จากภาวะ “ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ” ดูจะเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรโดยตรง เพื่อแสวงหาแนว ทางการแก้ไขของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็ฝากความหวังไว้กับรัฐบาล “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วม กับ “รายการก่อนตัดสินใจ” จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯและเกษตรกรที่อยู่ต่างจังหวัด ต่อนโยบายของรัฐบาลใน การแก้ไขปัญหาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ จำนวนทั้งสิ้น 1,062 คน ระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ค่อนข้างรุนแรง 50.85% อันดับ 2 รุนแรงมาก 41.24% อันดับ 3 ไม่ค่อยรุนแรง 6.78% อันดับ 4 ไม่รุนแรง 1.13% 2. ประชาชนคิดว่าสาเหตุที่ทำให้ราคาผลผลิตการเกษตรมีปัญหา คือ อันดับ 1 ต้นทุนการผลิตสูง (ค่าปุ๋ย/ยาฆ่าแมลง/การขนส่ง ฯลฯ) 31.85% อันดับ 2 ขายสินค้าไม่ได้เพราะเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจของโลกตกต่ำ 23.89% อันดับ 3 ขาดการวางแผนด้านการผลิตที่เหมาะสม 17.19% อันดับ 4 รัฐบาล /หน่วยงานภาครัฐแก้ปัญหาไม่ตรงจุด 15.61% อันดับ 5 ผลผลิตล้นตลาด 11.46% 3. ความคิดเห็นของประชาชนกับแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านมาโดยใช้วิธีการ “รับจำนำ” ผลผลิตการเกษตร อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 38.98%
เพราะ เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ,ทำให้เกิดการแทรกแซงทางราคา ,เป็นช่องทางหาผลประโยชน์ของ พ่อค้าบางคน อาจมีการฮั้วกันเอง ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 33.90%
เพราะ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังลำบากให้มีโอกาสในการทำผลผลิตต่อไป ,ช่วยชะลอการขาย ผลผลิตในช่วงที่ราคาตกต่ำหรือขายไม่ได้ ,ทำให้เกษตรกรมีเงินไปใช้จ่ายในการทำเกษตรต่อไป และมีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 27.12%
เพราะ ผลผลิตบางอย่างอาจไม่เหมาะแก่การรับจำนำเพราะสินค้าเกษตรบางชนิดไม่สามารถเก็บไว้นานๆ ได้ ,อาจมีการจำกัดจำนวนผลผลิตที่รับจำนำเพราะจะต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีอยู่ ฯลฯ
อันดับ 1 เห็นด้วย 68.93%
เพราะ ทำให้เกษตรกรมีหลักประกันที่แน่นอนเมื่อมีผลผลิตออกมา ,ราคาที่ขายได้มีความเป็นธรรมมาก ขึ้น ,ไม่ทำให้เสียเปรียบหรือขาดทุนจนเกินไป ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 20.90%
เพราะ อาจช่วยเกษตรกรได้เพียงบางกลุ่ม ,ขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าจะพอใจกับราคาที่ได้หรือไม่ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 10.17%
เพราะ ราคาผลผลิตการเกษตรในปัจจุบันถูกกว่าเมื่ออดีตที่ผ่านมา ,ถ้าเงินประกันราคาน้อยไปจะทำให้ไม่ คุ้มกับต้นทุนที่เสียไป ,เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ฯลฯ
การเกษตร” ประชาชนเข้าใจความหมายของทั้ง 2 คำ มากน้อยเพียงใด
อันดับ 1 พอเข้าใจ 54.24% อันดับ 2 เข้าใจ 37.85% อันดับ 3 ไม่เข้าใจ 7.91% 6. ระหว่าง 2 วิธี ได้แก่ “การรับจำนำผลผลิตการเกษตร” และ “การประกันราคาผลผลิต
การเกษตร” ประชาชนคิดว่าวิธีใดที่ใช้งบประมาณมากกว่ากัน
อันดับ 1 พอๆกัน 35.43% อันดับ 2 การรับจำนำผลผลิตการเกษตรมากกว่า 33.71% อันดับ 3 การประกันราคาผลผลิตการเกษตรมากกว่า 30.86% 7. “การประกันราคาผลผลิตการเกษตร” แทน“การรับจำนำผลผลิตการเกษตร” จะช่วยให้ เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้นหรือไม่ ? อันดับ 1 ช่วยได้ 59.32%
เพราะ เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่ต้องกังวลกับราคาในท้องตลาด , ทำให้ไม่ เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ,ทางรัฐบาลน่าจะมีการวางแผนไว้เป็นอย่างดี ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 34.46%
เพราะ ขึ้นอยู่กับกระบวนการพิจารณาของรัฐบาล , ผลผลิตของเกษตรกรแต่ละรายมีคุณภาพและ ปริมาณที่ผลิตได้แตกต่างกัน ,ควรมีการตรวจสอบต้นทุน ราคาอย่างละเอียด ฯลฯ
อันดับ 3 ช่วยไม่ได้ 6.22%
เพราะ สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย ,ประชาชนมีการอุปโภคบริโภคลดลง ,การส่งออกประสบ ปัญหาอย่างมาก ฯลฯ
อันดับ 1 ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย (ค่าปุ๋ย/ยาฆ่าแมลง/การขนส่ง ฯลฯ) 30.15% อันดับ 2 เร่งหาตลาดสินค้าแหล่งใหม่ทั้งในและต่างประเทศ 25.07% อันดับ 3 จัดสถานที่ให้เกษตรกรขายผลผลิตโดยตรงต่อผู้บริโภค 24.78% อันดับ 4 นำไปแปรรูป เพิ่มมูลค่าให้สินค้าขายได้มากขึ้น 20.00% 9. รัฐบาลควรมีแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำในระยะยาว คือ อันดับ 1 วางแผนการตลาดล่วงหน้าทั้งในและต่างประเทศ 34.41% อันดับ 2 ส่งเสริมการวิจัยเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร 28.94% อันดับ 3 กำหนดปริมาณผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละชนิดให้ชัดเจน 19.29% อันดับ 4 กำหนดแผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่ในละภาคของประเทศใหม่ 17.36%
--สวนดุสิตโพล--