กรณีครูจูหลิงและครูสิรินาฎจาก จ.นราธิวาส ถูกจับเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายอย่างโหดเหี้ยม ได้เป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์
อย่างกว้างขวาง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ที่เป็น
ตัวแทนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อหาแนวทางการป้องกันและแก้ไข โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,846 คน ระหว่างวันที่ 22 — 26 พฤษภาคม
2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” รู้สึกอย่างไร? ต่อเหตุการณ์ “ครูใต้” 2 คนถูกจับเป็นตัวประกัน
อันดับที่ 1 เศร้าใจ/เสียใจ/สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 43.59%
อันดับที่ 2 สงสารครูจูหลิงที่ถูกทำร้าย/เห็นใจพ่อแม่ ครอบครัวของคุณครู 17.95%
อันดับที่ 3 เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง โหดร้าย ป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรม 16.24%
อันดับที่ 4 ไม่คิดว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับครูซึ่งเป็นผู้เสียสละและเป็นผู้หญิง 15.38%
อันดับที่ 5 อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งจับตัวผู้ร้ายมาลงโทษ 3.42%
อันดับที่ 5 โกรธแค้นแทนครอบครัวของคุณครู 3.42%
2. บทเรียนที่ได้จากสถานการณ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นบทเรียน หรือใช้แก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ได้อย่างไร?
อันดับที่ 1 ควรเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่/เพิ่มความเข้มงวด โดยเฉพาะการคุ้มครองและดูแลความปลอดภัยของคนในพื้นที่โดยเน้นที่เด็กและสตรี 26.67%
อันดับที่ 2 ใช้วิธีการตอบโต้อย่างรุนแรง/ใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการปราบปราม 24.76%
อันดับที่ 3 ภาครัฐควรเข้ามาดูแลให้ความสนใจอย่างเต็มที่/จริงใจในการแก้ปัญหาไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก 18.09%
อันดับที่ 4 ประชาชนในพื้นที่ควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ช่วยกันสอดส่องดูแลคอยแจ้งเบาะแสและความเคลื่อนไหวแก่ภาครัฐ 16.19%
อันดับที่ 5 แก้ไขได้ยากเพราะมีข่าวเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทางภาครัฐไม่สามารถทำอะไรได้ 14.29%
3. กรณีของครูจูหลิง : สามารถใช้ปลุกกระแสดับไฟใต้อย่างไร?
อันดับที่ 1 ตีแผ่เหตุการณ์ที่แสดงความโหดร้ายทารุณให้ประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง 51.74%
อันดับที่ 2 ใช้กรณีครูจูหลิงปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนถึงความเสียสละและกล้าหาญของครู 22.35%
อันดับที่ 3 องค์กรวิชาชีพครู/คุรุสภา ควรยกย่องกรณีครูจูหลิงให้เป็นแบบอย่างของครูผู้เสียสละ 15.28%
* อื่นๆ เช่น การใช้เป็นกรณีตัวอย่างของครูผู้ที่อุทิศตน,สร้างเสริมให้สาธารณชนยอมรับวิชาชีพครู ฯลฯ 10.63%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
อย่างกว้างขวาง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ที่เป็น
ตัวแทนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อหาแนวทางการป้องกันและแก้ไข โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,846 คน ระหว่างวันที่ 22 — 26 พฤษภาคม
2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. “ประชาชน” รู้สึกอย่างไร? ต่อเหตุการณ์ “ครูใต้” 2 คนถูกจับเป็นตัวประกัน
อันดับที่ 1 เศร้าใจ/เสียใจ/สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 43.59%
อันดับที่ 2 สงสารครูจูหลิงที่ถูกทำร้าย/เห็นใจพ่อแม่ ครอบครัวของคุณครู 17.95%
อันดับที่ 3 เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง โหดร้าย ป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรม 16.24%
อันดับที่ 4 ไม่คิดว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับครูซึ่งเป็นผู้เสียสละและเป็นผู้หญิง 15.38%
อันดับที่ 5 อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งจับตัวผู้ร้ายมาลงโทษ 3.42%
อันดับที่ 5 โกรธแค้นแทนครอบครัวของคุณครู 3.42%
2. บทเรียนที่ได้จากสถานการณ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นบทเรียน หรือใช้แก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ได้อย่างไร?
อันดับที่ 1 ควรเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่/เพิ่มความเข้มงวด โดยเฉพาะการคุ้มครองและดูแลความปลอดภัยของคนในพื้นที่โดยเน้นที่เด็กและสตรี 26.67%
อันดับที่ 2 ใช้วิธีการตอบโต้อย่างรุนแรง/ใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการปราบปราม 24.76%
อันดับที่ 3 ภาครัฐควรเข้ามาดูแลให้ความสนใจอย่างเต็มที่/จริงใจในการแก้ปัญหาไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก 18.09%
อันดับที่ 4 ประชาชนในพื้นที่ควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ช่วยกันสอดส่องดูแลคอยแจ้งเบาะแสและความเคลื่อนไหวแก่ภาครัฐ 16.19%
อันดับที่ 5 แก้ไขได้ยากเพราะมีข่าวเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทางภาครัฐไม่สามารถทำอะไรได้ 14.29%
3. กรณีของครูจูหลิง : สามารถใช้ปลุกกระแสดับไฟใต้อย่างไร?
อันดับที่ 1 ตีแผ่เหตุการณ์ที่แสดงความโหดร้ายทารุณให้ประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง 51.74%
อันดับที่ 2 ใช้กรณีครูจูหลิงปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนถึงความเสียสละและกล้าหาญของครู 22.35%
อันดับที่ 3 องค์กรวิชาชีพครู/คุรุสภา ควรยกย่องกรณีครูจูหลิงให้เป็นแบบอย่างของครูผู้เสียสละ 15.28%
* อื่นๆ เช่น การใช้เป็นกรณีตัวอย่างของครูผู้ที่อุทิศตน,สร้างเสริมให้สาธารณชนยอมรับวิชาชีพครู ฯลฯ 10.63%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-