สวนดุสิตโพลล์: ความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินสะท้อนผ่าน

ข่าวผลสำรวจ Monday June 22, 2009 07:30 —สวนดุสิตโพล

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยสุ่มกระจายจาก 36 จังหวัดทุกภูมิภาค จำนวน 3,867 คน (กรุงเทพฯ 1,210 คน 31.29% ต่างจังหวัด 2,657 คน 68.71%) ถึงกรณีความรุนแรงต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน สะท้อนผ่าน “ข่าวอาชญากรรม” ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อหาสาเหตุ แนวทางป้องกันและแก้ไข อันเป็นฐานข้อมูล (Database) ที่เป็น ประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาของสังคม โดยสำรวจระหว่างวันที่ 10-20 มิถุนายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินในวันนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในทัศนะของประชาชน
อันดับ 1          มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเกิดบ่อยครั้งขึ้น                      47.84%
อันดับ 2          มีความรุนแรงหนักขึ้นกว่าเดิมมาก                          26.35%
อันดับ 3          มีความโหดร้าย ทารุณและเหี้ยมโหดมากขึ้น                   10.78%
อันดับ 4          สาเหตุของความรุนแรงเกิดขึ้นง่าย โดยมีสาเหตุเพียงเล็กน้อย      9.21%

ก็มีความรุนแรงหนัก ไม่สมเหตุสมผล

อันดับ 5          มีความสลับซับซ้อน ซ่อนหลักฐานมากกว่าแต่ก่อน                 5.82%

2. สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินในวันนี้
อันดับ 1          ความบีบคั้นทางสังคมและเศรษฐกิจ                                 29.97%
อันดับ 2          ขาดสติ จิตสำนึก ขาดการอบรมสั่งสอนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง            26.76%
อันดับ 3          อบายมุข โดยเฉพาะยาเสพติดและสิ่งมอมเมาต่างๆ                     23.97%
อันดับ 4          สภาพสังคมที่เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ ฉ้อโกง เอาตัวรอด ขาดน้ำใจ     13.21%
อันดับ 5          การแก่งแย่ง แข่งขัน หลงใหลในวัตถุนิยม                             6.09%

3. “ข่าวอาชญากรรม” ในวันนี้ที่สะท้อนความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินซึ่งประชาชนรับไม่ได้
อันดับ 1          ลูกฆ่าพ่อแม่                                                  34.37%
อันดับ 2          ฆ่าข่มขืน                                                    28.26%
อันดับ 3          ฆ่า /ทำร้ายด้วยวิธีการทารุณ โหดร้ายผิดมนุษย์                        20.12%
อันดับ 4          ปล้น ฆ่า /ชิงทรัพย์แล้วฆ่า แม้จะได้ทรัพย์เพียงเล็กน้อยก็ฆ่า               12.05%
อันดับ 5          ล่วงละเมิดทางเพศต่อคนในครอบครัว /ผิดศีลธรรมทางเพศอย่างรุนแรงใน     5.20%

ครอบครัวหรือเครือญาติ

4. สิ่งที่ประชาชน “กลัว” ถ้าเหตุการณ์อาชญากรรมและความรุนแรงนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 1          กลัวจะเกิดความรุนแรงและโหดร้ายเพิ่มมากขึ้น                              41.79%
อันดับ 2          กลัวภัยจะมาถึงตนเองและญาติพี่น้อง                                      40.24%
อันดับ 3          กลัวว่าทุกคนในสังคมเห็นความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ชินชา โดยเฉพาะเยาวชน       10.84%
อันดับ 4          กลัวเป็นปัญหาหมักหมมที่แก้ไขยาก ทำให้สังคมไม่มีความสุข                       3.78%
อันดับ 5          กลัวลุกลาม เป็นภัยสังคมที่กระทบต่อความสงบสุขของประเทศ                     3.35%

5. วิธีการแก้ไขความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน
อันดับ 1          ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันสอดส่องดูแล ป้องกันและช่วยแก้ไข                          42.44%
อันดับ 2          เจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องกวดขัน เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎหมาย       26.12%

อย่างเคร่งครัด

อันดับ 3          เน้นการอบรมปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัยของพ่อแม่ ผู้ปกครองและครู                     15.93%
อันดับ 4          ควรใช้ศาสนาทุกศาสนาที่ประชาชนนับถืออบรมจิตใจ                             10.01%
อันดับ 5          ควรรณรงค์ในความมีน้ำใจ สร้างความรัก สามัคคี โดยรัฐบาลและหน่วยงาน            5.50%

ที่เกี่ยวข้องต้องกระทำอย่างจริงจัง

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ