จากคะแนนเต็ม 10 ประชาชนให้คะแนนการอภิปราย ฝ่ายรัฐบาล 5.53 คะแนน และ ฝ่ายค้าน 5.24 คะแนน
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ติดตามรับชม — รับฟังการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาล “อภิสิทธิ์” ทั้ง 2 วัน (19-20 มีนาคม 2552) ในหัวข้อประชาชน ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ได้อะไร? จากการอภิปรายครั้งนี้ โดยสำรวจ ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน 854 คน สรุปผลได้ดังนี้
อันดับที่ 1 ได้รับฟังข้อเท็จจริงของทั้ง 2 ฝ่าย/ ได้รู้ข้อมูลที่ถูกปิดบัง 46.80% อันดับที่ 2 ประชาชนไม่ได้รับผลดี-ผลเสียจากการอภิปรายครั้งนี้ 27.66% อันดับที่ 3 ได้เห็นพฤติกรรมและการแสดงออกทางอารมณ์ของนักการเมือง 17.02% อันดับที่ 4 ได้รู้ความคืบหน้าของการทำงานของรัฐบาล 8.52% 2. ฝ่ายค้าน ได้ อะไร? จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ อันดับที่ 1 ได้นำเสนอข้อมูลและข้อเท็จจริง/ พร้อมมีหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ 44.19% อันดับที่ 2 ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 25.58% อันดับที่ 3 ได้เสนอความคิดเห็น /ได้ระบายความรู้สึก 20.93% อันดับที่ 4 ไม่ได้อะไร มีแต่จะเสียเปรียบ เพราะปัจจุบันรัฐบาลได้เปรียบและมีภาษีดีกว่า 9.30% 3. ฝ่ายรัฐบาล ได้ อะไร? จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ อันดับที่ 1 ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง /แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการทำงาน 58.82% อันดับที่ 2 ทำให้รัฐบาลมีความรอบคอบและระมัดระวังในการทำงานมากขึ้น 17.65% อันดับที่ 3 ได้รับทราบความคิดเห็นและมุมมองที่ฝ่ายค้านมีต่อรัฐบาล 14.71% อันดับที่ 4 ประชาชนยังคงให้ความเชื่อถือและเชื่อมั่นรัฐบาลเหมือนเดิม 8.82% 4. ระหว่าง ฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน จากศึกซักฟอกการอภิปรายฯ ครั้งนี้ ใคร? ได้ใจประชาชน อันดับที่ 1 ฝ่ายรัฐบาล ได้ใจประชาชน 40.21%
เพราะ ชี้แจงได้ดีมีเหตุผล, พูดดีสุภาพ, มีการเตรียมตัวมาดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 ฝ่ายค้าน ได้ใจประชาชน 26.09%
เพราะ ค้นหาข้อมูลและหลักฐานได้ดี, มีการนำเสนอข้อมูลได้ดี ฯลฯ
อันดับที่ 3 ได้ใจพอๆ กัน 18.48%
เพราะ ค้นหาข้อมูลและหลักฐานได้ดี, มีการนำเสนอข้อมูลได้ดี ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ได้ใจทั้งสองฝ่าย 15.22%
เพราะ ไม่ได้ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ, เป็นพฤติกรรมที่ไร้สาระทั้งสองฝ่าย, มีแต่ทะเลาะกันเอง ฯลฯ
อันดับที่ 1 การเตรียมความพร้อมของทั้ง 2 ฝ่าย 34.37% อันดับที่ 2 ข้อมูลต่างๆ มีความชัดเจน หลากหลาย และน่าสนใจในบางประเด็น 21.88% อันดับที่ 3 การโต้ตอบกันไปมา ทำให้เกิดความสนุกในการรับฟัง 18.75% อันดับที่ 4 รูปแบบการนำเสนอมีสีสัน และมีความหลากหลาย 15.63% อันดับที่ 5 ลีลา หรือสไตล์การนำเสนอ/การพูดของแต่ละคน 9.37% 6. “จุดด้อย” ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งนี้ คือ อันดับที่ 1 การใช้อารมณ์ที่รุนแรง ก้าวร้าว 34.15% อันดับที่ 2 การนำเสนอข้อมูลแบบเดิมๆ/ไม่มีข้อมูลใหม่ๆ 25.49% อันดับที่ 3 การลุกขึ้นประท้วงกันบ่อยๆ / ประท้วงแบบไร้สาระ 23.53% อันดับที่ 4 เนื้อหาการพูดไม่ค่อยมี /ส่วนใหญ่เป็นการพูดน้ำท่วมทุ่ง มากกว่า 8.99% อันดับที่ 5 เน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวมากเกินไป 7.84%
--สวนดุสิตโพล--