จากสถานการณ์ความตึงเครียดที่ชายแดนไทย - กัมพูชา กรณี ปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง 2 ประเทศ
จนทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลาย ลุกลามใหญ่โต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขต
กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด เพื่อสะท้อนแนวคิด สาเหตุของความขัดแย้ง และแนวทางในการแก้ปัญหาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น
3,055 คน (กรุงเทพฯ 1,287 คน 42.13% ต่างจังหวัด 1,768 คน 57.87%) ระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกของประชาชน ต่อ “ปราสาทพระวิหาร” ที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับเขมร
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 กลายเป็นเรื่องใหญ่โตจนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ /ควรหาข้อยุติโดยเร็ว 39.15% 43.21% 35.08%
2 รู้สึกเสียใจและเสียดายที่ต้องสูญเสียมรดกที่ล้ำค่าของประเทศไป 18.64% 19.75% 17.54%
3 เป็นบทเรียนที่มีค่า /เป็นความทรงจำที่คนไทยไม่มีวันลืม 18.55% 16.05% 21.05%
4 ควรเชิญผู้ที่รู้จริงมาให้ความกระจ่างตั้งแต่เรื่องของเขตแดนและความเป็นมาของปราสาทพระวิหาร 13.20% 12.35% 14.04%
5 มาจากความผิดพลาดของรัฐบาลไทยที่ไม่พิจารณาให้รอบคอบ 10.46% 8.64% 12.29%
2. ประชาชนคิดว่า กรณี “ปราสาทพระวิหาร”จะบานปลาย ลุกลามใหญ่โตจนกลายเป็นปัญหา ระหว่างประเทศหรือไม่ ?
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 คิดว่าจะเป็นปัญหาระหว่างประเทศ 54.14% 60.74% 47.54%
เพราะ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ,มีการส่งกำลังทหารมาดูแลตามแนวชายแดนทั้ง 2 ฝ่าย , ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกล้ำค่า
ใครก็อยากได้ ฯลฯ
2 ไม่แน่ใจ 26.68% 20.57% 32.79%
เพราะ ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการของรัฐบาล ,เป็นเพียงคนบางกลุ่มที่มีปัญหาและออกมาสร้างความวุ่นวาย ฯลฯ
3 คิดว่าคงไม่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ 19.18% 18.69% 19.67%
เพราะ ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว ควรยอมรับในคำตัดสิน ,อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และการลงทุน ฯลฯ
3. ความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาปราสาทพระวิหาร ของ “รัฐบาล”
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 ไม่ค่อยมั่นใจ 39.55% 45.19% 33.90%
เพราะ เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลไทยที่ปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อมาหลายรัฐบาล ,ดูจากสถานการณ์แล้วประเทศไทย
เสียเปรียบมากกว่า ฯลฯ
2 ไม่มั่นใจเลย 34.05% 30.80% 37.30%
เพราะ ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว ,อดีต รมต.ต่างประเทศได้เซ็นต์ลงนามยอมรับข้อตกลงไปแล้ว ,รัฐบาลไทย
ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ฯลฯ
3 ค่อนข้างมั่นใจ 17.59% 18.24% 16.94%
เพราะ รัฐบาลไทยมีผู้ที่มีความสามารถในการเจรจาไกล่เกลี่ยให้เรื่องยุติลงได้ ,รัฐบาลไทยมีศักยภาพที่ดีกว่ากัมพูชา ฯลฯ
4 มั่นใจมาก 8.81% 5.77% 11.86%
เพราะ รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง ,แสดงถึงศักยภาพของรัฐบาล ฯลฯ
4. ความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาปราสาทพระวิหาร ของ “ทหารไทย”
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 ไม่ค่อยมั่นใจ 35.95% 38.10% 33.80%
เพราะ เป็นปัญหาระดับประเทศ ,ควรให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดำเนินการมากกว่า ฯลฯ
2 ค่อนข้างมั่นใจ 26.05% 32.38% 19.72%
เพราะ หากปล่อยให้ทหารดำเนินการเองโดยไม่มีการเมืองเข้าไปแทรกแซง ,กองกำลังทหารของไทยเป็นกองกำลัง
ที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ
3 ไม่มั่นใจเลย 22.89% 16.19% 29.58%
เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก,ปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อมานาน ,เขมรเป็นฝ่ายได้เปรียบมากกว่า ฯลฯ
4 มั่นใจมาก 15.11% 13.33% 16.90%
เพราะ ทหารไทยมีความเด็ดขาด,หน้าที่ของทหาร คือการปกป้องดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศ ฯลฯ
5. ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา“ปราสาทพระวิหาร” ในทัศนะของประชาชน
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 ควรนำหลักฐาน /ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรมายืนยันให้ชัดเจน 27.24% 27.96% 26.51%
2 ควรทำใจและยอมรับกับการตัดสินของศาลโลก 25.02% 24.73% 25.30%
3 ยกให้เป็นมรดกโลกโดยมีทั้ง 2 ประเทศ ร่วมกันดูแล 17.57% 18.28% 16.87%
4 ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ควรมีการพูดจาตกลงกันโดยสันติวิธี 17.10% 16.13% 18.07%
5 เชิญนักวิชาการด้านต่างๆ เช่น นักภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์มายืนยัน 13.07% 12.90% 13.25%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
จนทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลาย ลุกลามใหญ่โต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขต
กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด เพื่อสะท้อนแนวคิด สาเหตุของความขัดแย้ง และแนวทางในการแก้ปัญหาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น
3,055 คน (กรุงเทพฯ 1,287 คน 42.13% ต่างจังหวัด 1,768 คน 57.87%) ระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกของประชาชน ต่อ “ปราสาทพระวิหาร” ที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับเขมร
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 กลายเป็นเรื่องใหญ่โตจนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ /ควรหาข้อยุติโดยเร็ว 39.15% 43.21% 35.08%
2 รู้สึกเสียใจและเสียดายที่ต้องสูญเสียมรดกที่ล้ำค่าของประเทศไป 18.64% 19.75% 17.54%
3 เป็นบทเรียนที่มีค่า /เป็นความทรงจำที่คนไทยไม่มีวันลืม 18.55% 16.05% 21.05%
4 ควรเชิญผู้ที่รู้จริงมาให้ความกระจ่างตั้งแต่เรื่องของเขตแดนและความเป็นมาของปราสาทพระวิหาร 13.20% 12.35% 14.04%
5 มาจากความผิดพลาดของรัฐบาลไทยที่ไม่พิจารณาให้รอบคอบ 10.46% 8.64% 12.29%
2. ประชาชนคิดว่า กรณี “ปราสาทพระวิหาร”จะบานปลาย ลุกลามใหญ่โตจนกลายเป็นปัญหา ระหว่างประเทศหรือไม่ ?
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 คิดว่าจะเป็นปัญหาระหว่างประเทศ 54.14% 60.74% 47.54%
เพราะ ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ,มีการส่งกำลังทหารมาดูแลตามแนวชายแดนทั้ง 2 ฝ่าย , ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกล้ำค่า
ใครก็อยากได้ ฯลฯ
2 ไม่แน่ใจ 26.68% 20.57% 32.79%
เพราะ ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการของรัฐบาล ,เป็นเพียงคนบางกลุ่มที่มีปัญหาและออกมาสร้างความวุ่นวาย ฯลฯ
3 คิดว่าคงไม่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ 19.18% 18.69% 19.67%
เพราะ ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว ควรยอมรับในคำตัดสิน ,อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และการลงทุน ฯลฯ
3. ความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาปราสาทพระวิหาร ของ “รัฐบาล”
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 ไม่ค่อยมั่นใจ 39.55% 45.19% 33.90%
เพราะ เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลไทยที่ปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อมาหลายรัฐบาล ,ดูจากสถานการณ์แล้วประเทศไทย
เสียเปรียบมากกว่า ฯลฯ
2 ไม่มั่นใจเลย 34.05% 30.80% 37.30%
เพราะ ศาลโลกได้ตัดสินไปแล้ว ,อดีต รมต.ต่างประเทศได้เซ็นต์ลงนามยอมรับข้อตกลงไปแล้ว ,รัฐบาลไทย
ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ฯลฯ
3 ค่อนข้างมั่นใจ 17.59% 18.24% 16.94%
เพราะ รัฐบาลไทยมีผู้ที่มีความสามารถในการเจรจาไกล่เกลี่ยให้เรื่องยุติลงได้ ,รัฐบาลไทยมีศักยภาพที่ดีกว่ากัมพูชา ฯลฯ
4 มั่นใจมาก 8.81% 5.77% 11.86%
เพราะ รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง ,แสดงถึงศักยภาพของรัฐบาล ฯลฯ
4. ความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาปราสาทพระวิหาร ของ “ทหารไทย”
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 ไม่ค่อยมั่นใจ 35.95% 38.10% 33.80%
เพราะ เป็นปัญหาระดับประเทศ ,ควรให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดำเนินการมากกว่า ฯลฯ
2 ค่อนข้างมั่นใจ 26.05% 32.38% 19.72%
เพราะ หากปล่อยให้ทหารดำเนินการเองโดยไม่มีการเมืองเข้าไปแทรกแซง ,กองกำลังทหารของไทยเป็นกองกำลัง
ที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ
3 ไม่มั่นใจเลย 22.89% 16.19% 29.58%
เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก,ปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อมานาน ,เขมรเป็นฝ่ายได้เปรียบมากกว่า ฯลฯ
4 มั่นใจมาก 15.11% 13.33% 16.90%
เพราะ ทหารไทยมีความเด็ดขาด,หน้าที่ของทหาร คือการปกป้องดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศ ฯลฯ
5. ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา“ปราสาทพระวิหาร” ในทัศนะของประชาชน
อันดับที่ ภาพรวม กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด
1 ควรนำหลักฐาน /ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรมายืนยันให้ชัดเจน 27.24% 27.96% 26.51%
2 ควรทำใจและยอมรับกับการตัดสินของศาลโลก 25.02% 24.73% 25.30%
3 ยกให้เป็นมรดกโลกโดยมีทั้ง 2 ประเทศ ร่วมกันดูแล 17.57% 18.28% 16.87%
4 ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ควรมีการพูดจาตกลงกันโดยสันติวิธี 17.10% 16.13% 18.07%
5 เชิญนักวิชาการด้านต่างๆ เช่น นักภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์มายืนยัน 13.07% 12.90% 13.25%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-