?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนเฉพาะผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาทจากรัฐบาล เรื่อง ?ความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท? กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเปราะบางผู้ได้รับเงินแล้ว จำนวน 845 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. สถานะทางการเงินของประชาชน ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 มีเงินไม่พอใช้และมีหนี้ 46.75% อันดับ 2 มีเงินพอใช้แต่ไม่มีเงินเก็บ 28.64% อันดับ 3 มีเงินไม่พอใช้แต่ไม่เป็นหนี้ 19.17% อันดับ 4 มีเงินพอใช้และมีเงินเก็บ 5.44% 2. ประชาชนนำเงิน 10,000 บาทที่ได้รับจากรัฐบาลไปใช้จ่ายอะไรบ้าง อันดับ 1 ซื้อของกินของใช้ 47.00% อันดับ 4 ลงทุน 7.76% อันดับ 2 ชำระหนี้ 23.35% อันดับ 5 รักษาพยาบาล 6.79% อันดับ 3 เก็บออม 9.58% อื่นๆ การศึกษา ,ค่าพาหนะ ,ท่องเที่ยว 5.52% 3. ประชาชนคิดว่านโยบายนี้ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้มากน้อยเพียงใด อันดับ 1 ช่วยได้มาก 57.75% อันดับ 2 ช่วยได้พอสมควร 37.63% อันดับ 3 ไม่ช่วยเลย 4.62% 4. ประชาชนคิดว่านโยบายนี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศได้หรือไม่ อันดับ 1 ช่วยได้พอสมควร 53.61% อันดับ 2 ช่วยได้มาก 44.02% อันดับ 3 ไม่ช่วยเลย 2.37% 5. ประชาชนคิดว่านโยบายนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลเพียงใด อันดับ 1 ค่อนข้างเชื่อมั่น 50.65% อันดับ 2 เชื่อมั่นมากขึ้น 35.86% อันดับ 3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 13.49% 6. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรมีนโยบายใดเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ อันดับ 1 เพิ่มเงินเดือน ค่าจ้าง สร้างงาน สร้างอาชีพ 31.70% อันดับ 2 เพิ่มเงินผู้พิการ ผู้สูงอายุ และบัตรคนจน 27.76% อันดับ 3 ควบคุมราคาสินค้า ของกินของใช้ 25.80% 7. จากการแจกเงิน 10,000 บาท ส่งผลให้ประชาชนชื่นชอบพรรคการเมืองใดมากขึ้นบ้าง อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย 65.70% อันดับ 2 พรรคประชาชน 12.94% อันดับ 3 พรรคภูมิใจไทย 9.73% อันดับ 4 พรรคชาติไทยพัฒนา 8.63% อันดับ 5 พรรคพลังประชารัฐ 3.00% สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ระหว่างวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเปราะบางผู้ได้รับเงินแล้ว จำนวน 845 คน (สำรวจทางภาคสนาม) พบว่า สถานะทางการเงินของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเงินไม่พอใช้และมีหนี้ ร้อยละ 46.75 จากเงินที่ได้รับได้นำไปใช้ซื้อของกินของใช้ ร้อยละ 47.00 โดยมองว่านโยบายนี้ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้มาก ร้อยละ 57.75 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้พอสมควร ร้อยละ 53.61 ส่งผลให้ค่อนข้างเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ 50.65 อยากให้รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนเพิ่ม คือ การเพิ่มเงินเดิน ค่าจ้าง สร้างงาน สร้างอาชีพ ร้อยละ 31.70 ทั้งนี้จากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ทำให้รู้สึกชื่นชอบพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.70 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจชี้ว่านโยบายแจกเงิน 10,000 บาทช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง โดยเงินส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ซื้อของกินของใช้ที่จำเป็นและชำระหนี้ โดยมีจำนวนไม่มากนักที่จะนำไปลงทุนต่อยอด แม้จะเห็นว่านโยบายนี้ช่วยเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลเพื่อไทย แต่ประชาชนยังคงต้องการเพิ่มค่าจ้าง การจ้างงาน และสร้างอาชีพ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริงได้ นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริมา บุญมาเลิศ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ที่รัฐบาลแจก เงินสด 10,000 บาท ในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ประสบปัญหาเรื่องค่าครองชีพและหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น โดยนำเงินไปจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคกันอย่างคึกคัก ทำให้ประชาชนเริ่มมีความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล และทำให้คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาดูต่อไปว่านโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางรัฐบาลจะมีมาตรการใดออกมาอีก เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่องและส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในระยะยาว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริมา บุญมาเลิศ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มา: สวนดุสิตโพล