แท็ก
สวนดุสิตโพลล์
ยามร้อนแรงของภาวะ “การเมืองไทย” กับ “ราคาน้ำมัน” ที่พุ่งไม่หยุดได้สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก จนทำให้
แต่ละฝ่ายต่างก็มุ่งแสวงหาแนวทางแก้วิกฤติร่วมกัน โดยเฉพาะผู้คนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อต้องการจัดลำดับวิกฤติระหว่าง ”การเมืองไทย”
กับ “ราคาน้ำมัน” “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยกระจายไปตาม
จังหวัดต่าง ๆ ทุกภูมิภาค รวม 12 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 3,172 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม 2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. ระหว่าง “การเมืองไทย” กับ “ราคาน้ำมัน” ประชาชนคิดว่าอะไร ? วิกฤตกว่ากัน
อันดับที่ 1 “การเมืองไทย” วิกฤตกว่า 63.59%
เพราะ การเมืองไทยมีปัญหาสะสมมานาน/การเมืองไทยมีอิทธิพลควบคุมทุกอย่าง/การเมืองไทยมุ่งแต่เอาชนะคะคานจนเกิด
ความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ฯลฯ
อันดับที่ 2 “น้ำมัน” วิกฤตกว่า 22.67%
เพราะ เป็นเรื่องระดับโลกที่กำหนดราคา,เมืองไทยผลิตน้ำมันไม่ได้เอง,คนไทยยังไม่มีการประหยัดน้ำมันอย่างจริงจัง ฯลฯ
อันดับที่ 3 วิกฤต พอๆ กัน 13.74%
เพราะ เป็นปัญหาที่หมักหมมต้องช่วยกันทุกฝ่าย, ราคาน้ำมันมีแต่แพงขึ้นเรื่อยๆ ,นักการเมืองไม่ปฏิรูปตัวเอง ฯลฯ
2. ระหว่าง“วิกฤตการเมืองไทย” กับ “วิกฤตราคาน้ำมันแพง” ประชาชนคิดว่าอะไรแก้ไข/ควบคุมยากกว่ากัน
อันดับที่ 1 วิกฤต “การเมืองไทย” แก้ไข/ควบคุมยากกว่า 69.83%
เพราะ เป็นเรื่องของนักการเมืองที่ประชาชนไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม, นักการเมืองเป็นผู้กำหนด ปัญหาการเมืองหมักหมมมานาน ฯลฯ
อันดับที่ 2 วิกฤต “น้ำมันราคาแพง” แก้ไข/ควบคุมได้ยากกว่า 20.71%
เพราะ เป็นปัญหาระดับโลก,ราคาน้ำมันมีแต่แพงขึ้น, ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ฯลฯ
อันดับที่ 3 แก้ไข/ควบคุม ยากพอๆ กัน 9.46%
เพราะ เป็นปัญหาที่สะสมมานาน, ราคาน้ำมันแพงกระทบเศรษฐกิจ, การเมืองมีปัญหาที่ทำให้เกิดความแตกแยกแบ่งฝ่าย
กันอย่างชัดเจน ฯลฯ
3. “วิกฤตการเมืองไทย” ครั้งนี้ ประชาชนมีบทสรุปที่สำคัญ คือ
อันดับที่ 1 ความเห็นแก่ตัว/เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก/การเอาชนะคะคานของนักการเมืองที่สร้างปัญหาให้ประเทศชาติ 65.35%
อันดับที่ 2 ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัญหาสำคัญมาก เพราะทำให้เกิดการแบ่งฝ่าย/เกิดความแตกแยก 16.33%
อันดับที่ 3 การเมืองจะต้องอาศัยความเสียสละ/ เห็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างจริงจัง 11.57%
* อื่นๆเช่น การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจที่คนอยากแสวงหา ฯลฯ 6.75%
4. “วิกฤตน้ำมันแพง” ครั้งนี้ ประชาชนมีบทสรุปที่สำคัญ คือ
อันดับที่ 1 ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนต้องช่วยกันประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง /รณรงค์การประหยัดให้เกิดเป็นรูปธรรม 61.07%
อันดับที่ 2 หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องควบคุม/ ดูแล/ ช่วยกันแก้ไขปัญหาน้ำมัน และ พลังงานอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง 23.01%
อันดับที่ 3 ถึงเวลาต้องแสวงหาพลังงานทางเลือก / พลังงานทดแทน / การใช้พลังงานอย่างฉลาด 12.36%
* อื่นๆเช่น วิกฤตน้ำมันคือ วิกฤตเศรษฐกิจ ฯลฯ 3.56%
5. ถ้าต้องเลือกเพียงอย่างเดียว ระหว่าง “การเมืองไทยดีขึ้น” กับ “น้ำมันราคาถูกลง” ประชาชนจะเลือกอะไร?
อันดับที่ 1 เลือก “การเมืองไทยดีขึ้น” 68.06%
เพราะ ถ้าการเมืองไทยดีขึ้น สามารถจะแก้ปัญหาต่างๆได้, การเมืองไทยมีแต่ความขัดแย้งเอาชนะคะคานกัน
ถ้าการเมืองไทยดี ทุกอย่างก็จะดีขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 เลือก “น้ำมันราคาถูกลง” 31.94%
เพราะ น้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
แต่ละฝ่ายต่างก็มุ่งแสวงหาแนวทางแก้วิกฤติร่วมกัน โดยเฉพาะผู้คนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อต้องการจัดลำดับวิกฤติระหว่าง ”การเมืองไทย”
กับ “ราคาน้ำมัน” “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยกระจายไปตาม
จังหวัดต่าง ๆ ทุกภูมิภาค รวม 12 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 3,172 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม 2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. ระหว่าง “การเมืองไทย” กับ “ราคาน้ำมัน” ประชาชนคิดว่าอะไร ? วิกฤตกว่ากัน
อันดับที่ 1 “การเมืองไทย” วิกฤตกว่า 63.59%
เพราะ การเมืองไทยมีปัญหาสะสมมานาน/การเมืองไทยมีอิทธิพลควบคุมทุกอย่าง/การเมืองไทยมุ่งแต่เอาชนะคะคานจนเกิด
ความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ฯลฯ
อันดับที่ 2 “น้ำมัน” วิกฤตกว่า 22.67%
เพราะ เป็นเรื่องระดับโลกที่กำหนดราคา,เมืองไทยผลิตน้ำมันไม่ได้เอง,คนไทยยังไม่มีการประหยัดน้ำมันอย่างจริงจัง ฯลฯ
อันดับที่ 3 วิกฤต พอๆ กัน 13.74%
เพราะ เป็นปัญหาที่หมักหมมต้องช่วยกันทุกฝ่าย, ราคาน้ำมันมีแต่แพงขึ้นเรื่อยๆ ,นักการเมืองไม่ปฏิรูปตัวเอง ฯลฯ
2. ระหว่าง“วิกฤตการเมืองไทย” กับ “วิกฤตราคาน้ำมันแพง” ประชาชนคิดว่าอะไรแก้ไข/ควบคุมยากกว่ากัน
อันดับที่ 1 วิกฤต “การเมืองไทย” แก้ไข/ควบคุมยากกว่า 69.83%
เพราะ เป็นเรื่องของนักการเมืองที่ประชาชนไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม, นักการเมืองเป็นผู้กำหนด ปัญหาการเมืองหมักหมมมานาน ฯลฯ
อันดับที่ 2 วิกฤต “น้ำมันราคาแพง” แก้ไข/ควบคุมได้ยากกว่า 20.71%
เพราะ เป็นปัญหาระดับโลก,ราคาน้ำมันมีแต่แพงขึ้น, ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ฯลฯ
อันดับที่ 3 แก้ไข/ควบคุม ยากพอๆ กัน 9.46%
เพราะ เป็นปัญหาที่สะสมมานาน, ราคาน้ำมันแพงกระทบเศรษฐกิจ, การเมืองมีปัญหาที่ทำให้เกิดความแตกแยกแบ่งฝ่าย
กันอย่างชัดเจน ฯลฯ
3. “วิกฤตการเมืองไทย” ครั้งนี้ ประชาชนมีบทสรุปที่สำคัญ คือ
อันดับที่ 1 ความเห็นแก่ตัว/เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก/การเอาชนะคะคานของนักการเมืองที่สร้างปัญหาให้ประเทศชาติ 65.35%
อันดับที่ 2 ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัญหาสำคัญมาก เพราะทำให้เกิดการแบ่งฝ่าย/เกิดความแตกแยก 16.33%
อันดับที่ 3 การเมืองจะต้องอาศัยความเสียสละ/ เห็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างจริงจัง 11.57%
* อื่นๆเช่น การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจที่คนอยากแสวงหา ฯลฯ 6.75%
4. “วิกฤตน้ำมันแพง” ครั้งนี้ ประชาชนมีบทสรุปที่สำคัญ คือ
อันดับที่ 1 ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนต้องช่วยกันประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง /รณรงค์การประหยัดให้เกิดเป็นรูปธรรม 61.07%
อันดับที่ 2 หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องควบคุม/ ดูแล/ ช่วยกันแก้ไขปัญหาน้ำมัน และ พลังงานอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง 23.01%
อันดับที่ 3 ถึงเวลาต้องแสวงหาพลังงานทางเลือก / พลังงานทดแทน / การใช้พลังงานอย่างฉลาด 12.36%
* อื่นๆเช่น วิกฤตน้ำมันคือ วิกฤตเศรษฐกิจ ฯลฯ 3.56%
5. ถ้าต้องเลือกเพียงอย่างเดียว ระหว่าง “การเมืองไทยดีขึ้น” กับ “น้ำมันราคาถูกลง” ประชาชนจะเลือกอะไร?
อันดับที่ 1 เลือก “การเมืองไทยดีขึ้น” 68.06%
เพราะ ถ้าการเมืองไทยดีขึ้น สามารถจะแก้ปัญหาต่างๆได้, การเมืองไทยมีแต่ความขัดแย้งเอาชนะคะคานกัน
ถ้าการเมืองไทยดี ทุกอย่างก็จะดีขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 เลือก “น้ำมันราคาถูกลง” 31.94%
เพราะ น้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-