จากเหตุการณ์การปะทะกันระหว่าง ม็อบพันธมิตร กับ ตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 และมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายใน
สังคมอย่างต่อเนื่องขณะนี้ “เยาวชน” ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญในอนาคตของชาติ ที่มิอาจมองข้ามความคิดเห็น ความรู้สึกของเยาวชนไทยได้
ซึ่งมีผลกระทบต่อความรู้สึกไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่ เสียงสะท้อนของเยาวชนจึงเป็นเสียงหนึ่งที่ ผู้ใหญ่ควรให้ความสำคัญ ดังนั้น สวนดุสิตโพล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี โดยทำการสำรวจจากเยาวชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
จำนวน 1,498 คน ระหว่างวันที่ 9 — 11 ตุลาคม 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกของ เยาวชน ต่อเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง ม็อบพันธมิตร กับ ตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม
อันดับที่ 1 รู้สึกเศร้า/สลด/น่ากลัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 25.44%
อันดับที่ 2 ไม่ชอบเพราะเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง/ทำให้มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิต 18.42%
อันดับที่ 3 เสียใจ ไม่อยากให้คนไทยทะเลาะกัน /อยากให้คนไทยสามัคคีกันให้มากกว่านี้ 16.67%
อันดับที่ 4 ตำรวจทำรุนแรงเกินไป / ควรใช้วิธีอื่นในการสลายม็อบ/ควรเจรจาดีๆ 14.03%
อันดับที่ 5 รู้สึกว่า ทั้ง 2 ฝ่ายก็พอๆ กัน (ตำรวจไม่น่าจะใช้ความรุนแรง ม็อบก็ไม่ควรเข้าไปล้อมตำรวจ) 13.16%
*อื่นๆ รู้สึกไม่ดีบ้านเมืองวุ่นวาย,ประเทศขาดความน่าเชื่อถือ, เศรษฐกิจแย่,บ้านเมืองไม่สงบสุข ฯลฯ 12.28%
2. จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีผลกดดันความรู้สึกของเยาวชน ต่อการเมืองไทย หรือไม่? อย่างไร?
อันดับที่ 1 มีผล 59.55%
เพราะ รู้สึกบ้านเมืองวุ่นวาย,เบื่อการเมือง,รัฐบาลไม่น่าเชื่อถือทำงานไม่ได้ผล,กลัวผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสายตาชาวต่างชาติฯลฯ
อันดับที่ 2 เฉยๆ 25.28%
เพราะ มีหน้าที่เรียนอย่างเดียว, ไม่สนใจการเมือง,เบื่อการเมือง, เป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มีผล 15.17%
เพราะ ยังเป็นเด็กอยู่, ไม่ได้เดินทางผ่านเส้นทางที่มีม็อบ, ยังไม่ยึดติดกับการเมือง ฯลฯ
3. สิ่งที่ “เยาวชน” อยากขอร้อง “ฝ่ายรัฐบาล” คือ
อันดับที่ 1 ไม่ควรใช้วิธีการรุนแรงในการสลายม็อบ 30.86%
อันดับที่ 2 ควรแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการเจรจาอย่างสงบ/ควรถอยคนละก้าวเพื่อยุติปัญหา 20.99%
อันดับที่ 3 ควรลาออก หรือ ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ 17.28%
อันดับที่ 4 ควรฟังเหตุผลของหลายๆฝ่าย /และรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น 16.05%
อันดับที่ 5 ควรคำนึงถึงประเทศชาติให้มากกว่าผลประโยชน์ของพวกพ้อง/ นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มากๆ 11.12%
* อื่นๆ เช่น อย่าคอรัปชั่น,ควรพิจารณาตนเอง ฯลฯ 3.70%
4. สิ่งที่ “เยาวชน” อยากขอร้อง “ฝ่ายค้าน” คือ
อันดับที่ 1 ควรร่วมมือกับรัฐบาล/หรือช่วยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้สงบ 38.09%
อันดับที่ 2 ควรมีความเป็นกลาง / ไม่พูดยุแหย่ หรือทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น 30.95%
อันดับที่ 3 ทำหน้าที่แทนประชาชนในสภา 14.29%
อันดับที่ 4 ควรเข้ามาเป็นรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา 9.52%
อันดับที่ 5 หยุดทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน/ อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร 7.15%
5. สิ่งที่ “เยาวชน” อยากขอร้อง “พันธมิตร” คือ
อันดับที่ 1 ไม่ควรตอบโต้/ควรเลิกประท้วงจะได้ไม่เกิดความรุนแรงและความวุ่นวาย 27.63%
อันดับที่ 2 ควรรับฟังความคิดเห็นของหลายๆ ฝ่าย/ควรฟังผู้อื่นบ้าง 21.05%
อันดับที่ 3 อยากให้คำนึงถึงประเทศชาติ และให้นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มากๆ 18.42%
อันดับที่ 4 อย่ายอมแพ้ จงสู้ต่อไป/และควรระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บอีก 15.79%
อันดับที่ 5 ควรชุมนุมอย่างสงบ 13.16%
* อื่นๆ เช่น อย่าทำให้รถติด/คมนาคมไม่สะดวก ฯลฯ 3.95%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
สังคมอย่างต่อเนื่องขณะนี้ “เยาวชน” ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญในอนาคตของชาติ ที่มิอาจมองข้ามความคิดเห็น ความรู้สึกของเยาวชนไทยได้
ซึ่งมีผลกระทบต่อความรู้สึกไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่ เสียงสะท้อนของเยาวชนจึงเป็นเสียงหนึ่งที่ ผู้ใหญ่ควรให้ความสำคัญ ดังนั้น สวนดุสิตโพล
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี โดยทำการสำรวจจากเยาวชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
จำนวน 1,498 คน ระหว่างวันที่ 9 — 11 ตุลาคม 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความรู้สึกของ เยาวชน ต่อเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง ม็อบพันธมิตร กับ ตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม
อันดับที่ 1 รู้สึกเศร้า/สลด/น่ากลัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 25.44%
อันดับที่ 2 ไม่ชอบเพราะเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง/ทำให้มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิต 18.42%
อันดับที่ 3 เสียใจ ไม่อยากให้คนไทยทะเลาะกัน /อยากให้คนไทยสามัคคีกันให้มากกว่านี้ 16.67%
อันดับที่ 4 ตำรวจทำรุนแรงเกินไป / ควรใช้วิธีอื่นในการสลายม็อบ/ควรเจรจาดีๆ 14.03%
อันดับที่ 5 รู้สึกว่า ทั้ง 2 ฝ่ายก็พอๆ กัน (ตำรวจไม่น่าจะใช้ความรุนแรง ม็อบก็ไม่ควรเข้าไปล้อมตำรวจ) 13.16%
*อื่นๆ รู้สึกไม่ดีบ้านเมืองวุ่นวาย,ประเทศขาดความน่าเชื่อถือ, เศรษฐกิจแย่,บ้านเมืองไม่สงบสุข ฯลฯ 12.28%
2. จากเหตุการณ์ดังกล่าว มีผลกดดันความรู้สึกของเยาวชน ต่อการเมืองไทย หรือไม่? อย่างไร?
อันดับที่ 1 มีผล 59.55%
เพราะ รู้สึกบ้านเมืองวุ่นวาย,เบื่อการเมือง,รัฐบาลไม่น่าเชื่อถือทำงานไม่ได้ผล,กลัวผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสายตาชาวต่างชาติฯลฯ
อันดับที่ 2 เฉยๆ 25.28%
เพราะ มีหน้าที่เรียนอย่างเดียว, ไม่สนใจการเมือง,เบื่อการเมือง, เป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มีผล 15.17%
เพราะ ยังเป็นเด็กอยู่, ไม่ได้เดินทางผ่านเส้นทางที่มีม็อบ, ยังไม่ยึดติดกับการเมือง ฯลฯ
3. สิ่งที่ “เยาวชน” อยากขอร้อง “ฝ่ายรัฐบาล” คือ
อันดับที่ 1 ไม่ควรใช้วิธีการรุนแรงในการสลายม็อบ 30.86%
อันดับที่ 2 ควรแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการเจรจาอย่างสงบ/ควรถอยคนละก้าวเพื่อยุติปัญหา 20.99%
อันดับที่ 3 ควรลาออก หรือ ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ 17.28%
อันดับที่ 4 ควรฟังเหตุผลของหลายๆฝ่าย /และรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น 16.05%
อันดับที่ 5 ควรคำนึงถึงประเทศชาติให้มากกว่าผลประโยชน์ของพวกพ้อง/ นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มากๆ 11.12%
* อื่นๆ เช่น อย่าคอรัปชั่น,ควรพิจารณาตนเอง ฯลฯ 3.70%
4. สิ่งที่ “เยาวชน” อยากขอร้อง “ฝ่ายค้าน” คือ
อันดับที่ 1 ควรร่วมมือกับรัฐบาล/หรือช่วยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้สงบ 38.09%
อันดับที่ 2 ควรมีความเป็นกลาง / ไม่พูดยุแหย่ หรือทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น 30.95%
อันดับที่ 3 ทำหน้าที่แทนประชาชนในสภา 14.29%
อันดับที่ 4 ควรเข้ามาเป็นรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา 9.52%
อันดับที่ 5 หยุดทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน/ อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร 7.15%
5. สิ่งที่ “เยาวชน” อยากขอร้อง “พันธมิตร” คือ
อันดับที่ 1 ไม่ควรตอบโต้/ควรเลิกประท้วงจะได้ไม่เกิดความรุนแรงและความวุ่นวาย 27.63%
อันดับที่ 2 ควรรับฟังความคิดเห็นของหลายๆ ฝ่าย/ควรฟังผู้อื่นบ้าง 21.05%
อันดับที่ 3 อยากให้คำนึงถึงประเทศชาติ และให้นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มากๆ 18.42%
อันดับที่ 4 อย่ายอมแพ้ จงสู้ต่อไป/และควรระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บอีก 15.79%
อันดับที่ 5 ควรชุมนุมอย่างสงบ 13.16%
* อื่นๆ เช่น อย่าทำให้รถติด/คมนาคมไม่สะดวก ฯลฯ 3.95%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-