จากกรณี เชียร์ลีดเดอร์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ประสบอุบัติเหตุขณะซ้อมเชียร์จนอาการสาหัส “สวนดุ
สิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล เกี่ยวกับการทำกิจกรรมเชียร์ลีดเดอร์แบบใด? ที่ไม่ต้องเสียใจเหมือนวันนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,350
คน (ชาย 507 คน 37.56% หญิง 843 คน 62.44%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 20 - 21
มิถุนายน 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักศึกษา” ชอบดูการแสดงของเชียร์ลีดเดอร์ในลักษณะ ปอม ปอม เชียร์ ในท่าผาดโผนต่างๆ มากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ค่อนข้างชอบ 30.43% 53.02% 41.73%
เพราะ เพลงสนุกและมีท่าเต้นที่สนุกสนาน เร้าใจ,ทำให้บรรยากาศในการเชียร์มีสีสัน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชอบมาก 24.64% 27.76% 26.20%
เพราะ ดูแล้วสนุก ทำให้การเชียร์สนุกมากขึ้น,เป็นที่นิยมกันทั่วโลก ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 26.09% 4.99% 15.54%
เพราะ ดูก็ได้ไม่ดูก็ได้,ไม่ได้สนใจมากนัก,บางท่าเต้นมีความเสี่ยงสูง ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ค่อยชอบ 8.70% 9.96% 9.33%
เพราะ ค่อนข้างอันตราย,มีการต่อตัวซึ่งดูแล้วหวาดเสียวแทนผู้เล่น ฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่ชอบเลย 10.14% 4.27% 7.20%
เพราะ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ถ้าประมาทและไม่มีการเซฟที่ดีพอ ฯลฯ
2. “นักศึกษา” คิดว่าการซ้อมและแสดงเชียร์ประเภทนี้ในสภาพปัจจุบันมีโอกาสเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เสี่ยงมาก 57.97% 45.91% 51.94%
เพราะ ถ้าพลาดขึ้นมาก็หมายถึงการบาดเจ็บหรืออาจเสียชีวิตได้,มีการต่อตัวโยนตัวสูงโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างเสี่ยง 31.88% 47.69% 39.78%
เพราะ ต้องมีการต่อตัวโยนตัวสูง ถ้าไม่ระวังก็อาจบาดเจ็บได้ง่ายๆ,ไม่มีการป้องกันการเกิดอุบัติหตุที่ดีพอ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยเสี่ยง 8.70% 5.34% 7.02%
เพราะ ในปัจจุบันการเต้นเชียร์ประเภทนี้มีการเซฟที่ปลอดภัยมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่เสี่ยง 1.45% 1.06% 1.26%
เพราะ ทุกคนที่มาเชียร์มาด้วยความสมัครใจและมีพื้นฐานบ้างอยู่แล้ว ฯลฯ
3. ถ้าให้เป็นเชียร์ลีดเดอร์หรือมีโอกาสได้เป็น “นักศึกษา” จะเป็นหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เป็น 89.86% 73.67% 81.76%
เพราะ ไม่มีความสามารถมากพอ,เกิดอันตรายได้ง่าย,มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้มากกว่ากิจกรรมอื่น ฯลฯ
อันดับที่ 2 เป็น 10.14% 26.33% 18.24%
เพราะ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ,สนุกและเหมือนเป็นการออกกำลังกาย,เป็นกิจกรรมที่ท้าทายและตื่นเต้นดี ฯลฯ
4. จากกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ ม.บูรพา “นักศึกษา” ให้บทเรียนอย่างไร?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรมีการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นและมีความระมัดระวังให้มากกว่านี้ 44.83% 42.04% 43.44%
อันดับที่ 2 ไม่ควรประมาทเพราะการเชียร์ลีดเดอร์ประเภทนี้
มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูง/ควรเตรียมการที่ดีกว่านี้ 24.14% 20.80% 22.47%
อันดับที่ 3 ทุกคนที่เข้ามาทำกิจกรรมควรมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจและควรมีพื้นฐานที่ดีพอ 10.34% 26.55% 18.44%
อันดับที่ 4 การทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอันตรายทุกประเภทควรมีผู้เชี่ยวชาญควบคุมเสมอ 15.52% 7.96% 11.74%
อันดับที่ 5 เมื่อเกิดอุบัติเหตุแม้ว่าจะเล็กน้อยควรไปพบแพทย์ทุกครั้ง 5.17% 2.65% 3.91%
5. ควรทำอย่างไร? กรณีเช่น ม.บูรพา จึงจะไม่เกิดขึ้นอีก
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ต้องมีความปลอดภัยและระมัดระวังในการซ้อม
ให้มีความรัดกุมมากขึ้น โดยหาสถานที่หรืออุปกรณ์เซฟที่ดี 42.86% 40.53% 41.70%
อันดับที่ 2 กิจกรรมเชียร์เป็นกิจกรรมที่ดีแต่ควรยกเลิกท่าที่มีความเสี่ยงมากๆ
เช่น การต่อตัว โยนตัวสูง 22.22% 20.70% 21.46%
อันดับที่ 3 ควรมีการควบคุมดูแลการฝึกซ้อมโดยผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์
ในด้านนี้โดยตรง 15.87% 23.79% 19.83%
อันดับที่ 4 ควรหากิจกรรมประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหรือปลอดภัย
มากกว่าให้นักศึกษาได้ทำ 11.11% 7.05% 9.08%
อันดับที่ 5 ควรถามความสมัครใจและคัดเลือกคนที่มีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้วเข้ามาฝึกซ้อม 7.94% 7.93% 7.93%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
สิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล เกี่ยวกับการทำกิจกรรมเชียร์ลีดเดอร์แบบใด? ที่ไม่ต้องเสียใจเหมือนวันนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,350
คน (ชาย 507 คน 37.56% หญิง 843 คน 62.44%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 20 - 21
มิถุนายน 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักศึกษา” ชอบดูการแสดงของเชียร์ลีดเดอร์ในลักษณะ ปอม ปอม เชียร์ ในท่าผาดโผนต่างๆ มากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ค่อนข้างชอบ 30.43% 53.02% 41.73%
เพราะ เพลงสนุกและมีท่าเต้นที่สนุกสนาน เร้าใจ,ทำให้บรรยากาศในการเชียร์มีสีสัน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ชอบมาก 24.64% 27.76% 26.20%
เพราะ ดูแล้วสนุก ทำให้การเชียร์สนุกมากขึ้น,เป็นที่นิยมกันทั่วโลก ฯลฯ
อันดับที่ 3 เฉยๆ 26.09% 4.99% 15.54%
เพราะ ดูก็ได้ไม่ดูก็ได้,ไม่ได้สนใจมากนัก,บางท่าเต้นมีความเสี่ยงสูง ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ค่อยชอบ 8.70% 9.96% 9.33%
เพราะ ค่อนข้างอันตราย,มีการต่อตัวซึ่งดูแล้วหวาดเสียวแทนผู้เล่น ฯลฯ
อันดับที่ 5 ไม่ชอบเลย 10.14% 4.27% 7.20%
เพราะ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ถ้าประมาทและไม่มีการเซฟที่ดีพอ ฯลฯ
2. “นักศึกษา” คิดว่าการซ้อมและแสดงเชียร์ประเภทนี้ในสภาพปัจจุบันมีโอกาสเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากน้อยเพียงใด?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เสี่ยงมาก 57.97% 45.91% 51.94%
เพราะ ถ้าพลาดขึ้นมาก็หมายถึงการบาดเจ็บหรืออาจเสียชีวิตได้,มีการต่อตัวโยนตัวสูงโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างเสี่ยง 31.88% 47.69% 39.78%
เพราะ ต้องมีการต่อตัวโยนตัวสูง ถ้าไม่ระวังก็อาจบาดเจ็บได้ง่ายๆ,ไม่มีการป้องกันการเกิดอุบัติหตุที่ดีพอ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยเสี่ยง 8.70% 5.34% 7.02%
เพราะ ในปัจจุบันการเต้นเชียร์ประเภทนี้มีการเซฟที่ปลอดภัยมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่เสี่ยง 1.45% 1.06% 1.26%
เพราะ ทุกคนที่มาเชียร์มาด้วยความสมัครใจและมีพื้นฐานบ้างอยู่แล้ว ฯลฯ
3. ถ้าให้เป็นเชียร์ลีดเดอร์หรือมีโอกาสได้เป็น “นักศึกษา” จะเป็นหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เป็น 89.86% 73.67% 81.76%
เพราะ ไม่มีความสามารถมากพอ,เกิดอันตรายได้ง่าย,มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้มากกว่ากิจกรรมอื่น ฯลฯ
อันดับที่ 2 เป็น 10.14% 26.33% 18.24%
เพราะ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ,สนุกและเหมือนเป็นการออกกำลังกาย,เป็นกิจกรรมที่ท้าทายและตื่นเต้นดี ฯลฯ
4. จากกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ ม.บูรพา “นักศึกษา” ให้บทเรียนอย่างไร?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ควรมีการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นและมีความระมัดระวังให้มากกว่านี้ 44.83% 42.04% 43.44%
อันดับที่ 2 ไม่ควรประมาทเพราะการเชียร์ลีดเดอร์ประเภทนี้
มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูง/ควรเตรียมการที่ดีกว่านี้ 24.14% 20.80% 22.47%
อันดับที่ 3 ทุกคนที่เข้ามาทำกิจกรรมควรมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจและควรมีพื้นฐานที่ดีพอ 10.34% 26.55% 18.44%
อันดับที่ 4 การทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอันตรายทุกประเภทควรมีผู้เชี่ยวชาญควบคุมเสมอ 15.52% 7.96% 11.74%
อันดับที่ 5 เมื่อเกิดอุบัติเหตุแม้ว่าจะเล็กน้อยควรไปพบแพทย์ทุกครั้ง 5.17% 2.65% 3.91%
5. ควรทำอย่างไร? กรณีเช่น ม.บูรพา จึงจะไม่เกิดขึ้นอีก
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ต้องมีความปลอดภัยและระมัดระวังในการซ้อม
ให้มีความรัดกุมมากขึ้น โดยหาสถานที่หรืออุปกรณ์เซฟที่ดี 42.86% 40.53% 41.70%
อันดับที่ 2 กิจกรรมเชียร์เป็นกิจกรรมที่ดีแต่ควรยกเลิกท่าที่มีความเสี่ยงมากๆ
เช่น การต่อตัว โยนตัวสูง 22.22% 20.70% 21.46%
อันดับที่ 3 ควรมีการควบคุมดูแลการฝึกซ้อมโดยผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์
ในด้านนี้โดยตรง 15.87% 23.79% 19.83%
อันดับที่ 4 ควรหากิจกรรมประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหรือปลอดภัย
มากกว่าให้นักศึกษาได้ทำ 11.11% 7.05% 9.08%
อันดับที่ 5 ควรถามความสมัครใจและคัดเลือกคนที่มีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้วเข้ามาฝึกซ้อม 7.94% 7.93% 7.93%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-