จากสถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวายจนก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม ทำให้ต้องมีการจัดตั้งกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและ แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยหวังว่าจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้งในปัจจุบัน และมีแนวทางที่จะบรรเทาปัญหาให้ลดลงได้ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,414 คน ระหว่างวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2552 สรุป ผลการสำรวจได้ดังนี้
(1.1) “วิธีการ” ที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ คือ
อันดับ 1 ลดทิฐิ หันหน้าเข้าหากัน เคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 48.38% อันดับ 2 ความร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันทำงานเพื่อประเทศชาติ 27.43% อันดับ 3 การวางตัวเป็นกลางโดยพิจารณาเรื่องต่างๆอย่างมีสติ 24.19%
(1.2) “ใคร” ที่จะทำให้ความสมานฉันท์ทางการเมืองเกิดขึ้นได้เป็นรูปธรรม
อันดับ 1 นักการเมือง 58.33% อันดับ 2 รัฐบาล 26.38% อันดับ 3 ประชาชนทุกคน 15.29%
(1.3) “คณะกรรมการ” ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นควรทำอย่างไร ?เพื่อให้เกิดการสมานฉันท์
อันดับ 1 มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน 62.50% อันดับ 2 มีความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 25.16% อันดับ 3 รับฟังความคิดเห็น ความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ 12.34% 2. การปฏิรูปการเมือง
(2.1) “วิธีการ” ปฏิรูปการเมือง คือ
อันดับ 1 เผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองให้ทุกคนได้ทราบ 52.94% อันดับ 2 สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักการเมือง /การเป็นนักการเมืองที่ดี 29.41% อันดับ 3 ศึกษาผลดี ผลเสีย /เหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมาและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน 17.65%
(2.2) “ใคร” ที่จะทำให้การปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นได้เป็นรูปธรรม
อันดับ 1 ประชาชนทุกคน 51.28% อันดับ 2 นักการเมือง 28.21% อันดับ 3 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 20.51%
(2.3) “คณะกรรมการ” ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อการปฏิรูปการเมืองควรทำอย่างไร ?
อันดับ 1 มีความเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย 62.06% อันดับ 2 รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและนำมาพิจารณากลั่นกรองอย่างละเอียด 20.69% อันดับ 3 ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักการเมืองให้เป็นนักการเมืองที่ดี /ทำให้การเมืองไทยเข้มแข็งมากขึ้น 17.25% 3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
(3.1) “วิธีการ” ที่จะสามารถช่วยให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จได้ คือ
อันดับ 1 ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน 45.16% อันดับ 2 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมหรือมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น 32.25% อันดับ 3 ศึกษาข้อดี ข้อเสีย /ระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาช่วยแก้ไข 22.59%
(3.2) “ใคร” ที่จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้เป็นรูปธรรม
อันดับ 1 ประชาชนทุกคน 54.05% อันดับ 2 นักการเมือง /สว. /สส. 24.32% อันดับ 3 ศาลรัฐธรรมนูญ 21.63%
(3.3) “คณะกรรมการ” ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญควรทำอย่างไร ?
อันดับ 1 รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน 41.47% อันดับ 2 มีการศึกษา วิจัย หาเหตุและผลที่ทำให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมาย 37.50% อันดับ 3 มีความซื่อสัตย์ จริงใจในการทำงาน 21.03%
--สวนดุสิตโพล--