สวนดุสิตโพล: ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567

ข่าวผลสำรวจ Monday September 30, 2024 09:53 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567
?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 โดยมีตัวชี้วัด                        25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจาก                  ค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้

1. ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนกันยายน 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.80 คะแนน (เดือนสิงหาคม 2567 ได้ 4.46 คะแนน)
2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด ?ดัชนีการเมืองไทย? โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้
ที่          ดัชนีการเมืองไทย          มิ.ย.67          ก.ค.67          ส.ค.67          *ก.ย.67          เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา
1          ผลงานของฝ่ายค้าน                    4.94          5.35          5.39          5.41          เพิ่มขึ้น
2          ผลงานของนายกรัฐมนตรี          4.47          4.78          4.68          5.12          เพิ่มขึ้น
3          ความมั่นคงของประเทศ          4.46          4.69          4.54          5.06          เพิ่มขึ้น
4          การพัฒนาด้านการศึกษาสำหรับประชาชน           4.58          4.83          4.67          5.00          เพิ่มขึ้น
5          การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้          4.41          4.74          4.50          4.99          เพิ่มขึ้น
6          ผลงานของรัฐบาล             4.37          4.76          4.51          4.98          เพิ่มขึ้น
7          สิทธิและเสรีภาพของประชาชน             4.60          4.86          4.66          4.97          เพิ่มขึ้น
8          การมีส่วนร่วมของประชาชน          4.44          4.77          4.65          4.92          เพิ่มขึ้น
9          เสถียรภาพทางการเมือง          4.41          4.74          4.49          4.91          เพิ่มขึ้น
10          การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม          4.48          4.76          4.51          4.90          เพิ่มขึ้น
11          การแก้ปัญหาต่างๆ ในภาพรวม          4.38          4.61          4.46          4.89          เพิ่มขึ้น
12          สภาพสังคมโดยรวม          4.44          4.67          4.47          4.85          เพิ่มขึ้น
13          ค่าครองชีพ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ           4.11          4.43          4.34          4.84          เพิ่มขึ้น
14          การปฏิบัติตนและพฤติกรรมของนักการเมือง          4.39          4.67          4.45          4.81          เพิ่มขึ้น
15          การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า          4.30          4.52          4.41          4.76          เพิ่มขึ้น
16          ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน           4.26          4.49          4.43          4.75          เพิ่มขึ้น
16          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน           4.35          4.54          4.44          4.75          เพิ่มขึ้น
18          การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ          4.43          4.73          4.55          4.74          เพิ่มขึ้น
19          กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม           4.21          4.45          4.32          4.66          เพิ่มขึ้น
20          สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม           4.16          4.43          4.37          4.64          เพิ่มขึ้น
21          ราคาสินค้า          4.00          4.21          4.17          4.55          เพิ่มขึ้น
22          การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส          4.01          4.19          4.15          4.45          เพิ่มขึ้น
23          การแก้ปัญหาการว่างงาน          4.01          4.14          4.10          4.40          เพิ่มขึ้น
24          การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล          3.97          4.15          4.05          4.33          เพิ่มขึ้น
25          การแก้ปัญหาความยากจน           3.94          4.09          4.06          4.32          เพิ่มขึ้น
*          ภาพรวม          4.33          4.59          4.46          4.80          เพิ่มขึ้น

3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนกันยายน 67

ที่          นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล          ภาพรวม          ที่          นักการเมืองฝ่ายค้าน          ภาพรวม
1          แพทองธาร ชินวัตร          51.70%          1          พิธา ลิ้มเจริญรัตน์          38.43%
2          อนุทิน ชาญวีรกูล          29.94%          2          ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ          34.10%
3          พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค          18.36%          3          ศิริกัญญา ตันสกุล          27.47%


4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนกันยายน 67

ที่          ผลงานฝ่ายรัฐบาล          ภาพรวม          ที่          ผลงานฝ่ายค้าน          ภาพรวม
1          เริ่มจ่ายเงิน 10,000 บาทให้กลุ่มเปราะบาง          61.33%          1          การตรวจสอบงบประมาณ ปี 2568          50.78%
2          ลงพื้นที่ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย          21.40%          2          ติดตามและตรวจสอบเงิน 10,000 บาท          26.56%
3          ตรึงราคาก๊าซหุงต้มต่ออีก 3 เดือน          17.27%          3          เสนอแผนแก้น้ำท่วมระยะยาว          22.66%









































สรุปผลการสำรวจ : ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนกันยายน 2567

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกันยายน 2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,183 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกันยายน 2567 เฉลี่ย 4.80 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2567 ที่ได้ 4.46 คะแนน

          ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.41 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.32 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 51.70 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 29.94 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 38.43 รองลงมา คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 34.10 ผลงานฝ่ายรัฐบาล                        ที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เริ่มจ่ายเงิน 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบาง  ร้อยละ 61.33 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน  คือ ตรวจสอบงบประมาณ ปี 2568 ร้อยละ 50.78
          นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดครั้งแรกในรอบ                 6 เดือน โดยได้ปัจจัยเชิงบวกที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนทั้งการได้นายกฯคนใหม่ การเร่งแจกเงินหมื่นช่วยคนเปราะบาง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ผลงานเหล่านี้เข้าถึงปากท้องและครัวเรือนของประชาชนโดยตรง ทำให้รับรู้ได้ว่ารัฐบาลกำลังมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แม้จะมีความกังวลผลของเงินหมื่น                  ในระยะยาวแต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้บ้าง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยปรับเพิ่มขึ้นในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยคะแนนของฝ่ายค้านเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วเป็นเพราะการทำหน้าที่อภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 มีการนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจน เป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนได้ ในขณะที่คะแนนฝั่งรัฐบาลก็ขยับเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่และการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยลงตัว และได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ ๆ เช่น นโยบายเรือธงดิจิทัลวอลเล็ตที่ปรับเปลี่ยนมาแจกรูปแบบเงินสด ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าได้รับเงินหมื่นจริง ๆ รวมทั้งการที่รัฐบาลคลอดมาตรการเยียวยาให้กับผู้ประสบอุทกภัย ทำให้รู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน แม้ว่าการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำท่วมจะมีความล่าช้าก็ตาม รวมทั้งการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม การปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คะแนนของนายกรัฐมนตรีและผลงานของรัฐบาลขยับเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ