สวนดุสิตโพล: การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ

ข่าวผลสำรวจ Monday September 9, 2024 08:50 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ

?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศเฉพาะผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ท้องถิ่น เรื่อง ?การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,149 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2567 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
อันดับ 1          สำคัญมาก          57.88%
อันดับ 2          ค่อนข้างสำคัญ          38.47%
อันดับ 3          ไม่ค่อยสำคัญ           3.48%
อันดับ 4          ไม่สำคัญ           0.17%





2. ประชาชนอยากให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นนำเสนอนโยบายด้านใดบ้าง
อันดับ 1          พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมในชุมชน                     72.58%
อันดับ 2          แนวทางการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ฝุ่น น้ำท่วม ฯลฯ                              70.32%
อันดับ 3          ส่งเสริมการศึกษา สถานศึกษาในท้องถิ่น          64.06%




3. ประชาชนคิดว่าปัจจัยใดที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครในการเลือกตั้งท้องถิ่น
อันดับ 1          นโยบายของผู้สมัคร          67.42%
อันดับ 2          ประวัติและผลงานในอดีตของผู้สมัคร                  65.77%
อันดับ 3          การลงพื้นที่หาเสียง                                       62.80%





4. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ว่า ผลการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่เกี่ยวข้องกับผลการเลือกตั้งระดับชาติ
อันดับ 1          ไม่เห็นด้วย          52.13%
อันดับ 2          เห็นด้วย          47.87%



5. ประชาชนเชื่อมั่นพรรคการเมืองใดในการทำงานแก้ปัญหาท้องถิ่นมากที่สุด

อันดับ 1          พรรคประชาชน          30.73%
อันดับ 2          พรรคเพื่อไทย          22.38%
อันดับ 3          พรรคภูมิใจไทย          13.19%
อันดับ 4          พรรคพลังประชารัฐ          10.67%
อันดับ 5          พรรคชาติไทยพัฒนา           8.82%
อันดับ 6          พรรคไทยสร้างไทย          7.89%
อันดับ 7          พรรคประชาธิปัตย์          6.32%








*หมายเหตุ ข้อ 2 ข้อ 3 ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)

             สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศเฉพาะผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น เรื่อง ?การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ?  ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2567  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,149 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ร้อยละ 57.88                     โดยอยากให้ผู้สมัครนำเสนอนโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมในชุมชน ร้อยละ 72.58 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร คือ นโยบายของผู้สมัคร ร้อยละ 67.42 ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยหากมองว่าผลการเลือกตั้งท้องถิ่น                         ไม่เกี่ยวข้องกับผลการเลือกตั้งระดับชาติ ร้อยละ 52.13 สุดท้ายในการทำงานท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในพรรคประชาชนมากที่สุด ร้อยละ 30.73 รองลงมาคือ เพื่อไทย ร้อยละ 22.38 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลการสำรวจเมื่อวันที่ 9 - 12 กรกฎาคม 2567 พบว่า คะแนนของพรรคประชาชน (ก้าวไกลเดิม) ลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 32.53 เหลือร้อยละ 30.73 ในขณะที่พรรค                       เพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.79 เป็นร้อยละ 22.38
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมองการเลือกตั้งท้องถิ่นและการเลือกตั้งระดับชาติมีทั้งเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกัน โดยอาจมีความเชื่อมโยงกันทางการเมือง และการสนับสนุนของพรรคและบทบาทของบ้านใหญ่ก็มีผลต่อการเลือกตั้ง ด้านพรรคประชาชนนอกจากมีกระแสในการเลือกตั้งระดับชาติแล้ว ก็ยังมีกระแสในการเลือกตั้งท้องถิ่นเช่นกัน แต่หากพรรคไม่สามารถล้มบ้านใหญ่ได้ก็อาจจะยากในสนามแข่งขัน

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533


ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี รัตนะ  อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัย     สวนดุสิต อธิบายว่า การปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยและเป็นการปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากที่สุด ดังนั้นในการเลือกตั้งท้องถิ่น ประชาชนจึงมักจะเลือกโดยตัดสินใจจากความสัมพันธ์ระดับปัจเจกเป็นอันดับแรก ไม่ใช่กระแสของพรรคการเมืองระดับชาติ โดยเฉพาะการเลือกในระดับสมาชิก ผู้สมัครที่ได้รับเลือกต้องเป็นคนประเภทเรียกง่าย ใช้คล่อง เป็นพี่น้องพวกพ้องที่รู้จักกัน ส่วนการเลือกตั้งผู้นำองค์กรในตำแหน่งนายก มักพิจารณาจากบารมีส่วนบุคคลที่ประชาชนในพื้นที่รู้สึกว่าสามารถพึ่งพาอาศัยได้ในทุกสถานการณ์แบบใจถึง พึ่งได้     ยิ่งสถานการณ์ที่ระบบราชการมีอำนาจเข้มแข็ง แต่อำนาจของประชาชนในการต่อรองหรือแสดงความคิดเห็นมีน้อย ยิ่งทำให้ระบบบ้านใหญ่เติบโตเพราะประชาชนมักต่อรองผ่านอำนาจบารมีของบ้านใหญ่ในพื้นที่เป็นหลัก  การทำงานผ่านกระแสพรรคหรือกระแสของการเมืองระดับชาติจึงไม่สามารถฝ่าด่านบ้านใหญ่ได้โดยง่าย แต่ต้องอาศัยการทำงานเชิงความคิดร่วมกับเครือข่ายหรือคนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจึงเกิดมรรคผลเป็นรูปธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี รัตนะ
อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์
โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต



ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ