สวนดุสิตโพล: ประชาชนคิดอย่างไรกับ “เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด”

ข่าวผลสำรวจ Thursday June 6, 2024 09:23 —สวนดุสิตโพล

 ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ประชาชนคิดอย่างไรกับเงินอุดหนุน    เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,243 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม ? 2 มิถุนายน 2567                     สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า รัฐบาลมีโครงการ?เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด?เดือนละ 600 บาท ให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิด
จนอายุครบ 6 ปี อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี มาตั้งแต่ปี 2562
อันดับ 1          รู้          76.51%
อันดับ 2          ไม่รู้          23.49%



2. ประชาชนคิดว่านโยบายนี้มีผลกระทบอย่างไรต่อสังคมไทย
อันดับ 1          ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตร          74.74%
อันดับ 2          ส่งผลให้เด็กแรกเกิดได้รับการดูแลที่ดีขึ้น                   63.23%
อันดับ 3          ส่งผลให้เด็กและครอบครัวสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐได้มากขึ้น          41.19%





3. ประชาชนคิดว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลควรจะมีจำนวนเท่าใดต่อเดือนเพื่อให้เพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
อันดับ 1          1,000 - 3,000 บาท              43.20%
อันดับ 2          มากกว่า 3,000 บาท          29.44%
อันดับ 3          มากกว่า 600 บาทแต่ไม่เกิน 1,000 บาท                  23.17%
อันดับ 4          600 บาทเหมาะสมแล้ว                4.19%





4. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ หากรัฐบาลจะขยายให้ทุกครอบครัวที่มีบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี
ได้รับเงินอุดหนุนโดยไม่ต้องพิสูจน์รายได้
อันดับ 1          เห็นด้วย          81.01%
อันดับ 2          ไม่เห็นด้วย
เพราะ  เด็กในครอบครัวที่มีฐานะไม่ควรได้, เป็นภาระต่องบประมาณของประเทศมากเกินไป, ครอบครัวควรพึ่งพาตัวเอง ควรมีลูกเมื่อพร้อม, มีนโยบายอื่นที่สำคัญกว่า                             18.99%






5. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรให้เงินอุดหนุนแก่ทุกครอบครัวที่มีบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี
โดยไม่ต้องพิสูจน์รายได้ ด้วยเหตุผลใด
อันดับ 1          ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรในช่วงวัยเด็กซึ่งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง          74.09%
อันดับ 2          ช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อย              52.53%
อันดับ 3          เป็นสิทธิที่เด็กทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน          49.32%





6. ประชาชนอยากให้รัฐบาลมีการช่วยเหลือเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในเรื่องใดอีกบ้าง
อันดับ 1          เพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด               66.85%
อันดับ 2          เพิ่มเงินอุดหนุนให้ครอบครัวยากจนหรือมีคนพิการ          57.92%
อันดับ 3          เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปก็ควรจะได้เงินอุดหนุนด้วย          46.10%
อันดับ 4          ปรับปรุงบริการต่างๆ ของรัฐที่เกี่ยวกับเด็กให้เข้าถึงสะดวกมากขึ้น             43.20%
อันดับ 5          ให้เงินอุดหนุนตั้งแต่ตั้งครรภ์          41.03%







*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)





สรุปผลการสำรวจ : ?เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด?
          สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ประชาชนคิดอย่างไรกับ                         เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,243 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม ? 2 มิถุนายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 76.51 ทราบว่า รัฐบาลมีโครงการ ?เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด? เดือนละ 600 บาท ให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี     มาตั้งแต่ปี 2562 โดยมองว่านโยบายนี้ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตร ร้อยละ 74.74 ทั้งนี้ร้อยละ 43.20 เห็นว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่เพียงพอควรอุดหนุนประมาณ 1,000 ? 3,000 บาท และเห็นด้วย ร้อยละ 81.01                    หากรัฐบาลจะขยายให้ทุกครอบครัวที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี ได้รับเงินอุดหนุนโดยไม่ต้องพิสูจน์รายได้ เนื่องจากช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรในช่วงวัยเด็กซึ่งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง นอกจากนี้ก็อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องการเพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ร้อยละ 66.85

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชาชนตระหนักถึงโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และมองว่าเป็นโครงการที่ดีในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว จึงควรขยายให้เป็นแบบถ้วนหน้าเพื่อลดกระบวนการที่เป็นภาระ และประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงเพื่อให้กลุ่มครอบครัวที่มีบุตรแรกเกิดได้รับสิทธิอย่างแท้จริง นอกจากนี้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ครอบครัวมีภาระค่าใช้จ่ายสูง จึงควรจัดสรรเงินอุดหนุนให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจริง เพราะการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาประเทศ จึงควรให้ความสำคัญและควรมีระบบติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้การช่วยเหลือตรงเป้าหมาย คุ้มค่า และตรวจสอบได้

นางสาวพรพรรณ บัวทอง

นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

โทร 086-3766533

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ?โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด? ให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายนี้จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรในช่วงวัยนี้ที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากเด็กในช่วง 6 ปีแรก เป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานชีวิตที่ดีและเป็นเวลาที่สำคัญของการเจริญเติบโตเพราะช่วงวัยนี้สมองจะมีการพัฒนาอย่างเต็มที่รวมถึงการมีพัฒนาการที่เหมาะสม คือ พัฒนาการด้านร่างกาย, พัฒนาการด้านอารมณ์, พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านสติปัญญา ดังนั้นผู้ปกครองจึงให้ความใส่ใจรวมถึงคาดหวังที่จะดูแลเด็กในช่วงนี้ให้ดีที่สุด โดยความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะขยายให้ทุกครอบครัวที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปี ได้รับเงินอุดหนุนโดยไม่ต้องพิสูจน์รายได้ อันสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเงินอุดหนุนเพื่อการใช้จ่ายที่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูเด็กในการส่งเสริมโภชนาการหรือสุขภาวะด้านต่างๆ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กอย่างเหมาะสมภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์

อาจารย์ประจำหลักสูตรจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ