สวนดุสิตโพล: คนไทยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว

ข่าวผลสำรวจ Tuesday April 8, 2025 08:42 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว
         ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?คนไทยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน 2568                     สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนติดตามข่าวเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากช่องทางใด
อันดับ 1          โซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก เอ๊กซ์ ติ๊กต็อก ยูทูป ไลน์          89.11%
อันดับ 2          โทรทัศน์          61.87%
อันดับ 3          เพื่อน ครอบครัว           43.54%




2. ประชาชนมีความกังวลต่อภัยพิบัติประเภทใดมากที่สุด
อันดับ 1          แผ่นดินไหว          84.91%
อันดับ 2          น้ำท่วม          55.85%
อันดับ 3          ฝุ่น PM 2.5          49.80%





3. จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ประชาชนมีความกังวลต่อความปลอดภัยและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
มากน้อยเพียงใด
อันดับ 1          ค่อนข้างกังวล                    48.83%
อันดับ 2          กังวลมาก                     41.40%
อันดับ 3          ไม่ค่อยกังวล                        8.47%
อันดับ 4          ไม่กังวลเลย           1.30%






4. เหตุการณ์แผ่นดินไหวทำให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไรบ้าง
อันดับ 1          ติดตามข่าวสารต่างๆมากขึ้น                79.43%
อันดับ 2          เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวัน          76.26%
อันดับ 3          วางแผนการรับมือหรือเตรียมอุปกรณ์จำเป็นหากเกิดเหตุฉุกเฉิน                 52.36%




5. ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต
อันดับ 1          มีระบบติดตาม แจ้งเตือนภัยพิบัติที่รวดเร็ว แม่นยำ           72.18%
อันดับ 2          ยกระดับเรื่องภัยพิบัติเป็นวาระแห่งชาติ           45.10%
อันดับ 3          จัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือป้องกันภัยเฉพาะกิจ มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ          40.45%
อันดับ 4          ให้ความรู้แก่ประชาชนในการรับมือ เอาตัวรอด           28.82%
อันดับ 5          ควรตรวจสอบความปลอดภัยและโครงสร้างของอาคารทุกประเภทอย่างเข้มงวด          21.01%
อื่นๆ           เพิ่มค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านภัยพิบัติ  สร้างขวัญกำลังใจ ฯลฯ            6.73%






  • หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี ?คนไทยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน 2568 พบว่า                       กลุ่มตัวอย่างติดตามข่าวเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากสื่อโซเชียลมีเดีย (เฟซบุ๊ก เอ๊กซ์ ติ๊กต็อก ยูทูป ไลน์) มากที่สุด ร้อยละ 89.11  และมีความกังวลต่อภัยพิบัตินี้ ร้อยละ 84.91  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้ประชาชนค่อนข้างกังวลต่อความปลอดภัยและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ร้อยละ 48.83 ส่งผลให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการติดตามข่าวสารต่างๆมากขึ้น ร้อยละ 79.43 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบติดตาม แจ้งเตือนภัยพิบัติที่รวดเร็ว แม่นยำ ร้อยละ 72.18 รองลงมาคือ ยกระดับเรื่องภัยพิบัติเป็นวาระแห่งชาติ ร้อยละ 45.10
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยตื่นตัวกับภัยธรรมชาติ                    ที่ไม่อาจคาดเดาได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนก็รู้สึกว่า ?ข้อมูลจากรัฐ? นั้นล่าช้า สังคมออนไลน์ก็เต็มไปด้วยข่าวปลอม                             ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จึงเรียกร้องให้รัฐบาลจัดลำดับความสำคัญให้กับเรื่องนี้ เร่งพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยที่ ?แม่นยำ       ฉับไว ไว้ใจได้ และเข้าถึงทุกคน? เพื่อไม่ให้เกิดการถอดบทเรียนซ้ำ ๆ แต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติจริง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533


อาจารย์มณฑล สุวรรณประภา อาจารย์ประจำหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ด้านภัยพิบัติของคนไทย โดยเฉพาะแผ่นดินไหวซึ่งไม่เคยเป็นปัญหาหลักของประเทศไทยจนกลายเป็นความกังวลอันดับหนึ่ง ขณะที่พฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียชี้ให้เห็นว่าภาครัฐยังขาดช่องทางการสื่อสารด้านภัยพิบัติที่น่าเชื่อถือ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง                     ที่ภาครัฐต้องปรับกลยุทธ์การสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ถือเป็นความท้าทายสำคัญที่ภาครัฐต้องสนับสนุนและผลักดันให้ภัยพิบัตินี้เป็นวาระแห่งชาติ โดยบูรณาการการทำงาน         ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ ตั้งแต่การพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทนต่อภัยพิบัติ ไปจนถึงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการรับมือภัยด้วยตนเอง เพื่อลดความเปราะบางและเพิ่มความยืดหยุ่นของสังคมไทยต่อภัยพิบัติที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต

อาจารย์มณฑล สุวรรณประภา
อาจารย์ประจำหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ