สวนดุสิตโพล: คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม

ข่าวผลสำรวจ Monday September 23, 2024 08:43 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม

?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,207 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2567 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนเคยประสบปัญหาน้ำท่วมหรือไม่
อันดับ 1          เคย          68.77%
อันดับ 2          ไม่เคย          31.23%



2. ประชาชนคิดว่าอะไรคือสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน
อันดับ 1          การกระทำของมนุษย์          42.49%
อันดับ 2          การบริหารจัดการของภาครัฐ          41.41%
อันดับ 3          ปัจจัยทางธรรมชาติ          35.19%




3. ในช่วงที่มีความเสี่ยงน้ำท่วม ประชาชนมีวิธีเตรียมพร้อมและรับมืออย่างไรบ้าง
อันดับ 1          ติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด          70.05%
อันดับ 2          ย้ายสิ่งของมีค่า สัตว์เลี้ยง และเครื่องใช้ไฟฟ้าไปไว้ที่สูง          68.55%
อันดับ 3          เตรียมอาหารแห้ง น้ำดื่ม อุปกรณ์จำเป็นต่างๆ                         62.63%




4. ณ วันนี้ ประชาชนเชื่อมั่นต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลหรือไม่

อันดับ 1          ไม่เชื่อมั่น          69.76%
อันดับ 2          เชื่อมั่น          30.24%




5. ณ วันนี้ ประชาชนพึงพอใจกับการจัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลหรือไม่
อันดับ 1          ไม่พึงพอใจ          77.80%
อันดับ 2          พึงพอใจ          22.20%




6. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงรัฐบาลแพทองธาร กรณี น้ำท่วม
อันดับ 1          อยากให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและทันท่วงที           64.07%
อันดับ 2          ควรบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ วางแผนป้องกันระยะยาว          54.75%
อันดับ 3          มีมาตรการฟื้นฟู เยียวยา หลังน้ำลดอย่างเหมาะสม          51.36%





*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)





 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม?  ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,207 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า                             กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 68.77 สาเหตุหลักของน้ำท่วม คือ การกระทำของมนุษย์ ร้อยละ 42.49 ในช่วงน้ำท่วมเตรียมพร้อมรับมือด้วยการติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด ร้อยละ 70.05 ด้านความเชื่อมั่นต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 69.76 และไม่พึงพอใจต่อการจัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ร้อยละ 77.80  ทั้งนี้สิ่งที่อยากฝากบอกรัฐบาลแพทองธาร คือ อยากให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและทันท่วงที ร้อยละ 64.07
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยประสบปัญหาน้ำท่วม แม้จะสามารถเตรียมรับปัญหาได้ด้วยตนเองส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เชื่อมั่นในความสามารถของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและรู้สึกไม่พึงพอใจกับการจัดการปัญหาปัจจุบัน โดยคาดหวังให้เร่งช่วยเหลือและบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีแผนป้องกันระยะยาวและมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจประชาชนให้มากขึ้น

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชัดเจนว่าประชาชนยังไม่พึงพอใจต่อการจัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลที่ทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุกในการเข้าไปช่วยเหลือและบริหารจัดการในสถานการณ์ที่ประชาชนประสบเหตุอุทกภัยอย่างหนักและรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ภาพปรากฏที่เห็นจากสื่อต่างๆ เห็นเพียงอาสาสมัครและภาคเอกชนที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยทันที ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล ซึ่งในข้อที่ประชาชนอยากฝากถึงรัฐบาล                     ชุดปัจจุบันก็คือการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยแท้จริงแล้วรัฐบาลมีกฎหมายและแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหน่วยงานราชการ                        ที่เกี่ยวข้องและประชาชนจะได้ทราบถึงแนวการปฏิบัติและเตรียมรับมือเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์อุทกภัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต



ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ