** กรณีการลอบสังหาร “นายสนธิ ลิ้มทองกุล” ประชาชนเชื่อว่า เกี่ยวข้องกับการเมือง ถึง 80.64 % **
จากเหตุการณ์ที่มีคนร้ายลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล โดยการใช้อาวุธสงคราม จนทำให้คนขับรถได้รับบาดเจ็บสาหัสและนายสนธิ ลิ้ม ทองกุล ต้องเข้ารับผ่าตัดจนปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยมีการตั้งประเด็นทั้งเรื่องการเมือง และเรื่องส่วนตัว เพื่อ สะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,358 คน ตั้งแต่วันที่ 17-19 เมษายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 มีสาเหตุมาจากเรื่องการเมือง 51.25 % อันดับ 2 เป็นได้ทั้งจากเรื่องการเมืองและเรื่องส่วนตัว 31.46 % อันดับ 3 เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่สามารถรอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้มาได้ 10.37 % อันดับ 4 ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในช่วงที่บ้านเมืองกำลังเข้าสู่ภาวะปกติ 6.92 % 2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับ “การเมือง” หรือไม่? อันดับ 1 เกี่ยวข้องกับการเมือง 80.64 %
เพราะ เป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตร / ต้องการสร้างสถานการณ์ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลจับอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร มาดำเนินคดี ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 16.13 %
เพราะ อาจมีศัตรูทั้งทางธุรกิจและทางการเมือง / ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง 3.23 %
เพราะ อาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัว/ไม่ทราบข้อมูล-สาเหตุที่แท้จริง ฯลฯ
อันดับ 1 ส่งผลให้การเมืองไทยร้อนแรง 57.15 %
เพราะ อาจเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร/ทำให้กลุ่มพันธมิตรออกมากดดันรัฐบาลเพื่อหาผู้กระทำผิด ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 25.71%
เพราะ ยังต้องรอผลการสอบสวน/ยังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จึงไม่น่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ส่งผลให้การเมืองไทยร้อนแรง 17.14 %
เพราะ ยังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินอยู่/สถานการณ์ที่ผ่านมาร้อนแรงมากพออยู่แล้ว/ หลักฐาน
และมูลเหตุการลอบสังหารยังไม่ชัดเจน ฯลฯ
อันดับ 1 สภาพจิตใจของผู้ที่กระทำมีความโหดเหี้ยม ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง 35.42 % อันดับ 2 สังคมไทยมีความขัดแย้ง มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน 27.08 % อันดับ 3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนลดน้อยลง 18.75 % อันดับ 4 มีการใช้ความรุนแรงเข้ามาตัดสินปัญหามากกว่าการใช้เหตุผล 10.42 % อันดับ 5 มาตรการที่ใช้ควบคุมอาวุธร้ายแรง/อาวุธสงครามหย่อนยาน 8.33 % 5. แนวทาง/วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว อันดับ 1 ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ 48.39 % อันดับ 2 รณรงค์และสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชาติ 25.81 % อันดับ 3 จับตัวผู้กระทำความผิดเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย 12.90 % อันดับ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดูและควบคุมการครอบครองอาวุธอย่างเข้มงวด 9.67 % อันดับ 5 คงแก้ไขได้ยากเพราะบ้านเมืองมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย 3.23 %
--สวนดุสิตโพล--