"สวนดุสิตโพล” ร่วมกับ “กรมประชาสัมพันธ์” และ“รายการก่อนตัดสินใจ” จัดเสวนาสื่อมวลชนเพื่อความมั่นคงและความสมานฉันท์ของ คนในชาติ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “สื่อ” อย่างไร? สร้างสรรค์ สมานฉันท์ของคนในชาติ โดย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจ ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สื่อมวลชน ข้าราชการ และประชาชนในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,312 คน เพื่อสะท้อนความ คิดเห็นและเป็นข้อมูลนำเสนอต่อสื่อมวลชนทั้งด้านบทบาท หน้าที่ ประโยชน์และแนวทางในการเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2552 สรุปผลสำรวจได้ดังนี้
อันดับ การติดตามข่าวสาร ภาพรวม 1 ติดตามเป็นประจำทุกวัน 68.43% 2 ติดตามเป็นบางวัน 26.85% 3 ไม่ค่อยได้ติดตาม 4.32% 4 แล้วแต่โอกาส/ขึ้นอยู่กับความสะดวก 0.40% 2. “สื่อใด?” ที่ประชาชนนิยมติดตามข้อมูลข่าวสารมากที่สุด อันดับ สื่อที่นิยม ภาพรวม 1 โทรทัศน์ 26.82% 2 หนังสือพิมพ์ 21.69% 3 วิทยุ 18.50% 4 อินเตอร์เน็ต 18.06% 5 เคเบิล 8.33% 6 ดาวเทียม 5.54% 7 SMS ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ, แผ่นพับ 1.06% 3. “ข่าว” ประเภทใด? ที่ประชาชนสนใจติดตามมากที่สุด อันดับ ข่าวที่สนใจ ภาพรวม 1 การเมือง 19.21% 2 เศรษฐกิจ 17.23% 3 สังคม 14.59% 4 บันเทิง 12.69% 5 อาชญากรรม 10.69% 6 กีฬา 9.73% 7 เกษตร 7.17% 8 การศึกษา 4.95% * อื่นๆ เช่น วัฒนธรรม, ท่องเที่ยว, ท้องถิ่น 3.74% 4. จากสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน “บทบาท” สื่อมวลชนมีส่วนทำให้บ้านเมือง“ดีขึ้น” หรือ “แย่ลง”
ภาพรวม
อันดับ 1 ดีขึ้น 40.79%
เพราะ ทำให้ประชาชนรับทราบข้อมูลต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น ,สื่อมวลชนสามารถเกาะติดสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
ได้อย่างรวดเร็ว , สื่อมวลชนมีหน้าที่ตรวจสอบหาความจริงคอยตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง ฯลฯ
อันดับ 2 เหมือนเดิม 30.78%
เพราะ สื่อมวลชนมีหน้าที่นำเสนอข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ,ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในข้อมูลนั้นๆ
ที่จะนำเสนอ, นักการเมืองมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของบ้านเมืองมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 28.43%
เพราะ การนำเสนอข้อมูลหรือภาพข่าวต่างๆอาจทำให้ประชาชนรู้สึกสับสนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้การตีความ
เป็นไปในทางลบได้ ,บางครั้งข่าวเรื่องเดียวกันแต่สื่อสารออกมาต่างกัน, เสนอข่าวเชิงลบมากกว่าเชิงบวก ฯลฯ
ภาพรวม
อันดับ 1 เป็นประโยชน์ 55.14%
เพราะ ผู้ที่ติดตามข่าวสารหรือนักลงทุนสามารถประเมินสถานการณ์หรือตัดสินใจได้ว่าควรทำอย่างไรต่อไป ,หากเนื้อหาที่นำ
เสนอเป็นเรื่องสร้างสรรค์ก่อให้เกิดผลดีกับประเทศชาติ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 33.76%
เพราะ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของข่าวและวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ ,ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวเป็นสิ่งสำคัญ
ผู้สื่อข่าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูลให้เป็นไปตามความเป็นจริง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เป็นประโยชน์ 11.10%
เพราะ บ้านเมืองจะพัฒนาขึ้นอยู่กับประชาชนทุกคน ,ควรมุ่งเน้นไปเรื่องการศึกษามากกว่า, หากผู้นำประเทศดีนักการเมืองดี
ประเทศชาติก็เจริญ ฯลฯ
ภาพรวม
อันดับ 1 มีผล 73.67%
เพราะ การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชน ,มีส่วนกระตุ้นให้สังคมมีความคิดเห็นไปตามกระแส
ที่เกิดขึ้น , การนำเสนอข่าวที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ช่วยลดความขัดแย้งในสังคมได้ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 21.55%
เพราะ สื่อในปัจจุบันเป็นของคนบางกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาทำให้การเสนอข่าวเอนเอียง , การนำเสนอของสื่อในบางครั้งจะปล่อยให้
ประชาชนเป็นผู้คิดเองในตอนท้าย โดยไม่มีข้อสรุป, สื่อมวลชนเองก็มีการแบ่งแยกแบ่งกลุ่ม ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่มีผล 4.78%
เพราะ ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของคนในชาติ หากคนไทยขาดความรักความสามัคคีก็ไม่มีทางที่จะเกิดความสมานฉันท์ขึ้นได้, ขึ้นอยู่กับ
ความเข้มแข็งของคนในสังคม และวิจารณญาณของแต่ละคน ฯลฯ
อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม 1 เนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 33.21% 2 เนื้อหาสาระที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติ 24.91% 3 เนื้อหาสาระที่เป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 20.78% 4 เนื้อหาสาระที่เป็นข้อเท็จจริงไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัว 14.91% 5 เนื้อหาสาระเป็นเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ 6.19% 8. “สื่อของรัฐ” ควรมีบทบาทในการสร้างความสมานฉันท์อย่างไร ? อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม 1 เป็นเวทีให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ตรงไปตรงมา 32.99% 2 รณรงค์ให้คนในชาติ มีความรักความสามัคคี 25.04% 3 ไม่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการหาประโยชน์ทางการเมือง 19.76% 4 นำเสนอข้อมูลรอบด้าน 16.13% 5 ไม่นำเสนอเฉพาะข่าวของรัฐบาล 6.08% 9. “สื่อของภาคเอกชน” ควรมีบทบาทในการสร้างความสมานฉันท์อย่างไร ? อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม 1 เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อบ้านเมือง 42.47% 2 เป็นสิ่งที่ควรจะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข 23.83% 3 ไม่ใช้ความคิดเห็นของสื่อเองเป็นหลัก 13.67% 4 ช่วยประชาสัมพันธ์ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน 11.58% 5 ต้องไม่คำนึงถึงผลกำไร 8.45% 10. “สื่อมวลชน” ควรสื่อสารอย่างไร ? ที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม 1 นำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริง ตรงไปตรงมา 47.11% 2 เรื่องที่นำเสนอเป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ 33.52% 3 ไม่นำความคิดเห็นส่วนตัวมาชี้นำหรือนำเสนอ 19.37% 11. “รัฐบาล” ควรสื่อสารอย่างไร ? ที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม 1 สื่อสารจากข้อมูลที่เป็นจริง /ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆให้ประชาชนรับทราบ 50.34% 2 ใช้คำพูดที่สุภาพ ไม่เสียดสี หรือโจมตีฝ่ายตรงข้าม 39.21% 3 หาตัวแทนที่มีวาทศิลป์ในการพูดเป็นผู้สื่อสาร 10.45% 12. “ฝ่ายค้าน” ควรสื่อสารอย่างไร ? ที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม 1 พูดตามความเป็นจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล 52.05% 2 สื่อสารด้วยเหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์มาพูดกัน 24.10% 3 ใช้คำพูดที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 23.85% 13. “ประชาชน” ควรสื่อสารอย่างไร ? ที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ อันดับ ความคิดเห็น ภาพรวม 1 สื่อสารด้วยความเข้าใจ ไม่เติมแต่งเรื่องราวหรือพูดยุยง 55.89% 2 พูดในทางที่สร้างสรรค์ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม 30.42% 3 พูดจาน่าฟัง แสดงความเป็นมิตรกับทุกคน 11.35% * อื่นๆ เช่นฟังและเชื่ออย่างมีเหตุผล,รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น 2.34%
--สวนดุสิตโพล--