สวนดุสิตโพลล์: “อุดมศึกษา” กับ“ความสมานฉันท์ของชาติ”

ข่าวผลสำรวจ Monday July 13, 2009 07:51 —สวนดุสิตโพล

** ถ้า “สถาบันอุดมศึกษา” เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ให้กับชาติอย่างจริงจังน่าจะมีโอกาสสำเร็จกว่า 70% **

เนื่องในวันที่ 13 กรกฎาคม นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมทางวิชาการเครือข่ายอธิการบดีทั้งภาครัฐและ เอกชนทั่วประเทศ ปี 2552 ในหัวข้อ “อุดมศึกษากับความสมานฉันท์ของชาติ” ซึ่งในงานนี้ได้รับเกียรติจาก นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานเปิดงาน และเพื่อสะท้อนความคิดเห็นและเพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการสัมมนา “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป กลุ่มนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรที่ทำงานในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 2,048 คน (ประชาชน 1,113 คน 54.35% นักศึกษา 511 คน 24.95% อาจารย์และบุคลากร 424 คน 20.70% ) ระหว่างวันที่ 5 -11 กรกฎาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้

1. “5 เหตุผล” ที่ต้องการให้ “สถาบันอุดมศึกษา” เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง “ความสมานฉันท์ของชาติ”
อันดับ          ความคิดเห็น                                             ภาพรวม      ประชาชน     นักศึกษา    อาจารย์/บุคลากร
1          สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งที่ให้วิชาความรู้ เป็นแหล่ง
           ที่ผลิตบุคลากรเพื่อไปประกอบวิชาชีพต่างๆ                            23.57%      17.61%     24.65%       28.30%
2          สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง                21.37%      22.64%     21.92%       17.92%
3          นักศึกษาเป็นพลังบริสุทธิ์ ไม่หวังผลประโยชน์ใดๆ /เป็นปัญญาชน
           ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ /การศึกษาทำให้ไม่ถูกครอบงำได้ง่าย   19.61%      23.90%     23.29%       13.21%
4          สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือสังคม และการสร้างความ

สมานฉันท์ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม /เป็นเรื่องสำคัญของ

           ประเทศชาติที่ทุกฝ่ายควรให้ความร่วมมือ                             17.99%      20.13%     16.44%       14.15%
5          อาจารย์ และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้
           และได้รับความเคารพเชื่อถือจากประชาชนทั่วไป                       17.46%      15.72%     13.70%       26.42%

2. ข้อวิตกกังวล กรณีที่ “สถาบันอุดมศึกษา” จะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง “ความสมานฉันท์ของชาติ”
อันดับ          ความคิดเห็น                                             ภาพรวม    ประชาชน    นักศึกษา   อาจารย์/บุคลากร
1          อยากให้สถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่ในการให้วิชาความรู้แก่
           เยาวชนและประชาชนอย่างเต็มที่มากกว่า                           40.58%    38.19%     38.89%     45.59%
2          หากไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อาจถูกมองว่าไม่เป็นกลาง               35.87%    33.78%     37.04%     38.24%
3          กลัวว่าจะเกิดความรุนแรงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา   23.55%    28.03%     24.07%     16.17%

3.  “สถาบันอุดมศึกษา” สามารถมีส่วนร่วมในการสร้าง “ความสมานฉันท์ของชาติ” ได้อย่างไร?
อันดับ          ความคิดเห็น                                      ภาพรวม     ประชาชน    นักศึกษา   อาจารย์/บุคลากร
1          จัดประชุม/สัมมนาเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับ
           การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม                             23.14%    23.73%     17.07%      34.33%
2          สถาบันอุดมศึกษาสามารถเป็นสื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์
           และความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน                22.30%    27.12%     19.51%      13.43%
3          จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องความสมานฉันท์
           ให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป                           21.46%    18.64%     24.39%      23.88%
4          จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์/รณรงค์สร้างความสมานฉันท์โดยมีอาจารย์
           หรือนักศึกษาเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว                         17.63%    16.10%     23.17%      10.45%
5          สถาบันอุดมศึกษาต้องเข้าถึงประชาชนโดยตรงเพื่อรับฟังหรือ
           แลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามสถานการณ์จริง                    15.47%    14.41%     15.86%      17.91%

4. กิจกรรม /วิธีใด? ที่จะช่วยให้เกิด “ความสมานฉันท์” อย่างเป็นรูปธรรม
อันดับ          ความคิดเห็น                                               ภาพรวม   ประชาชน   นักศึกษา   อาจารย์/บุคลากร
1          จัดกิจกรรมรณรงค์ที่ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี โดยประชาชน
           เข้ามามีส่วนร่วมได้ในทุกกิจกรรม เช่น จัดการแข่งขันกีฬา /เดิน-วิ่ง ฯลฯ     27.34%    29.90%   28.30%      19.75%
2          ลงพื้นที่พบปะประชาชน โดยสัญจรไปทั่วทุกภาคของประเทศ/นำผู้ที่ได้รับการ

ยอมรับจากชุมชนหรือผู้นำชุมชนมาอบรมและสร้างความเข้าใจในเรื่อง

           ความสมานฉันท์เพื่อนำไปถ่ายทอดหรือบอกต่อแก่คนในชุมชน                 20.40%    20.62%   22.64%      14.81%
3          จัดการประชุมสัมมนาทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ หรือวิทยากร
           ที่เป็นนักวิชาการที่มีความเป็นกลางมาร่วม                             20.06%    21.65%   12.26%      34.57%
4          ทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น สัญลักษณ์หรือสิ่งของที่แสดงถึง
           ความสมานฉันท์ และเผยแพร่ทางสื่อหรือผ่านตัวบุคคล                     17.08%    13.40%   19.81%      18.52%
5          สร้างภาพยนตร์ หรือละครสั้นที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความสมานฉันท์
           และถ้าไม่มีความสมานฉันท์จะเกิดสิ่งใดตามมา                          15.12%    14.43%   16.99%      12.35%

5. หาก “สถาบันอุดมศึกษา” เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ โอกาสที่จะสำเร็จมีหรือไม่?
อันดับ          ความคิดเห็น            ภาพรวม        ประชาชน          นักศึกษา       อาจารย์/บุคลากร
1          มีโอกาสที่จะสำเร็จ          72.15%          70.38%          72.36%          76.32%

เพราะ สถาบันอุดมศึกษามีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก ,นักศึกษาเป็นพลังที่บริสุทธิ์และเป็นปัญญาชนที่มี

ความรู้ ,ได้รับการยอมรับจากสังคม เป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ,สถาบันอุดมศึกษามีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค,

ความสัมพันธ์ระหว่างอุดมศึกษากับท้องถิ่นเป็นไปด้วยดี ฯลฯ

2          ไม่มีโอกาสที่จะสำเร็จ        27.85%          29.62%          27.64%          23.68%

เพราะ ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ของบ้านเมืองว่าจะรับฟังและปฏิบัติตามหรือไม่ ,เป็นปัญหาที่สะสมมานาน คงจะแก้ไขได้ยาก,

ปัจจุบันคนในสังคมมีความแตกแยก และมีความขัดแย้งทางความคิดกันมาก ยากที่จะแก้ไข ฯลฯ

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ