* ประชาชนไม่อยากคาดหวังกับการเมืองไทยเกือบ 62%
ภายหลังจากศาลมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. ที่ผ่านมา “มิชอบ” ทำให้กระแสการเมืองไทยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้าง
ขวาง และมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน โดยเน้น
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่ว
ประเทศ โดยสุ่มกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นตัวแทน 16 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,217 คน (ผู้พักอาศัยในเขตเมืองหรือเทศบาล
1,836 คน 43.54% ผู้พักอาศัยในเขตชนบทหรือนอกเขตเทศบาล 2,381 คน 56.46%)โดยสำรวจระหว่างวันที่ 10 - 14 พฤษภาคม 2549
สรุปผลได้ดังนี้
1. “ความสนใจ” ความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยหลังจากศาลให้เลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
อันดับที่ 1 สนใจความเคลื่อนไหวทางการเมืองเหมือนเดิม 48.26%
เพราะ การเมืองก็ยังมีความขัดแย้งเหมือนเดิม,ยังคงมีการเล่นเกมการเมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
อันดับที่ 2 สนใจความเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น 45.79%
เพราะ สื่อนำเสนอหลากหลาย,จะมีการเลือกตั้งใหม่จึงให้ความสนใจมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 สนใจความเคลื่อนไหวทางการเมืองน้อยลง 5.95%
เพราะ เบื่อการเมือง,การเมืองไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ
2. เปรียบเทียบความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” ก่อนและหลังจากศาลให้เลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
อันดับที่ 1 ความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” น้อยลง 47.31%
เพราะ มีแต่ความขัดแย้ง วุ่นวาย,มีแต่การฟ้องร้องกัน,เล่นเกมการเมืองมากเกินไป ฯลฯ
อันดับที่ 2 ความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” เหมือนเดิม 44.20%
เพราะ นักการเมืองก็คือนักการเมืองยังไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” เพิ่มขึ้น 8.49%
เพราะ มีการตรวจสอบของสังคมมากขึ้น ทำให้นักการเมืองต้องปฏิบัติตนให้ดี ฯลฯ
3. เปรียบเทียบ “สภาพทางการเมืองไทย” ในสายตาประชาชน ก่อนและหลังจากศาลให้เลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
3.1 สภาพทางการเมืองไทยที่อาจจะ “ดีขึ้น”
อันดับที่ 1 การตรวจสอบภาคประชาชนเข้มแข็งมากขึ้น 33.51%
อันดับที่ 2 นักการเมืองจะระมัดระวังในการปฏิบัติตนมากขึ้น 31.11%
อันดับที่ 3 ประชาชนตื่นตัว/ให้ความสนใจการเมืองมากขึ้น 18.19%
อันดับที่ 4 การเมืองไทยจะเป็นระบบมากขึ้น/มีการตรวจสอบมากขึ้น 9.84%
* อื่นๆเช่น สื่อมวลชนเป็นที่พึ่งทางการเมืองแก่ประชาชนมากขึ้น ฯลฯ 7.35%
3.2 สภาพทางการเมืองไทยที่อาจจะ “แย่ลง”
อันดับที่ 1 การเอาชนะคะค้าน/การต่อสู้ทางการเมืองจะรุนแรงขึ้น 23.57%
อันดับที่ 2 มีกลวิธีทางการเมืองสลับซับซ้อนตรวจสอบยากขึ้น 21.39%
อันดับที่ 3 เล่นเกมการเมือง/โจมตีกล่าวหาฟ้องร้องมากขึ้น 19.30%
อันดับที่ 4 การเมืองร้อนแรงต้องแก้ปัญหามากขึ้น 16.62%
อันดับที่ 5 สภาพทางการเมืองบดบังปัญหาสังคมทำให้สังคมแย่ลง 12.12%
* อื่นๆเช่น มีแต่การแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง ฯลฯ 7.00%
4. ความคาดหวังของประชาชนต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะมีขึ้นหลังจากศาลให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
อันดับที่ 1 ไม่อยากคาดหวัง 61.82%
เพราะ (1) คงจะเหมือนๆ เดิม เพราะนักการเมืองก็ยังคงเป็นกลุ่มเดิม ยังคงมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
(2) กลวิธีการหาเสียง ซื้อเสียงคงจะสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้พ้นการตรวจสอบขององค์กรต่างๆ
อันดับที่ 2 คาดหวังว่าจะดีขึ้น 32.58%
เพราะ (1) การเลือกตั้งน่าจะบริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น เพราะมีการตรวจสอบจากศาล สื่อมวลชนและปะชาชน
(2) ประชาชนจะตัดสินใจเลือก ส.ส.รอบคอบมากขึ้น เพราะมีบทเรียนจากการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมาที่มีแต่ความวุ่นวาย
อันดับที่ 3 เฉยๆ 5.60%
เพราะ เบื่อการเมือง,มีแต่ความวุ่นวาย ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ภายหลังจากศาลมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. ที่ผ่านมา “มิชอบ” ทำให้กระแสการเมืองไทยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้าง
ขวาง และมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน โดยเน้น
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่ว
ประเทศ โดยสุ่มกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นตัวแทน 16 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,217 คน (ผู้พักอาศัยในเขตเมืองหรือเทศบาล
1,836 คน 43.54% ผู้พักอาศัยในเขตชนบทหรือนอกเขตเทศบาล 2,381 คน 56.46%)โดยสำรวจระหว่างวันที่ 10 - 14 พฤษภาคม 2549
สรุปผลได้ดังนี้
1. “ความสนใจ” ความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยหลังจากศาลให้เลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
อันดับที่ 1 สนใจความเคลื่อนไหวทางการเมืองเหมือนเดิม 48.26%
เพราะ การเมืองก็ยังมีความขัดแย้งเหมือนเดิม,ยังคงมีการเล่นเกมการเมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
อันดับที่ 2 สนใจความเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น 45.79%
เพราะ สื่อนำเสนอหลากหลาย,จะมีการเลือกตั้งใหม่จึงให้ความสนใจมากขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 สนใจความเคลื่อนไหวทางการเมืองน้อยลง 5.95%
เพราะ เบื่อการเมือง,การเมืองไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ
2. เปรียบเทียบความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” ก่อนและหลังจากศาลให้เลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
อันดับที่ 1 ความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” น้อยลง 47.31%
เพราะ มีแต่ความขัดแย้ง วุ่นวาย,มีแต่การฟ้องร้องกัน,เล่นเกมการเมืองมากเกินไป ฯลฯ
อันดับที่ 2 ความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” เหมือนเดิม 44.20%
เพราะ นักการเมืองก็คือนักการเมืองยังไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 3 ความเชื่อมั่น/ศรัทธาต่อ “นักการเมือง” เพิ่มขึ้น 8.49%
เพราะ มีการตรวจสอบของสังคมมากขึ้น ทำให้นักการเมืองต้องปฏิบัติตนให้ดี ฯลฯ
3. เปรียบเทียบ “สภาพทางการเมืองไทย” ในสายตาประชาชน ก่อนและหลังจากศาลให้เลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
3.1 สภาพทางการเมืองไทยที่อาจจะ “ดีขึ้น”
อันดับที่ 1 การตรวจสอบภาคประชาชนเข้มแข็งมากขึ้น 33.51%
อันดับที่ 2 นักการเมืองจะระมัดระวังในการปฏิบัติตนมากขึ้น 31.11%
อันดับที่ 3 ประชาชนตื่นตัว/ให้ความสนใจการเมืองมากขึ้น 18.19%
อันดับที่ 4 การเมืองไทยจะเป็นระบบมากขึ้น/มีการตรวจสอบมากขึ้น 9.84%
* อื่นๆเช่น สื่อมวลชนเป็นที่พึ่งทางการเมืองแก่ประชาชนมากขึ้น ฯลฯ 7.35%
3.2 สภาพทางการเมืองไทยที่อาจจะ “แย่ลง”
อันดับที่ 1 การเอาชนะคะค้าน/การต่อสู้ทางการเมืองจะรุนแรงขึ้น 23.57%
อันดับที่ 2 มีกลวิธีทางการเมืองสลับซับซ้อนตรวจสอบยากขึ้น 21.39%
อันดับที่ 3 เล่นเกมการเมือง/โจมตีกล่าวหาฟ้องร้องมากขึ้น 19.30%
อันดับที่ 4 การเมืองร้อนแรงต้องแก้ปัญหามากขึ้น 16.62%
อันดับที่ 5 สภาพทางการเมืองบดบังปัญหาสังคมทำให้สังคมแย่ลง 12.12%
* อื่นๆเช่น มีแต่การแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง ฯลฯ 7.00%
4. ความคาดหวังของประชาชนต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะมีขึ้นหลังจากศาลให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. มิชอบ
อันดับที่ 1 ไม่อยากคาดหวัง 61.82%
เพราะ (1) คงจะเหมือนๆ เดิม เพราะนักการเมืองก็ยังคงเป็นกลุ่มเดิม ยังคงมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
(2) กลวิธีการหาเสียง ซื้อเสียงคงจะสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้พ้นการตรวจสอบขององค์กรต่างๆ
อันดับที่ 2 คาดหวังว่าจะดีขึ้น 32.58%
เพราะ (1) การเลือกตั้งน่าจะบริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น เพราะมีการตรวจสอบจากศาล สื่อมวลชนและปะชาชน
(2) ประชาชนจะตัดสินใจเลือก ส.ส.รอบคอบมากขึ้น เพราะมีบทเรียนจากการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมาที่มีแต่ความวุ่นวาย
อันดับที่ 3 เฉยๆ 5.60%
เพราะ เบื่อการเมือง,มีแต่ความวุ่นวาย ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-