จากเหตุการณ์บ้านเมืองหลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องล้วนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นการเมืองไทย เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ ต่างๆให้เป็นบทเรียนและเป็นข้อมูลในการสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ระดมความคิดเห็น ของประชาชนทุกสาขาอาชีพ โดยสุ่มกระจายจากตัวแทน 32 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,297 คน ระหว่างวันที่ 1-9 พฤษภาคม 2552 สรุป ผลได้ดังนี้
อันดับ 1 การแก้ไขเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 31.45% อันดับ 2 การเปิดอภิปรายและนำปัญหาการเมืองเข้าสู่สภา 24.11% อันดับ 3 การจัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ /ปฏิรูปการเมือง 18.38% อันดับ 4 การรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ความรุนแรง 16.47% อันดับ 5 การเผยแพร่ข่าวสารต่างๆทั้งจากสื่อมวลชนและรัฐบาลให้ประชาชนได้รับรู้ เช่น รายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์" 9.59% 2. “5 เหตุการณ์” ที่ทำให้ความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทย “ลดลง” อันดับ 1 การลอบสังหาร นายสนธิ ลิ้มทองกุล น่าจะทำให้การเมืองรุนแรงมากขึ้น 38.37% อันดับ 2 การโจมตี ตอบโต้ ทะเลาะ ชิงดีชิงเด่นไม่ยอมกันของนักการเมืองแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่าย 31.63% อันดับ 3 การแบ่งฝ่ายของประชาชนแต่ละกลุ่มโดยมีนักการเมืองหนุนหลัง 17.08% อันดับ 4 การชุมนุมประท้วงที่ยังคงมีต่อเนื่อง 9.86% อันดับ 5 ข่าวการวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะทางลบของสื่อมวลชนบางสำนักข่าว 3.06% 3. “ใคร?” จะเป็นผู้ที่ทำให้การเชื่อมั่นการเมืองไทยเพิ่มมากขึ้น อันดับ 1 นักการเมือง 28.87%
โดย เลิกทะเลาะกัน,ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างการสมานฉันท์ที่ดี ,เลิกคอรัปชั่น ฯลฯ
อันดับ 2 กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง 25.20%
โดย การยุติการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง ,เลิกแบ่งสีแบ่งพวก ,หยุดโจมตีให้ร้ายกัน ฯลฯ
อันดับ 3 สื่อมวลชน 16.71%
โดย หยุดเสนอข่าวที่ไม่เป็นกลางหรือข่าวที่สนับสนุนแต่ละกลุ่ม ,ให้มีความยุติธรรม ฯลฯ
อันดับ 4 รัฐบาล 15.26%
โดย ต้องเร่งความสมานฉันท์ ,เร่งทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ,หยุดเล่นเกมการเมือง ฯลฯ
อันดับ 5 คณะกรรมการสมานฉันท์ 13.96%
โดย การปฏิรูปการเมือง ,เร่งทำงานอย่างรวดเร็ว จริงจังให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--