จากเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงและการปราบปรามของรัฐบาล ไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว 92.59%
เนื่องจากในวันครอบครัวที่ผ่านมาต้องเจอกับปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง และท่ามกลางสถานการณ์ที่มีแต่ความขัดแย้ง ครอบครัวจึง ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญที่สร้างความเข้มแข็งและช่วยลดปัญหาความขัดแย้งลงได้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต ได้สำรวจความคิด เห็นของสมาชิกในครอบครัวไทยทั่วประเทศเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณา กรณี “ครอบครัวไทย” ในยุคสังคมแห่งความขัดแย้ง จำนวน 1,419 คน ระหว่างวันที่ 14-16 เมษายน 2552 สรุปผลสำรวจได้ดังนี้
อันดับ 1 ไม่แตกต่าง 62.96%
เพราะ ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วุ่นวายของบ้านเมืองเหมือนกัน,พิจารณาจากข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอ, อยากเห็นการเมืองไทย ดีขึ้น เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ฯลฯ
อันดับ 2 แตกต่าง 37.04%
สิ่งที่แตกต่าง คือ ความคิดเห็นและมุมมองเกี่ยวกับการเมืองไม่เหมือนกัน,ต่างคนต่างชื่นชอบพรรคการเมือง สีเสื้อ และ
นักการเมืองไม่เหมือนกัน ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่แตกต่าง 74.08%
เพราะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเดือดร้อนให้บ้านเมืองอย่างมาก ,อยากให้การชุมนุมประท้วงหมดสิ้นโดยเร็ว ฯลฯ
อันดับ 2 แตกต่าง 25.92%
สิ่งที่แตกต่าง คือ บ้างก็มองว่าเป็นสิทธิส่วนตัวที่สามารถทำได้ ,คิดว่าอาจมีมือที่ 3 เข้ามาสร้างความปั่นป่วนให้กับผู้ชุมนุม, วิธีใน
การสลายการชุมนุม ,การกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ,ท่าทีของรัฐบาล ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่แตกต่าง 70.37%
เพราะ รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาได้ดีแล้ว, สิ่งที่ทำเป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับทุกอย่าง, มีความอดทน ใจเย็น ฯลฯ
อันดับ 2 แตกต่าง 29.63%
สิ่งที่แตกต่าง คือ มองว่ารัฐบาลมีอำนาจและมีกำลังในมือสามารถทำอะไรกับประชาชนก็ได้, ทำรุนแรงเกินไป, เห็นใจผู้ชุมนุม ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่มีผล 92.59%
เพราะ ไม่นำเรื่องการเมืองเข้ามาคุยในบ้าน, คุยกันด้วยเหตุผลมากกว่า, ทำให้คนในครอบครัวรักกันเป็นห่วงกันมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2 มีผล 7.41%
คือ ทำให้มีปากเสียงกันบ่อยขึ้นเมื่อพูดคุยเรื่องการเมือง, ชอบคนละฝ่าย คนละสี, รู้สึกไม่พอใจกับคำวิพากษ์วิจารณ์ ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--