?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,078 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้
ที่ ดัชนีการเมืองไทย ส.ค.67 ก.ย.67 ต.ค.67 พ.ย.67 เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา 1 การมีส่วนร่วมของประชาชน 4.65 4.92 5.20 5.39 เพิ่มขึ้น 2 การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ 4.50 4.99 5.14 5.29 เพิ่มขึ้น 3 ผลงานของนายกรัฐมนตรี 4.68 5.12 5.27 5.25 ลดลง 4 ผลงานของฝ่ายค้าน 5.39 5.41 5.34 5.24 ลดลง 5 ผลงานของรัฐบาล 4.51 4.98 5.13 5.18 เพิ่มขึ้น 6 การพัฒนาด้านการศึกษาสำหรับประชาชน 4.67 5.00 5.05 5.10 เพิ่มขึ้น 7 ความมั่นคงของประเทศ 4.54 5.06 5.17 5.08 ลดลง 8 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน 4.66 4.97 5.22 5.07 ลดลง 9 การแก้ปัญหาต่างๆ ในภาพรวม 4.46 4.89 5.09 5.06 ลดลง 10 การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า 4.41 4.76 5.13 5.04 ลดลง 11 เสถียรภาพทางการเมือง 4.49 4.91 5.10 5.03 ลดลง 12 สภาพสังคมโดยรวม 4.47 4.85 5.05 5.01 ลดลง 13 การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม 4.51 4.90 5.11 4.97 ลดลง 14 ค่าครองชีพ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ 4.34 4.84 4.98 4.91 ลดลง 15 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.44 4.75 5.00 4.89 ลดลง 16 การปฏิบัติตนและพฤติกรรมของนักการเมือง 4.45 4.81 4.98 4.84 ลดลง 17 ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 4.43 4.75 4.95 4.81 ลดลง 18 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ 4.55 4.74 4.93 4.77 ลดลง 19 ราคาสินค้า 4.17 4.55 4.84 4.71 ลดลง 20 กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม 4.32 4.66 4.86 4.68 ลดลง 21 สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม 4.37 4.64 4.91 4.65 ลดลง 22 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส 4.15 4.45 4.71 4.52 ลดลง 23 การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.10 4.40 4.69 4.49 ลดลง 24 การแก้ปัญหาความยากจน 4.06 4.32 4.67 4.45 ลดลง 25 การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 4.05 4.33 4.58 4.39 ลดลง * ภาพรวม 4.46 4.80 5.01 4.92 ลดลง 3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนพฤศจิกายน 67 ที่ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ นักการเมืองฝ่ายค้าน ภาพรวม 1 แพทองธาร ชินวัตร 50.66% 1 ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ 43.80% 2 อนุทิน ชาญวีรกูล 28.96% 2 ศิริกัญญา ตันสกุล 31.72% 3 จิราพร สินธุไพร 20.38% 3 พริษฐ์ วัชรสินธุ 24.48% 4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนพฤศจิกายน 67 ที่ ผลงานฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ ผลงานฝ่ายค้าน ภาพรวม 1 แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 37.50% 1 ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 48.51% 2 ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME 33.30% 2 คัดค้านโยบาย/โครงการที่ไม่ชัดเจน 29.60% 3 แอ่วเหนือคนละครึ่ง กระตุ้นท่องเที่ยว 29.20% 3 ตรวจสอบ MOU 44 ,ที่ดินเขากระโดง 21.89% สรุปผลการสำรวจ : ?ดัชนีการเมืองไทย? เดือนพฤศจิกายน 2567
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,078 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 เฉลี่ย 4.92 คะแนน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2567 ที่ได้ 5.01 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน เฉลี่ย 5.39 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.39 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 50.66 รองลงมาคือ อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 28.96 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 43.80 รองลงมา คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ร้อยละ 31.72 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 ร้อยละ 37.50 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 48.51
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ดัชนีการเมืองไทยเดือนพฤศจิกายนลดลงต่ำกว่า 5 คะแนน อีกครั้ง สะท้อนความคาดหวังของประชาชนต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล แม้การแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 2 จะเสริมคะแนนนิยมได้บ้าง แต่กลับไม่เพียงพอที่จะยกระดับคะแนนตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อคะแนนผลงานนายกฯ ลดลงจึงสะท้อนถึงความไม่แน่นอนต่อความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศ ความท้าทายเหล่านี้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงรัฐบาลว่าประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้มากกว่าการเยียวยาชั่วคราว
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า ผลงานของรัฐบาลที่เด่นชัดและสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนทั่วไป เป็นเรื่องการเดินหน้าแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟสสองให้ประชาชนอีก 4 ล้านคน เป็นไปตามสัญญาของรัฐบาลที่ให้ไว้ และความสามารถของนายกรัฐมนตรีในการจัดการปัญหา น้ำท่วมภาคเหนือส่งผลต่อความพึงพอใจแก่สังคมส่วนรวม แต่เมื่อพิจารณาด้านความสามารถในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ พบว่า ยังไม่มีผลงานเด่นชัด มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาคนว่างงานยังไม่ชัดเจน และการกำหนดแนวทางการเผชิญหน้ากับสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่มีมาตรการใดออกมารองรับ ส่วนฝ่ายค้าน บทบาทในการตรวจสอบเรื่อง MOU 44 ปัญหาอ้างสิทธิทับซ้อนเป็นผลงานโดดเด่น ถ้าฝ่ายค้านสามารถเป็นผู้นำในการตรวจสอบรัฐบาลอย่างเป็นระบบ (ไม่นำมวลชนลงถนน) เชื่อว่าประชาชนอยากให้ฝ่ายค้านค้นหาข้อเท็จจริงและนำมาเปิดเผยต่อสังคมอย่างรวดเร็ว รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล