สวนดุสิตโพล: ประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งนายก อบจ.

ข่าวผลสำรวจ Monday July 15, 2024 08:52 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: ประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งนายก อบจ.
?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เรื่อง ?ประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งนายก อบจ.? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,188 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2567 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนรู้หรือไม่ว่าช่วงนี้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น หรือ การเลือกตั้งนายก อบจ.ในหลายพื้นที่
อันดับ 1          รู้ และทราบรายละเอียดการเลือกตั้ง                    41.16%
อันดับ 2          รู้ แต่ไม่ทราบรายละเอียดการเลือกตั้ง          36.95%
อันดับ 3          ไม่รู้เลยว่ามีการเลือกตั้ง                                   21.89%




2. ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งนายก อบจ. มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในด้านใดบ้าง
อันดับ 1          การพัฒนาท้องถิ่น                                     70.76%
อันดับ 2          การพัฒนาสาธารณูปโภค          58.81%
อันดับ 3          การพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างงาน              55.68%
อันดับ 4          การบริการสาธารณะ                       52.63%
อันดับ 5          การดูแลสุขภาพและสาธารณสุข                     50.42%







3. ประชาชนคิดว่าตนเองและครอบครัวได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่
อันดับ 1          ได้รับประโยชน์น้อย          39.14%
อันดับ 2          ได้รับประโยชน์มาก          36.78%
อันดับ 3          ไม่ได้รับประโยชน์          18.02%
อันดับ 4          ไม่แน่ใจ            6.06%





4. ประชาชนคิดว่า ?บ้านใหญ่? มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นในพื้นที่มากน้อยเพียงใด
อันดับ 1          มีอิทธิพลมาก          62.21%
อันดับ 2          มีอิทธิพลน้อย          18.86%
อันดับ 3          ไม่แน่ใจ          9.93%
อันดับ 4          ไม่มีอิทธิพล          9.00%





5. ประชาชนคิดว่าผลการเลือกตั้งนายก อบจ. จะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งระดับชาติครั้งต่อไปหรือไม่
อันดับ 1          มีผล          77.44%
อันดับ 2          ไม่มีผล          22.56%



6. ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่
อันดับ 1          มี          57.66%
อันดับ 2          ไม่แน่ใจ          26.01%
อันดับ 3          ไม่มี          16.33%




7. ในเรื่องการแก้ปัญหาท้องถิ่น ประชาชนเชื่อมั่นในพรรคใดมากที่สุด
อันดับ 1          ก้าวไกล          32.53%
อันดับ 2          เพื่อไทย          19.79%
อันดับ 3          พลังประชารัฐ          17.30%
อันดับ 4          ภูมิใจไทย          9.29%
อันดับ 5          ประชาธิปัตย์          6.63%






*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)



 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2567                       กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,188 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบผลที่น่าสนใจ ดังนี้

? ประชาชนรับรู้รายละเอียดการเลือกตั้งน้อย
          ผลสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.16 รู้และทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ขณะที่ร้อยละ 36.95 รู้แต่ไม่ทราบรายละเอียดอย่างละเอียด และอีกร้อยละ 21.89 ไม่รู้เลยว่ามีการเลือกตั้ง นั่นแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ของประชาชน                 ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญในการสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้ง






? ความสำคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่น

กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.76 มองว่าการเลือกตั้งนายก อบจ. มีความสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 39.14 ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าตนเองและครอบครัวได้รับประโยชน์น้อยจากการเลือกตั้งท้องถิ่น ในขณะที่ร้อยละ 36.78 เห็นว่าตนเองได้รับประโยชน์มาก สองกลุ่มนี้มีสัดส่วนใกล้เคียงกันแต่อาจมีการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันรวมถึงความพึงพอใจต่อการดำเนินงานที่ผ่านมาของ อบจ. ด้วย

*ไม่แน่ใจ 6.06%

? อิทธิพลของ ?บ้านใหญ่? ในการเลือกตั้งท้องถิ่น

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 62.21 ของกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่า "บ้านใหญ่" มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นมาก ซึ่งอาจเป็นอิทธิพลผ่านการสนับสนุนผู้สมัครหรือการสร้างกระแสความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และร้อยละ 57.66 คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้น สะท้อนถึงความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับความโปร่งใสในการเลือกตั้ง

*ไม่แน่ใจ 9.93%

? ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาท้องถิ่น

พรรคก้าวไกลยังคงเป็นพรรคที่ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากที่สุดในการแก้ปัญหาท้องถิ่น ร้อยละ 32.53 นำหน้าพรรคเพื่อไทยที่มีคะแนนร้อยละ 19.79 โดยผลการเลือกตั้งนายก อบจ. จะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งระดับชาติครั้งต่อไปร้อยละ 77.44 หากนำผลมาวิเคราะห์ร่วมกันก็อาจทำให้เห็นกระแสของพรรคก้าวไกลที่เพิ่มสูงขึ้นในการเลือกตั้งครั้งหน้าได้เช่นกัน

? สรุป

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่าจากผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนถึงความรับรู้และมุมมองของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบจ. ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยประชาชนเห็นว่าอิทธิพลของ ?บ้านใหญ่? นั้นส่งผลต่อการเลือกตั้งซึ่งอาจเป็นอิทธิพลผ่านการสนับสนุนผู้สมัคร และยังกังวลเกี่ยวกับการซื้อสิทธิขายเสียง ดังนั้นการสร้างความโปร่งใสและความเข้าใจที่ชัดเจนในการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้

นางสาวพรพรรณ บัวทอง

ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

โทร 086-3766533

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาวินี รอดประเสริฐ อาจารย์โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การเมืองท้องถิ่นถูกจับตามองอย่างมากเพราะหลายพื้นที่มีการเลือกตั้งนายก อบจ. จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลมีตัวเลขที่สะท้อนให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจในการเลือกนายก อบจ. คือ ประชาชนส่วนใหญ่ทราบว่านายก อบจ. มีหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีตัวเลขถึงร้อยละ 70.76 และตัวเลขต่อมาที่น่าสนใจ คือ ประชาชนคิดว่า ?บ้านใหญ่? ที่เราทราบกันดีมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่แค่ท้องถิ่นระดับใหญ่อาจรวมไปถึงท้องถิ่นทุกระดับ โดยตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 62.21 นำมาซึ่งการตัดสินจากประชาชนว่าผลการเลือกตั้งนายก อบจ.จะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งระดับชาติครั้งต่อไป หากมองจากผลสำรวจในข้อนี้ที่มีคะแนนสูงมากคงเป็นคำตอบให้กับหลายคนได้ว่าสำหรับประเทศไทยนั้น การเมืองระดับชาติมีผลกับการเมืองท้องถิ่นและการเมืองทั้งสองระดับนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นโจทย์ใหญ่ให้บรรดาพรรคการเมืองทั้งหลาย หากอยากได้รับเลือกตั้งครั้งต่อไปจะต้องทำอย่างไรกับการเมืองท้องถิ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาวินี รอดประเสริฐ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ