การบริหารประเทศของรัฐบาลภายใต้พรรคร่วมรัฐบาลที่มี “ประชาธิปัตย์” เป็นแกนนำและมีพรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวม ใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนาร่วมบริหารประเทศมาครบ 6 เดือน แต่ก็มีกระแสความขัดแย้งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อสะท้อน ข้อมูลเชิงลึก “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยสุ่มกระจายจาก 42 จังหวัด จำนวน 5,639 คน(กทม. 1,753 คน 31.09% ตจว. 3,886 คน 68.91%) สำรวจระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.-4 ก.ค. 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ผลประโยชน์ไม่ลงตัวก็ย่อมขัดแย้ง 38.32% อันดับ 2 เป็นการรวมตัวกันเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ เมื่อไม่ได้ดังใจก็ต้องขัดแย้งกัน 30.72% อันดับ 3 การมุ่งผลประโยชน์โดยเฉพาะฐานเสียงและประชานิยมที่หวังผลเลือกตั้งครั้งต่อไป 15.50%
ทำให้ขัดแย้งกัน
อันดับ 4 เป็นเรื่องธรรมดาที่ต่างคนต่างพรรค แม้พรรคเดียวกันยังขัดแย้งกัน 9.06% อันดับ 5 การมุ่งสร้างอำนาจให้แต่ละพรรคเติบโตย่อมทำให้ขัดแย้งกันได้ 6.40% 2. สิ่งใด/ปัจจัยใด? ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งใน “รัฐบาลผสม” ชุดนี้ อันดับ 1 ผลประโยชน์จากโครงการ/งานของกระทรวงที่ได้รับมอบหมายในแต่ละพรรค 35.34% อันดับ 2 ความหวาดระแวง สงสัย ไม่ไว้ใจกันในแต่ละพรรค 30.32% อันดับ 3 การให้สัมภาษณ์ วิพากษ์วิจารณ์ของแต่ละพรรค ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน 16.42% อันดับ 4 การสร้างฐานเสียง/ประชานิยมที่แต่ละพรรคเร่งเพื่อเตรียมการเลือกตั้งครั้งต่อไป 11.30% อันดับ 5 มองการได้เปรียบเสียเปรียบกันของแต่ละพรรค 6.62% 3. โครงการ/งานที่ทำให้เกิดความขัดแย้งใน “รัฐบาลผสม” ชุดนี้ อันดับ 1 โครงการเช่ารถเมล์ NGV 4,000 คัน 41.32% อันดับ 2 โครงการรับจำนำพืชผลเกษตรโดยเฉพาะข้าว ข้าวโพด 32.54% อันดับ 3 การจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกระทรวง 14.61% อันดับ 4 โครงการถนนปลอดฝุ่น 5.55% อันดับ 5 โครงการ/งานเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 5.28% * อื่นๆ เช่น โครงการหวยออนไลน์ ฯลฯ 0.70% 4. ปัจจัยอะไร?ที่ทำให้ “รัฐบาลผสม” ชุดนี้ขจัดความขัดแย้งได้ยาก อันดับ 1 การที่ต้องคอยประสานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกโดยเฉพาะ 44.41%
การประสานผลประโยชน์ของพรรคการเมืองแต่ละพรรคทำให้การตรวจสอบความ
โปร่งใสทำได้ยาก
อันดับ 2 อายุรัฐบาลไม่แน่นอนทำให้แต่ละพรรคต้องเร่งหาผลประโยชน์ เร่งสร้างประชานิยม 23.25%
สร้างฐานเสียงเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป
อันดับ 3 การโฟนอินของอดีตนายกฯทักษิณ ทำให้รัฐบาลไม่มั่นคง สร้างความหวาดระแวง 19.42%
ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเองและทำงานได้ไม่เต็มที่
อันดับ 4 การมาจากต่างพรรคแต่ละพรรคก็มีหลายมุ้ง แม้ภายในพรรคก็ขัดแย้ง 9.15% อันดับ 5 การชุมนุมประท้วงทั้งกลุ่มเสื้อแดง กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆรวมถึงกลุ่มประชาชนที่ 3.77%
เดือดร้อนทำให้ไม่มีเวลาในการแก้ความขัดแย้งระหว่างพรรค
อันดับ 1 แต่ละพรรคต้องคอยควบคุมสมาชิกในพรรคให้ทำงานอย่างโปร่งใส ไม่ขัดแย้งกัน 36.48%
ภายในพรรค
อันดับ 2 ลดการต่อรอง อย่ามุ่งผลประโยชน์ของพรรคจนลืมภาพรวมของรัฐบาล 34.81% อันดับ 3 ลดการแก่งแย่งฐานเสียง/ประชานิยม โดยชูพรรคตัวเองเป็นตัวตั้งเหยียบย่ำพรรค 14.75%
ร่วมรัฐบาลอื่น
อันดับ 4 ลดทิฐิในแต่ละพรรค ไม่วิพากษ์วิจารณ์พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน 10.23% อันดับ 5 ช่วยกันสร้างความเข้มแข็งในรัฐบาล เอื้ออาทรต่อพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน 3.73% 6. ลำดับความเชื่อมั่นของประชาชนใน “รัฐบาลผสม” ชุดนี้ (อันดับ 1 เชื่อมั่นมากที่สุด 2 3 4 5 รองลงมา) อันดับ 1 ประชาธิปัตย์ 43.68%
เพราะ เป็นพรรคแกนนำ ก่อตั้งมานาน มีอุดมการณ์ /ประสบการณ์มาก ฯลฯ
อันดับ 2 ชาติไทยพัฒนา 21.62%
เพราะ มีสมาชิกไม่มากนัก ไม่มีความขัดแย้งในพรรค ผลงานกระทรวงการท่องเที่ยวทำได้ดี มีการ
ต่อรองน้อย ฯลฯ
อันดับ 3 เพื่อแผ่นดิน 12.15%
เพราะ เป็นพรรคไม่ใหญ่ สามารถควบคุมสมาชิกพรรคได้ ฯลฯ
อันดับ 4 รวมใจไทย 11.45%
เพราะ เป็นพรรคเล็ก ไม่ค่อยมีปัญหาปรากฏเป็นข่าว ,สามารถควบคุมได้ ฯลฯ
อันดับ 5 ภูมิใจไทย 11.10%
เพราะ มีข่าวขัดแย้งบ่อยโดยเฉพาะกับพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นแกนนำ/คุมกระทรวงใหญ่มีการ
ต่อรองสูง ,โครงการรถเมล์ NGV ก็สร้างความขัดแย้ง ,มีหลายมุ้งในพรรค ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--