
?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมีนาคม 2568? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 24-28 มีนาคม 2568 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้
ที่ ดัชนีการเมืองไทย ธ.ค.67 ม.ค.68 ก.พ.68 มี.ค.68 เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา 1 ผลงานของฝ่ายค้าน 5.25 5.23 5.42 5.46 เพิ่มขึ้น 2 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน 5.14 5.35 5.39 5.34 ลดลง 3 การมีส่วนร่วมของประชาชน 5.37 5.33 5.35 5.31 ลดลง 4 ความมั่นคงของประเทศ 5.10 5.03 5.26 5.20 ลดลง 4 การพัฒนาด้านการศึกษาสำหรับประชาชน 5.22 4.95 5.22 5.20 ลดลง 6 สภาพสังคมโดยรวม 5.06 5.17 5.20 5.12 ลดลง 6 การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม 4.96 5.13 5.17 5.12 ลดลง 8 เสถียรภาพทางการเมือง 4.98 5.20 5.14 5.11 ลดลง 9 การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า 5.02 5.08 5.10 5.10 เท่าเดิม 10 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ 4.90 5.00 4.91 5.08 เพิ่มขึ้น 11 ผลงานของรัฐบาล 5.33 5.26 5.16 5.05 ลดลง 12 การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ 5.18 5.10 5.07 5.03 ลดลง 12 การปฏิบัติตนและพฤติกรรมของนักการเมือง 4.86 5.11 5.00 5.03 เพิ่มขึ้น 14 ผลงานของนายกรัฐมนตรี 5.23 5.31 5.29 5.01 ลดลง 14 การแก้ปัญหาต่างๆ ในภาพรวม 5.07 5.28 5.03 5.01 ลดลง 16 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.95 5.01 5.01 4.99 ลดลง 17 สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม 4.74 4.96 4.86 4.74 ลดลง 18 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส 4.60 4.76 4.61 4.70 เพิ่มขึ้น 19 การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.67 4.79 4.64 4.67 เพิ่มขึ้น 20 ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 4.94 5.07 4.98 4.66 ลดลง 21 กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม 4.77 4.96 4.72 4.63 ลดลง 22 การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 4.65 4.80 4.59 4.61 เพิ่มขึ้น 23 ค่าครองชีพ เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ 4.85 4.98 4.84 4.60 ลดลง 24 ราคาสินค้า 4.71 4.92 4.75 4.59 ลดลง 25 การแก้ปัญหาความยากจน 4.61 4.77 4.62 4.43 ลดลง * ภาพรวม 4.97 5.06 5.02 4.95 ลดลง 3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนมีนาคม 68 ที่ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ นักการเมืองฝ่ายค้าน ภาพรวม 1 แพทองธาร ชินวัตร 45.53% 1 ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ 55.28% 2 อนุทิน ชาญวีรกูล 30.35% 2 รักชนก ศรีนอก 28.26% 3 ภูมิธรรม เวชยชัย 24.12% 3 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 16.46% 4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนมีนาคม 68 ที่ ผลงานฝ่ายรัฐบาล ภาพรวม ที่ ผลงานฝ่ายค้าน ภาพรวม 1 แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 3 43.05% 1 การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯแพทองธาร 66.28% 2 ปราบปรามกลุ่มจีนเทา 29.83% 2 ตรวจสอบการทำงานที่ไม่โปร่งใส 22.69% 3 กระตุ้นท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ 27.12% 3 จี้แก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลุ่มจีนเทา 11.03% สรุปผลการสำรวจ : ?ดัชนีการเมืองไทย เดือนมีนาคม 2568?
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมีนาคม 2568? กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 24-28 มีนาคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2568 เฉลี่ย 4.95 คะแนน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ได้ 5.02 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.46 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหาความยากจน เฉลี่ย 4.43 คะแนน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 45.53 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 55.28 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 3 ร้อยละ 43.05 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯแพทองธาร ร้อยละ 66.28 นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า คะแนนดัชนีการเมืองไทยเดือนมีนาคมลดลงต่ำกว่า 5 คะแนนอีกครั้ง หลังจบศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เห็นชัดจากคะแนนผลงานฝ่ายค้านที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับคะแนนผลงานรัฐบาลที่ลดลงไปอยู่อันดับที่ 11 และผลงานนายกรัฐมนตรีไปอยู่อันดับที่ 14 แม้มีผลงานคืบหน้าแจกเงินหมื่นกลุ่มวัยรุ่นแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ให้ประชาชนรู้สึกเชื่อมั่นจากการตอบคำถามในสภา แต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เห็นการพัฒนาด้านการเมืองที่ชัดเจนขึ้นของ ตัวนายกรัฐมนตรี
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยอดชาย ชุติกาโม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ดัชนีการเมืองไทยเดือนมีนาคม 2568 ลดลง สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางการเมืองของ คนไทยที่ลดลง ทั้งนี้ในบรรดาตัวชี้วัดทั้ง 25 ตัว มีเพียง 6 ตัวชี้วัด ที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาทิ ผลงานของฝ่ายค้าน การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ การประพฤติตนและพฤติกรรมของนักการเมือง การแก้ปัญหาการว่างงาน ผู้มีอิทธิพลและยาเสพติด แต่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญคือ เรื่องการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความโปร่งใส โดยได้ 4.70 คะแนน เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ได้เพียง 4.61 คะแนน ขณะที่ผลงานของนายกรัฐมนตรีนั้น ได้คะแนนลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้าน ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ มีคะแนนความนิยมเหนือนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร กว่า 10% อย่างไรก็ดี รัฐบาลจะต้องไม่ลืมว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ผลโพลชี้ว่าการแก้ปัญหาความยากจนและราคาสินค้าได้รับคะแนนลดลงมากที่สุดซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีควรให้ความใส่ใจมากกว่าการรับฟังข้อมูลจากผู้ใต้บังคับบัญชา โดยปราศจากความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยอดชาย ชุติกาโม อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มา: สวนดุสิตโพล