%
อันดับ 3          ตั้งใจทำงาน เป็นที่พึ่งของประชาชน          44.24%
อันดับ 4          มีวิสัยทัศน์ทันการเปลี่ยนแปลง           36.47%
อันดับ 5          เป็นคนรุ่นใหม่          34.12%






สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่ 2567

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?คนไทยกับการเลือก สว.ชุดใหม่2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,127 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 พบผล ดังนี้

?          ร้อยละ 54.30 ทราบว่าผู้สมัคร สว. ต้องมีอายุครบ 40 ปี ประสบการณ์ 10 ปี และเสียค่าสมัคร 2,500 บาท
?          ร้อยละ 57.68 ทราบว่าผู้สมัคร สว. หาเสียงไม่ได้ แนะนำตัวได้เท่านั้น
?          ร้อยละ 55.81 ไม่ทราบว่ามีการเลือก สว. รอบแรกวันที่ 9 มิ.ย. 67
?          ร้อยละ 50.31 ไม่ทราบว่ามีเฉพาะผู้สมัคร สว. เท่านั้นที่มีสิทธิเลือก สว.
?          ร้อยละ 52.35 ไม่ทราบว่า สว. ชุดใหม่มีอำนาจแต่งตั้งองค์กรตรวจสอบอิสระ และเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ
?          ความคาดหวังของประชาชน ต่อ สว.ชุดใหม่ พบว่า อันดับ 1 สว.ควรใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ถูกต้อง  ร้อยละ 56.71 รองลงมาคือ ประวัติดี  ซื่อสัตย์ สุจริต ร้อยละ 53.88 และตั้งใจทำงาน เป็นที่พึ่งของประชาชน                   ร้อยละ 44.24

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลเผยให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและข้อจำกัดของผู้สมัคร สว. อยู่บ้าง อย่างไรก็ตามหลายคนยังไม่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งรอบแรกในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 และสับสนเกี่ยวกับสิทธิ์ในการเลือก สว. โดยมีเพียง 49.69% ที่รู้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์เลือก สว. การที่ผลโพลสะท้อนว่าประชาชนขาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งและบทบาทของ สว. ทั้ง ๆ ที่ใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาแล้ว สะท้อนถึงความจำเป็น ในการสื่อสารข้อมูล และ กกต. ควรเร่งสื่อสารและให้ความรู้แก่ประชาชนมากขึ้น เพื่อให้การเลือกตั้ง สว. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยอดชาย ชุติกาโม ประธานหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นบรรยากาศของการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ว.ชุดใหม่                          ที่จำนวนผู้สมัครแตกต่างจากที่ กกต. คาดการณ์ไว้พอสมควร จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ตัวเลขที่ออกมาสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานด้านการสื่อสารข้อมูลของ กกต. ที่ส่งผลต่อการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้ผลการสำรวจครั้งนี้อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยประชาชนถึงร้อยละ 55.81 ไม่ทราบว่า มีการเลือก สว.รอบแรกวันที่                   9 มิ.ย.67 ร้อยละ 52.35 ไม่ทราบถึงขอบเขตอำนาจของ สว. และที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ร้อยละ 50.31 ไม่ทราบว่า มีเฉพาะผู้สมัคร สว. เท่านั้นที่มีสิทธิเลือก สว. ซึ่งเรื่องนี้นักวิชาการและนักการเมืองบางท่านมองว่า สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกัน                 ในเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนหรือไม่ อย่างไรก็ดีประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ถึงคุณสมบัติและข้อจำกัดของสว. อยู่บ้างในเรื่องข้อจำกัด เรื่องการแนะนำตัว หรือหาเสียง ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจเป็นประเด็นใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อ กกต. ซึ่งเป็นผู้ออกระเบียบปฏิบัติ และซึ่งขณะนี้มีผู้ไปร้องศาลปกครองอาจส่งผลให้การเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ต้องถูกยกเลิกหรือต้องขยายระยะเวลาออกไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยอดชาย ชุติกาโม  ประธานหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต




ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ