สวนดุสิตโพล เผย ดัชนีความเชื่อมั่น “การเมืองไทย” ทรุดต่ำลง เข้าสู่ยุคโงหัวไม่ขึ้น ประชาชนมองการเมืองยังอึมครึม ไม่แน่ใจการเลือกตั้งว่าจะเกิดขึ้นทัน 15 ตุลาคม เชื่อ ต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อ การทำงานกกต.ชุดใหม่ เร่งล้างบางเครือข่ายเงาชุดเดิม เพื่อความชอบธรรม ขณะที่คนไทยรักและสามัคคีกันน้อยลง ย้ำชัดสื่อมวลชนไทยยังเป็นที่พึงของประชาชน
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดีฝ่ายศูนย์การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ในฐานะประธานสวนดุสิตโพล เผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวน 9,193 คน ถึงความเชื่อมั่น “ ดัชนีการเมืองไทย” ประจำเดือนกรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นการเมืองไทย อยู่ที่ระดับ 92.36 จุด ส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดลง -3.04 จุดจากเดือนมิถุนายน และหากเปรียบเทียบในเดือนเดียวกันกับปีที่แล้วลดลงถึง -6.49
นอกจากนี้หากนำค่าดัชนีชี้วัดมาเปรียบเทียบกันระหว่างเดือน กรกฎาคมกับเดือนมิถุนายน 2549 พบว่า มี 24 ตัวชี้วัดที่ลดลง โดย 5 อันดับแรก เป็นเรื่องของความสามัคคีของคนในชาติลดลง( -9.68) สภาพของสังคมโดยส่วนรวมติดลบ( -5.47 ) จริยธรรม/วัฒนธรรมของคนในชาติ -5.20 การแฏบิติตนของนักการเมืองและความสามัคคีลดลง -5.16 และการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า -4.95
ดัชนีความเชื่อมั่นที่ต่ำกว่า 85 จุด แต่ไม่ต่ำกว่า 80 จุดมี 2 ตัวชี้วัด เป็นเรื่องของการปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี ลดลงจากเดือนมิถุนายน -5.16 จุด ความมั่นคงของประเทศ/การก่อการร้าย(จากเหตุการณ์ในภาคใต้) ลดลง -3.13 จุด โดยที่ตำกว่า 90 จุด มีเรื่องการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น สภาพของสังคมโดยส่วนรวม ความเป็นอยู่ของประชาชน ค่าครองชีพ/เงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการ สภาพเศรษฐกิจโดยส่วนรวมและ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สำหรับดัชนีที่เกิน 100 จุด แต่ก็ลดลงจากเดือนมิถุนายนมี 3 ตัวชี้วัด พบว่า เป็นเรื่องข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับรู้ 109.17 จุด การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน 102.79 จุด และผลงานของนายกรัฐมนตรี 100.80 จุด
ดร. สุขุม สรุปเพิ่มเติมว่า ประเด็นการวิเคราะห์ดัชนีการเมืองไทยซึ่งเปรียบเทียบ กลับพบว่ามีดัชนีที่เพิ่มขึ้นเพียงประเด็นเดียวในเดือนกรกฎาคม คือ การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน 97.89 จุด เพิ่มขึ้น จากเดือนมิถุนายน +1.70 จุด แต่ไม่ถึง 100 จุด อาจเป็นผลมาจากการชูบทบาทของนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะลงแข่งขันเลือกตั้งโดยเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป แข่งกับ พตท.ดร. ทักษิณ ชินวัตรที่ยังไม่แสดงบทบาทชัดเจนว่าจะตัดสินใจสละตำแหน่งหรือวางตัวทายาททางการเมืองคนต่อไปแทนตน ตลอดจนการปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่เน้น วาระประชาชน ตามสโลแกนว่า ประชาชนต้องมาก่อน
จากข้อถามของสื่อมวลชน เรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ชุดใหม่ที่อยู่ในระหว่างการคัดเลือกประชาชนมองอย่างไร ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ เชื่อว่า กกต.ชุดใหม่จะมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมขึ้น แม้ประชาชนส่วนใหญ่ในภาคอีสานและภาคเหนือจะ ยังคงให้ความนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ก็ตาม ซึ่งคงต้องเป็นหน้าที่ของกกต.ชุดใหม่ที่ต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบ เครือข่าย กกต.เขตต่าง ๆทั่วประเทศบางคนที่ยังเป็นร่างทรงของกกต.ชุดเก่าที่ถูกดำเนินคดี ให้วางตัวเป็นกลางในการทำหน้าที่การเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม ที่จะถึงนี้
นอกจากนี้ในการแถลงข่าว ดัชนีความเชื่อมั่นการเมืองไทย ในเดือนกรกฎาคม ได้เปิดโอกาสให้บรรดานักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น อาจารย์จากศูนย์สุโขทัย ร่วมแสดงความคิดเห็น สรุปได้ว่า อยากให้พรรคการเมืองออกมาเน้นในเรื่องแถลงนโยบายของพรรคให้ชัดเจนเพื่อเป็นทางเลือกของประชาชน ซึ่งหากพรรคใดเน้น นโยบายแก้ปัญหาสังคมไทยที่ฟอนเฟะน่าเชื่อว่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีข้อสังเกตว่าระหว่างพรรคใหญ่ 2 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทยนั้น ประชาชนไทยโดยส่วนใหญ่ให้ความนิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมากกว่าพรรคไทยรักไทย ในทางกลับกัน ประชาชนนิยมในความเป็นพรรคประชาธิปัตย์มากกว่านายอภิสิทธ์ หัวหน้าพรรค ดังนั้นการเมืองไทยนับต่อไปนี้จึงน่าจับตามองเพราะจะเป็นการช่วงชิงประชาชนให้อยู่ทางฝ่ายตนให้มากที่สุดเพื่อชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต่อไป
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดีฝ่ายศูนย์การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ในฐานะประธานสวนดุสิตโพล เผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวน 9,193 คน ถึงความเชื่อมั่น “ ดัชนีการเมืองไทย” ประจำเดือนกรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นการเมืองไทย อยู่ที่ระดับ 92.36 จุด ส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดลง -3.04 จุดจากเดือนมิถุนายน และหากเปรียบเทียบในเดือนเดียวกันกับปีที่แล้วลดลงถึง -6.49
นอกจากนี้หากนำค่าดัชนีชี้วัดมาเปรียบเทียบกันระหว่างเดือน กรกฎาคมกับเดือนมิถุนายน 2549 พบว่า มี 24 ตัวชี้วัดที่ลดลง โดย 5 อันดับแรก เป็นเรื่องของความสามัคคีของคนในชาติลดลง( -9.68) สภาพของสังคมโดยส่วนรวมติดลบ( -5.47 ) จริยธรรม/วัฒนธรรมของคนในชาติ -5.20 การแฏบิติตนของนักการเมืองและความสามัคคีลดลง -5.16 และการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า -4.95
ดัชนีความเชื่อมั่นที่ต่ำกว่า 85 จุด แต่ไม่ต่ำกว่า 80 จุดมี 2 ตัวชี้วัด เป็นเรื่องของการปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี ลดลงจากเดือนมิถุนายน -5.16 จุด ความมั่นคงของประเทศ/การก่อการร้าย(จากเหตุการณ์ในภาคใต้) ลดลง -3.13 จุด โดยที่ตำกว่า 90 จุด มีเรื่องการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น สภาพของสังคมโดยส่วนรวม ความเป็นอยู่ของประชาชน ค่าครองชีพ/เงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการ สภาพเศรษฐกิจโดยส่วนรวมและ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สำหรับดัชนีที่เกิน 100 จุด แต่ก็ลดลงจากเดือนมิถุนายนมี 3 ตัวชี้วัด พบว่า เป็นเรื่องข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับรู้ 109.17 จุด การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน 102.79 จุด และผลงานของนายกรัฐมนตรี 100.80 จุด
ดร. สุขุม สรุปเพิ่มเติมว่า ประเด็นการวิเคราะห์ดัชนีการเมืองไทยซึ่งเปรียบเทียบ กลับพบว่ามีดัชนีที่เพิ่มขึ้นเพียงประเด็นเดียวในเดือนกรกฎาคม คือ การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน 97.89 จุด เพิ่มขึ้น จากเดือนมิถุนายน +1.70 จุด แต่ไม่ถึง 100 จุด อาจเป็นผลมาจากการชูบทบาทของนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะลงแข่งขันเลือกตั้งโดยเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป แข่งกับ พตท.ดร. ทักษิณ ชินวัตรที่ยังไม่แสดงบทบาทชัดเจนว่าจะตัดสินใจสละตำแหน่งหรือวางตัวทายาททางการเมืองคนต่อไปแทนตน ตลอดจนการปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่เน้น วาระประชาชน ตามสโลแกนว่า ประชาชนต้องมาก่อน
จากข้อถามของสื่อมวลชน เรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ชุดใหม่ที่อยู่ในระหว่างการคัดเลือกประชาชนมองอย่างไร ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ เชื่อว่า กกต.ชุดใหม่จะมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมขึ้น แม้ประชาชนส่วนใหญ่ในภาคอีสานและภาคเหนือจะ ยังคงให้ความนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ก็ตาม ซึ่งคงต้องเป็นหน้าที่ของกกต.ชุดใหม่ที่ต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบ เครือข่าย กกต.เขตต่าง ๆทั่วประเทศบางคนที่ยังเป็นร่างทรงของกกต.ชุดเก่าที่ถูกดำเนินคดี ให้วางตัวเป็นกลางในการทำหน้าที่การเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม ที่จะถึงนี้
นอกจากนี้ในการแถลงข่าว ดัชนีความเชื่อมั่นการเมืองไทย ในเดือนกรกฎาคม ได้เปิดโอกาสให้บรรดานักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น อาจารย์จากศูนย์สุโขทัย ร่วมแสดงความคิดเห็น สรุปได้ว่า อยากให้พรรคการเมืองออกมาเน้นในเรื่องแถลงนโยบายของพรรคให้ชัดเจนเพื่อเป็นทางเลือกของประชาชน ซึ่งหากพรรคใดเน้น นโยบายแก้ปัญหาสังคมไทยที่ฟอนเฟะน่าเชื่อว่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีข้อสังเกตว่าระหว่างพรรคใหญ่ 2 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทยนั้น ประชาชนไทยโดยส่วนใหญ่ให้ความนิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมากกว่าพรรคไทยรักไทย ในทางกลับกัน ประชาชนนิยมในความเป็นพรรคประชาธิปัตย์มากกว่านายอภิสิทธ์ หัวหน้าพรรค ดังนั้นการเมืองไทยนับต่อไปนี้จึงน่าจับตามองเพราะจะเป็นการช่วงชิงประชาชนให้อยู่ทางฝ่ายตนให้มากที่สุดเพื่อชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต่อไป
--สวนดุสิตโพล--
-พห-