?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจาก ค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้ 1. ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนตุลาคม 2567 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.01 คะแนน (เดือนกันยายน 2567 ได้ 4.80 คะแนน) 2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด ?ดัชนีการเมืองไทย? โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ที่ ดัชนีการเมืองไทย ก.ค.67 ส.ค.67 ก.ย.67 ต.ค.67 เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา 1 ผลงานของฝ่ายค้าน 5.35 5.39 5.41 5.34 ลดลง 2 ผลงานของนายกรัฐมนตรี 4.78 4.68 5.12 5.27 เพิ่มขึ้น 3 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน 4.86 4.66 4.97 5.22 เพิ่มขึ้น 4 การมีส่วนร่วมของประชาชน 4.77 4.65 4.92 5.20 เพิ่มขึ้น 5 ความมั่นคงของประเทศ 4.69 4.54 5.06 5.17 เพิ่มขึ้น 6 การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ 4.74 4.50 4.99 5.14 เพิ่มขึ้น 7 ผลงานของรัฐบาล 4.76 4.51 4.98 5.13 เพิ่มขึ้น 7 การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า 4.52 4.41 4.76 5.13 เพิ่มขึ้น 9 การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม 4.76 4.51 4.90 5.11 เพิ่มขึ้น 10 เสถียรภาพทางการเมือง 4.74 4.49 4.91 5.10 เพิ่มขึ้น 11 การแก้ปัญหาต่างๆ ในภาพรวม 4.61 4.46 4.89 5.09 เพิ่มขึ้น 12 สภาพสังคมโดยรวม 4.67 4.47 4.85 5.05 เพิ่มขึ้น 12 การพัฒนาด้านการศึกษาสำหรับประชาชน 4.83 4.67 5.00 5.05 เพิ่มขึ้น 14 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.54 4.44 4.75 5.00 เพิ่มขึ้น 15 การปฏิบัติตนและพฤติกรรมของนักการเมือง 4.67 4.45 4.81 4.98 เพิ่มขึ้น 15 ค่าครองชีพ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ 4.43 4.34 4.84 4.98 เพิ่มขึ้น 17 ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 4.49 4.43 4.75 4.95 เพิ่มขึ้น 18 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ 4.73 4.55 4.74 4.93 เพิ่มขึ้น 19 สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม 4.43 4.37 4.64 4.91 เพิ่มขึ้น 20 กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม 4.45 4.32 4.66 4.86 เพิ่มขึ้น 21 ราคาสินค้า 4.21 4.17 4.55 4.84 เพิ่มขึ้น 22 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส 4.19 4.15 4.45 4.71 เพิ่มขึ้น 23 การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.14 4.10 4.40 4.69 เพิ่มขึ้น 24 การแก้ปัญหาความยากจน 4.09 4.06 4.32 4.67 เพิ่มขึ้น 25 การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 4.15 4.05 4.33 4.58 เพิ่มขึ้น * ภาพรวม 4.59 4.46 4.80 5.01 เพิ่มขึ้น 3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนตุลาคม 67 ที่ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ นักการเมืองฝ่ายค้าน ภาพรวม 1 แพทองธาร ชินวัตร 52.81% 1 ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ 37.80% 2 อนุทิน ชาญวีรกูล 26.40% 2 ศิริกัญญา ตันสกุล 34.36% 3 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 20.79% 3 รังสิมันต์ โรม 27.84% 4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนตุลาคม 67 ที่ ผลงานฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ ผลงานฝ่ายค้าน ภาพรวม 1 มาตรการช่วยน้ำท่วม 40.15% 1 ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 49.76% 2 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส 36.55% 2 เรียกร้องความยุติธรรมคดีตากใบ 26.00% 3 การช่วยเหลือเยียวยารถบัสนักเรียนไฟไหม้ 23.30% 3 อภิปรายสัมปทานค่าไฟ ค่าธรรมเนียมรถติด 24.24% สรุปผลการสำรวจ : ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนตุลาคม 2567
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.34 คะแนน (ลดลงจากเดือนกันยายน) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.58 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 52.81 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 26.40 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาท โดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 37.80 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 34.36 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ มาตรการช่วยน้ำท่วม ร้อยละ 40.15 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 49.76
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจล่าสุดดัชนีผลงานของนายกฯ แพทองธารพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการทำงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการตอบสนองปัญหาของประชาชนอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางด้วยเงินหมื่น มาตรการบรรเทาภัยน้ำท่วม ลดค่าไฟ หรือการแก้ไขปัญหาเชิงรุกในหลายด้าน ซึ่งทั้งหมดได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น สวนทางกับคะแนนผลงานของฝ่ายค้านที่ปรับตัวลดลงในรอบ 10 เดือนสะท้อนถึงความไม่แน่นอนในการดำเนินงาน แม้ประชาชนจะชื่นชมการอภิปรายของฝ่ายค้านแต่ก็ยังไม่สามารถดึงความสนใจในวงกว้างได้
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
อาจารย์วัลลภ ห่างไธสง อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตอธิบายว่า เดือนตุลาคมของทุกปีมักมีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทยเกิดขึ้นเสมอ ในเดือนตุลาคมปีนี้ ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ได้แจกจ่ายให้กับกลุ่มเปราะบางไปแล้วบางส่วน มาตรการการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางภาคเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาในสภาวะวิกฤติของชาติได้อย่างทันท่วงที ส่วนบทบาทของผู้นำฝ่ายค้านก็ยังคงไม่ได้มีความโดดเด่นมากนัก เนื่องจากยังไม่ได้มีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มข้นจริงจัง เพราะเป็นรัฐบาลชุดใหม่ที่พึ่งเข้ามา โดยในเดือนนี้สถานการณ์การเมืองได้รับผลกระทบจากคดีใหญ่ที่เป็นกระแสสังคมก็คือ "คดีดิไอคอน" ซึ่งมีการอ้างว่ามีผู้มีอิทธิพลทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ และนักการเมืองได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI ก็ได้รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาแล้ว เพราะมองว่าน่าจะเป็น "คดีแชร์ลูกโซ่" ประชาชนคนไทยทุกคนคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ผลสุดท้ายแล้วคดีนี้จะจบลงอย่างไร อาจารย์วัลลภ ห่างไธสง อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล