จากเหตุการณ์สลดเด็กชาย ป.6 กระโดดอาคารเรียนชั้น 6 ซึ่งเป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์เสียชีวิตอนาถ เบื้องต้นสันนิษฐานว่า น้อยใจที่ถูกพ่อตำหนิที่ชอบมาเล่นเกมคอมพิวเตอร์ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชน ที่มีอายุระหว่าง 8-16 ปี จำนวน 1,242 คน ต่อกรณีดังกล่าว เพื่อสะท้อนแนวคิดของเด็กและเยาวชนที่มีต่อการเล่นเกม ระหว่างวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2552 สรุปผลการสำรวจ ได้ดังนี้
อันดับ 1 ประมาณเดือนละ1-3 ครั้ง 54.77% อันดับ 2 เล่นแทบทุกวัน 21.59% อันดับ 3 ไม่ค่อยได้เล่น 13.40% อันดับ 4 เล่นทุกวัน 10.24% 2 . การเล่นเกมในสายตาของเด็กและเยาวชนเห็นว่ามีความสำคัญมากน้อยเพียงใด? อันดับ 1 มีความสำคัญน้อย 56.05%
เพราะ ทำให้เสียการเรียน ,เล่นเพื่อความสนุกสนานไม่ได้เล่นเป็นจริงเป็นจัง ,พ่อแม่ สั่งไม่ให้เล่นหรือเล่นได้
แต่อย่านาน ,มีกิจกรรมอย่างอื่นที่ต้องทำมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 2 พอสมควร 38.46%
เพราะ ไว้เล่นแก้เหงาหรือช่วงวันหยุดอยู่บ้าน, สามารถเล่นคนเดียวได้ ,เกมมีหลายประเภทที่ให้เลือกเล่น ,บาง เกมก็มีประโยชน์แก่ผู้เล่น ช่วยให้เกิดทักษะ ความจำ ฯลฯ
อันดับ 3 มีความสำคัญมาก 5.49%
เพราะ ทำให้สนุกสนาน เพลิดเพลิน ,เล่นเกมมานานแล้ว , การเล่นเกมเป็นสิ่งที่คู่กับเด็กทุกคน ,เกมใหม่ๆที่
น่าสนใจมีออกมาให้เล่นอยู่เรื่อยๆ ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่มีผลอะไร 39.61% อันดับ 2 พยายามทำอย่างอื่นแทน เช่น อ่านการ์ตูน ดูทีวี ฟังเพลง 23.87% อันดับ 3 โทรคุยกับเพื่อน /ออกไปเที่ยวกับเพื่อน 17.34% อันดับ 4 รู้สึกหงุดหงิด เบื่อ อยากเล่นเกม 12.08% อันดับ 5 ถามเพื่อนว่าตอนนี้เล่นเกมถึงด่านไหนแล้ว /เป็นยังไงบ้าง 7.10% 4 . เด็กและเยาวชนเห็นว่าถ้าพ่อแม่ และครู จะบอกให้หยุดเล่นเกมน่าจะใช้วิธีการหรือคำพูดดังนี้ อันดับ 1 ถ้าอยากเป็นเด็กดี ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ และคุณครู 43.82% อันดับ 2 พูดด้วยเหตุผล ไม่โกรธ ไม่ดุ 19.10% อันดับ 3 เล่นเกมมากเกินไปทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สายตา สมอง 15.73% อันดับ 4 ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ /จะถูกตัดค่าขนม 14.61% อันดับ 5 หากิจกรรมอื่นทำแทน เช่น พาไปเที่ยว เล่นกีฬา ออกกำลังกาย 6.74% 5 . ความคิดเห็นต่อข่าวเด็ก ป.6 กระโดดตึกฆ่าตัวตายเพราะน้อยใจพ่อดุเรื่องเล่นเกม อันดับ 1 เป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง /ทำให้พ่อแม่ต้องเสียใจ 36.10% อันดับ 2 รู้สึก เศร้าใจ เสียใจกับพ่อแม่ของเด็ก 28.51% อันดับ 3 เป็นห่วงเพื่อนๆ น้องๆที่อยู่ในวัยเรียนและชอบเล่นเกม 25.26% อันดับ 4 เป็นคนที่ใจกล้ามาก /เรื่องที่ทำเป็นเรื่องที่น่าหวาดเสียว 5.95% อันดับ 5 ยังไม่เชื่อกับข่าวที่ออกมาว่ามีสาเหตุจากการเล่นเกม /อยากรู้สาเหตุที่แท้จริงว่ามาจากเรื่องอะไร 4.18% 6 . ควรหาวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้อีก อันดับ 1 พ่อแม่ต้องดูแลและให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูกอย่างใกล้ชิด 44.63% อันดับ 2 อยากให้พ่อแม่เข้าใจในตัวลูก / ค่อยๆพูด ค่อยๆสอน 30.37% อันดับ 3 ถ้าลูกอยากทำอะไรก็ให้ลองทำดู แต่ก็มีการแนะนำหรือตักเตือนบ้าง 15.18% อันดับ 4 หากิจกรรมอย่างอื่นให้ลูกทำ เช่น เล่นกีฬา ไปเที่ยว เรียนพิเศษ 6.53% อันดับ 5 ไม่ให้ลูกอยู่คนเดียว /อยู่ตามสถานที่ต่างๆคนเดียว 3.29%
--สวนดุสิตโพล--