ประชาชนเห็นว่าประชุมร่วม 2 สภา “ไม่สำเร็จ” ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ 68.52%
จากที่รัฐบาลขอให้มีการเปิดอภิปรายการประชุมร่วมของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 โดยไม่ลงมติเกี่ยวกับการบริหารราชการ แผ่นดิน เรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและตอบข้อสงสัย กรณีการสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤติของบ้านเมืองที่ประสบอยู่ขณะนี้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็น ของประชาชนทั่วประเทศที่สนใจติดตามชมการอภิปรายทางสื่อต่างๆ กรณี : ประเมินผลการอภิปรายในการประชุมร่วม 2 สภา จำนวน 1,020 คน สำรวจวันที่ 24 เมษายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ไม่สำเร็จ 68.52%
เพราะ ยังคงมีความคิดเห็นที่ขัดแย้ง ไม่ตรงกันเหมือนเดิม ,ต่างฝ่ายต่างนำหลักฐานมาแสดงเพื่อชี้ให้เห็นถึงความ
ผิดพลาดของกันและกัน ,มีแต่การเอาชะคะคานกัน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 23.38%
เพราะ หลังจากการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังไม่เห็นข้อสรุปที่จะนำมาสู่ความสมานฉันท์,การสมานฉันท์ต้องอาศัยความ
ร่วมมือจากทุกคนไม่ใช่เฉพาะเพียงบางคนเท่านั้น ,การอภิปรายครั้งนี้เหมือนเป็นการหาตัวผู้กระทำผิดมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 3 คิดว่าสำเร็จ 8.10%
เพราะ รัฐบาลแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆให้จบสิ้นโดยเร็ว ,นายกฯอภิสิทธิ์เป็นผู้ที่มีความใจกว้าง
พอ น่าจะอะลุ้มอล่วยกันได้ ,เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายอยากเห็นบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่คุ้มค่า 41.29%
เพราะ อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลายมากขึ้น ,เหมือนเป็นการขุดคุ้ยมากกว่า ,ต่างฝ่ายต่างยังคงมีทิฐิกันอยู่ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 30.85%
เพราะ ต้องรอดูสถานการณ์ไปอีกสักระยะ ,คอยดูท่าทีของแกนนำของทั้ง 2 ฝ่าย ฯลฯ
อันดับ 3 คุ้มค่า 27.86%
เพราะ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลข้อเท็จจริงมากขึ้น ,เป็นการเปิดโอกาสให้ส.ส.อีกหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นต่อ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น , อาจเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ฯลฯ
อันดับ 1 ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น 43.05% อันดับ 2 ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ชี้แจงข้อมูล /เหตุผลของแต่ละฝ่าย 32.17% อันดับ 3 มีการนำภาพถ่าย /ภาพวิดีโอ มาใช้ในการอภิปรายครั้งนี้ 15.92% อันดับ 4 เป็นการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองให้ดีขึ้น 8.86% 4. จุดด้อย /ข้อเสีย ของการเปิดอภิปรายในครั้งนี้ คือ อันดับ 1 มีแต่การกล่าวหากันไปมามากเกินไป /ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น 46.15% อันดับ 2 เหมือนเป็นการสร้างความขัดแย้งให้รุนแรงมากขึ้น 20.88% อันดับ 3 ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดอภิปรายในครั้งนี้ 18.68% อันดับ 4 ทำให้เห็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมของนักการเมืองบางคน 14.29% 5. ความคาดหวังของประชาชนต่อการเปิดอภิปรายในครั้งนี้มีผลทำให้การเมืองไทยเป็นอย่างไร? อันดับ 1 เหมือนเดิม 44.46%
เพราะ ต่างฝ่ายต่างมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ,มีนโยบาย แนวการทำงานที่แตกต่างกัน ฯลฯ
อันดับ 2 ดีขึ้น 22.61%
เพราะ เป็นการกระตุ้นให้นักการเมืองปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 20.34%
เพราะ ยังไม่มีความชัดเจนทางการเมือง นอกจากการประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ฯลฯ
อันดับ 4 แย่ลง 12.59%
เพราะ ทำให้เกิดความแตกแยก แบ่งพรรคแบ่งฝ่ายเหมือนเดิม ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--