* รัฐบาลจะเป็นที่นิยมมากน้อยแค่ไหน โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีผล ถึง 83.79%
จากที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี ให้ดำรง
ตำแหน่ง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เนื่องจากเห็นว่าเป็นผู้ที่ร่วมกันก่อตั้งพรรคด้วยกันมานาน มีความเข้า
ใจในการทำงานของรัฐบาลเป็นอย่างดี จึงสมควรที่จะได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้ต่อไป “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑลในทัศนะที่เกี่ยวกับ “โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี” จำนวนทั้งสิ้น 1,053 คน (ชาย 426
คน 40.46% หญิง 627 คน 59.54%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” มีผลต่อความนิยมของ “ประชาชน” ต่อรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ค่อนข้างมีผล 51.08% 47.06% 49.07%
เพราะ เป็นตัวแทนของรัฐบาลที่ชี้แจงข่าวสารให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย,เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับ
ประชาชน,ภาพพจน์ของรัฐบาลจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
อันดับที่ 2 มีผลมาก 30.21% 39.22% 34.72%
เพราะ เป็นผู้ที่ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน,เป็นผู้แถลงถึงการทำงานของรัฐบาลให้ประชาชนรับทราบ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยมีผล 13.67% 7.84% 10.75%
เพราะ โฆษกมีหน้าที่พูดแก้ต่างเพื่อให้รัฐบาลดูดีอยู่เสมอ,ความนิยมของรัฐบาลขึ้นอยู่กับผลงานมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่มีผล 5.04% 5.88% 5.46%
เพราะ ส่วนมากจะได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆจากสื่อมวลชนอยู่แล้ว,ขึ้นอยู่กับการทำงานเอง ฯลฯ
2. บทบาทและหน้าที่ที่ต่างกันของ “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” กับ “โฆษกทั่วไป” คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีความเป็นกลางนำเสนอแต่ความเป็นจริง 17.54% 58.49% 38.02%
อันดับที่ 2 มีความสุภาพ นุ่มนวล มีบุคลิกที่ดี 24.57% 10.38% 17.47%
อันดับที่ 3 สื่อสารหรือใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 17.54% 14.15% 15.84%
อันดับที่ 4 ควรพูดเพื่อสร้างประโยชน์และเป็นสากล
มากกว่าการแสดงอารมณ์ 19.29% 9.43% 14.36%
อันดับที่ 5 เข้าใจและรับทราบการทำงานของรัฐบาลโดยตลอด 21.06% 7.55% 14.31%
3. ประชาชนคิดว่า “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” ควรมีการโต้ตอบกับฝ่ายค้านหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่ควรโต้ตอบ 47.48% 57.84% 52.66%
เพราะ ควรรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อรับทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านที่มีต่อรัฐบาล ฯลฯ
อันดับที่ 2 ควรโต้ตอบ 52.52% 42.16% 47.34%
เพราะ หากไม่มีการโต้ตอบบ้างก็จะเหมือนเป็นยอมรับผิดในเรื่องที่ถูกกล่าวหาได้,เป็นการชี้แจงให้เกิดความเข้าใจมากกว่า ฯลฯ
4. ระยะเวลาที่เหมาะสมที่ “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” ควรออกมาแถลงถึงการทำงานของรัฐบาล
ในแต่ละครั้ง คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 อาทิตย์ละครั้ง 42.45% 48.79% 45.62%
อันดับที่ 2 แล้วแต่ภาระของรัฐบาล 38.85% 29.95% 34.40%
อันดับที่ 3 ทุกวัน 6.47% 11.11% 8.79%
อันดับที่ 4 วันเว้นวัน 4.32% 10.15% 7.24%
*อื่นๆ เช่น เดือนละครั้ง,3 เดือนครั้ง,
เมื่อมีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ฯลฯ 7.91% - 3.95%
5. สิ่งที่ “ประชาชน” อยากฝากบอกกับ “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงไม่บิดเบือน 41.38% 24.72% 33.05%
อันดับที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ให้ดี/สามารถตอบข้อซักถามได้ดี 24.14% 15.73% 19.94%
อันดับที่ 3 ต้องทราบถึงนโยบาย/ผลงานของรัฐบาลและ
ความเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างทันเหตุการณ์ 12.64% 19.11% 15.87%
อันดับที่ 4 พูดเพื่อสร้างประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชน 11.49% 20.22% 15.85%
อันดับที่ 5 ประชาสัมพันธ์การทำงานของรัฐบาลและนายกฯอย่างต่อเนื่อง 10.35% 20.22% 15.29%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
จากที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี ให้ดำรง
ตำแหน่ง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เนื่องจากเห็นว่าเป็นผู้ที่ร่วมกันก่อตั้งพรรคด้วยกันมานาน มีความเข้า
ใจในการทำงานของรัฐบาลเป็นอย่างดี จึงสมควรที่จะได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้ต่อไป “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑลในทัศนะที่เกี่ยวกับ “โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี” จำนวนทั้งสิ้น 1,053 คน (ชาย 426
คน 40.46% หญิง 627 คน 59.54%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” มีผลต่อความนิยมของ “ประชาชน” ต่อรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ค่อนข้างมีผล 51.08% 47.06% 49.07%
เพราะ เป็นตัวแทนของรัฐบาลที่ชี้แจงข่าวสารให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย,เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างรัฐบาลกับ
ประชาชน,ภาพพจน์ของรัฐบาลจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
อันดับที่ 2 มีผลมาก 30.21% 39.22% 34.72%
เพราะ เป็นผู้ที่ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน,เป็นผู้แถลงถึงการทำงานของรัฐบาลให้ประชาชนรับทราบ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยมีผล 13.67% 7.84% 10.75%
เพราะ โฆษกมีหน้าที่พูดแก้ต่างเพื่อให้รัฐบาลดูดีอยู่เสมอ,ความนิยมของรัฐบาลขึ้นอยู่กับผลงานมากกว่า ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่มีผล 5.04% 5.88% 5.46%
เพราะ ส่วนมากจะได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆจากสื่อมวลชนอยู่แล้ว,ขึ้นอยู่กับการทำงานเอง ฯลฯ
2. บทบาทและหน้าที่ที่ต่างกันของ “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” กับ “โฆษกทั่วไป” คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีความเป็นกลางนำเสนอแต่ความเป็นจริง 17.54% 58.49% 38.02%
อันดับที่ 2 มีความสุภาพ นุ่มนวล มีบุคลิกที่ดี 24.57% 10.38% 17.47%
อันดับที่ 3 สื่อสารหรือใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 17.54% 14.15% 15.84%
อันดับที่ 4 ควรพูดเพื่อสร้างประโยชน์และเป็นสากล
มากกว่าการแสดงอารมณ์ 19.29% 9.43% 14.36%
อันดับที่ 5 เข้าใจและรับทราบการทำงานของรัฐบาลโดยตลอด 21.06% 7.55% 14.31%
3. ประชาชนคิดว่า “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” ควรมีการโต้ตอบกับฝ่ายค้านหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่ควรโต้ตอบ 47.48% 57.84% 52.66%
เพราะ ควรรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อรับทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านที่มีต่อรัฐบาล ฯลฯ
อันดับที่ 2 ควรโต้ตอบ 52.52% 42.16% 47.34%
เพราะ หากไม่มีการโต้ตอบบ้างก็จะเหมือนเป็นยอมรับผิดในเรื่องที่ถูกกล่าวหาได้,เป็นการชี้แจงให้เกิดความเข้าใจมากกว่า ฯลฯ
4. ระยะเวลาที่เหมาะสมที่ “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” ควรออกมาแถลงถึงการทำงานของรัฐบาล
ในแต่ละครั้ง คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 อาทิตย์ละครั้ง 42.45% 48.79% 45.62%
อันดับที่ 2 แล้วแต่ภาระของรัฐบาล 38.85% 29.95% 34.40%
อันดับที่ 3 ทุกวัน 6.47% 11.11% 8.79%
อันดับที่ 4 วันเว้นวัน 4.32% 10.15% 7.24%
*อื่นๆ เช่น เดือนละครั้ง,3 เดือนครั้ง,
เมื่อมีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้น ฯลฯ 7.91% - 3.95%
5. สิ่งที่ “ประชาชน” อยากฝากบอกกับ “โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” คือ
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงไม่บิดเบือน 41.38% 24.72% 33.05%
อันดับที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ให้ดี/สามารถตอบข้อซักถามได้ดี 24.14% 15.73% 19.94%
อันดับที่ 3 ต้องทราบถึงนโยบาย/ผลงานของรัฐบาลและ
ความเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างทันเหตุการณ์ 12.64% 19.11% 15.87%
อันดับที่ 4 พูดเพื่อสร้างประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชน 11.49% 20.22% 15.85%
อันดับที่ 5 ประชาสัมพันธ์การทำงานของรัฐบาลและนายกฯอย่างต่อเนื่อง 10.35% 20.22% 15.29%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-