วันที่ 19 เมษายนนี้ จะมีการเลือกตั้ง ส.ว. นับว่าเป็นการเลือกบุคคลที่จะเข้าไปทำหน้าที่ กลั่นกรองกฏหมายและแต่งตั้งถอดถอนผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นกรณี การเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง ส.ว. ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,682 คน (กรุงเทพฯ 1,213 คน 25.91% ต่างจังหวัด 3,469 คน 74.09%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 1 — 16 เมษายน 2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนรู้หรือไม่ว่า เลือก ส.ว. เพื่อไปทำหน้าที่อะไร?
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 42.54% 45.06% 43.80%
เพราะ คิดว่าทำหน้าที่คล้ายกับ ส.ส. ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่รู้ 19.46% 43.12% 31.29%
เพราะ ไม่ค่อยได้สนใจบทบาทหน้าที่ของ ส.ว. รู้แต่ว่าเป็นนักการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 3 รู้ 38.00% 11.82% 24.91%
เพราะ สนใจโดยรู้ว่าทำหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย ฯลฯ
2. ประชาชนเห็นว่า การเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ มีการหาเสียงมากกว่าการแนะนำตัวหรือไม่?
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 52.60% 63.97% 58.29%
เพราะ มีหัวคะแนนมาบอกให้เลือกคล้ายๆกับ ส.ส. , มีการแจกเงิน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 26.96% 21.07% 24.02%
เพราะ ก็เหมือนกับการหาเสียงของ ส.ส.,มีการแนะนำให้ไปเลือกคนนั้นคนนี้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 20.44% 14.96% 17.69%
เพราะ ได้รับแค่ใบแนะนำตัวเท่านั้น,ไม่มีการตั้งเวทีหาเสียง ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่าการเลือก ส.ว. ครั้งนี้มีการแจกเงินหรือไม่?
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 38.99% 66.76% 52.88%
เพราะ ได้รับเงินจากหัวคะแนน 100 — 500 บาท,สัญญาจะให้เงินเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 42.95% 25.68% 34.32%
เพราะ ฟังมาจากเพื่อนบ้าน ญาติเล่าให้ฟัง,ไม่เจอกับตัวเอง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 18.06% 7.56% 12.80%
เพราะ มีการตรวจตรากันเข้มข้น,กลัวใบแดง ฯลฯ
4. สาเหตุที่ทำให้ประชาชน ไปใช้สิทธิ์เลือก ส.ว. ในครั้งนี้
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นหน้าที่ที่ต้องไปมิฉะนั้นจะเสียสิทธิ์ 38.17% 27.79% 32.98%
อันดับที่ 2 อยากได้คนดีเข้าไปในสภา / ทำให้การเมืองดีขึ้น 26.30% 18.22% 22.26%
อันดับที่ 3 อยากได้คนกลางเข้าไปคานอำนาจระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน 17.39% 15.11% 16.25%
อันดับที่ 4 ต้องไปเลือกคนที่รู้จัก / คนที่หัวคะแนน ญาติ เพื่อนแนะนำ 8.49% 23.55% 16.02%
อันดับที่ 5 ไปเลือกเพราะครั้งที่แล้วไม่ได้เลือก ส.ส.จะได้มีสิทธิ์กลับคืนมา 7.75% 9.11% 8.43%
* อื่นๆ เช่น คนในบ้านชวนไป,ญาติ เพื่อนชวนไป,ไม่อยากนอนหลับทับสิทธิ์ ฯลฯ 1.90% 6.22% 4.06%
5. ปัจจัยอะไร? ที่ทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือก ส.ว.
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นคนดี มีชื่อเสียง มีประสบการณ์ 33.88% 35.23% 34.56%
อันดับที่ 2 เป็นคนที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง 29.60% 17.96% 23.78%
อันดับที่ 3 เป็นกลาง ไม่เข้าข้างพรรคการเมืองใด 25.56% 14.79% 20.18%
อันดับที่ 4 มีคนแนะนำ / ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.แนะนำ 8.49% 28.37% 18.43%
*อื่นๆ เช่น ดูประวัติที่แนะนำตัว,ชอบเป็นการส่วนตัว,รู้จักคนที่สมัครฯลฯ 2.47% 3.65% 3.05%
6. ประชาชนมีคนที่จะเลือก ส.ว. อยู่ในใจหรือยัง
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีอยู่แล้ว 61.50% 58.32% 59.91%
เพราะ ชอบอยู่แล้ว,ตัดสินใจแล้ว,มีคนแนะนำให้เลือก ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังไม่มี 36.37% 29.66% 33.02%
เพราะ ยังตัดสินใจไม่ได้ มีหลายคนอยู่ในใจ,ยังไม่รู้จะเลือกใคร,ไม่รู้ว่ามีใครสมัครบ้างฯลฯ
* ไม่ตอบ 2.13% 12.02% 7.07%
--สวนดุสิตโพล--
-กภ-
1. ประชาชนรู้หรือไม่ว่า เลือก ส.ว. เพื่อไปทำหน้าที่อะไร?
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 42.54% 45.06% 43.80%
เพราะ คิดว่าทำหน้าที่คล้ายกับ ส.ส. ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่รู้ 19.46% 43.12% 31.29%
เพราะ ไม่ค่อยได้สนใจบทบาทหน้าที่ของ ส.ว. รู้แต่ว่าเป็นนักการเมือง ฯลฯ
อันดับที่ 3 รู้ 38.00% 11.82% 24.91%
เพราะ สนใจโดยรู้ว่าทำหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย ฯลฯ
2. ประชาชนเห็นว่า การเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ มีการหาเสียงมากกว่าการแนะนำตัวหรือไม่?
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 52.60% 63.97% 58.29%
เพราะ มีหัวคะแนนมาบอกให้เลือกคล้ายๆกับ ส.ส. , มีการแจกเงิน ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 26.96% 21.07% 24.02%
เพราะ ก็เหมือนกับการหาเสียงของ ส.ส.,มีการแนะนำให้ไปเลือกคนนั้นคนนี้ ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 20.44% 14.96% 17.69%
เพราะ ได้รับแค่ใบแนะนำตัวเท่านั้น,ไม่มีการตั้งเวทีหาเสียง ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่าการเลือก ส.ว. ครั้งนี้มีการแจกเงินหรือไม่?
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 มี 38.99% 66.76% 52.88%
เพราะ ได้รับเงินจากหัวคะแนน 100 — 500 บาท,สัญญาจะให้เงินเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 42.95% 25.68% 34.32%
เพราะ ฟังมาจากเพื่อนบ้าน ญาติเล่าให้ฟัง,ไม่เจอกับตัวเอง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่มี 18.06% 7.56% 12.80%
เพราะ มีการตรวจตรากันเข้มข้น,กลัวใบแดง ฯลฯ
4. สาเหตุที่ทำให้ประชาชน ไปใช้สิทธิ์เลือก ส.ว. ในครั้งนี้
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นหน้าที่ที่ต้องไปมิฉะนั้นจะเสียสิทธิ์ 38.17% 27.79% 32.98%
อันดับที่ 2 อยากได้คนดีเข้าไปในสภา / ทำให้การเมืองดีขึ้น 26.30% 18.22% 22.26%
อันดับที่ 3 อยากได้คนกลางเข้าไปคานอำนาจระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน 17.39% 15.11% 16.25%
อันดับที่ 4 ต้องไปเลือกคนที่รู้จัก / คนที่หัวคะแนน ญาติ เพื่อนแนะนำ 8.49% 23.55% 16.02%
อันดับที่ 5 ไปเลือกเพราะครั้งที่แล้วไม่ได้เลือก ส.ส.จะได้มีสิทธิ์กลับคืนมา 7.75% 9.11% 8.43%
* อื่นๆ เช่น คนในบ้านชวนไป,ญาติ เพื่อนชวนไป,ไม่อยากนอนหลับทับสิทธิ์ ฯลฯ 1.90% 6.22% 4.06%
5. ปัจจัยอะไร? ที่ทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือก ส.ว.
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นคนดี มีชื่อเสียง มีประสบการณ์ 33.88% 35.23% 34.56%
อันดับที่ 2 เป็นคนที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง 29.60% 17.96% 23.78%
อันดับที่ 3 เป็นกลาง ไม่เข้าข้างพรรคการเมืองใด 25.56% 14.79% 20.18%
อันดับที่ 4 มีคนแนะนำ / ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.แนะนำ 8.49% 28.37% 18.43%
*อื่นๆ เช่น ดูประวัติที่แนะนำตัว,ชอบเป็นการส่วนตัว,รู้จักคนที่สมัครฯลฯ 2.47% 3.65% 3.05%
6. ประชาชนมีคนที่จะเลือก ส.ว. อยู่ในใจหรือยัง
ความคิดเห็น กทม. ตจว. ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีอยู่แล้ว 61.50% 58.32% 59.91%
เพราะ ชอบอยู่แล้ว,ตัดสินใจแล้ว,มีคนแนะนำให้เลือก ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังไม่มี 36.37% 29.66% 33.02%
เพราะ ยังตัดสินใจไม่ได้ มีหลายคนอยู่ในใจ,ยังไม่รู้จะเลือกใคร,ไม่รู้ว่ามีใครสมัครบ้างฯลฯ
* ไม่ตอบ 2.13% 12.02% 7.07%
--สวนดุสิตโพล--
-กภ-