จากที่กระทรวงสาธารณสุขกำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ( สสจ.) ทั่วประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วยและควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ ช่วง 3 เดือนนี้ รวมทั้งขอความร่วมมือไปยังสถานศึกษา สถานที่ราชการ โรงงาน หรือหน่วยงานอื่นๆ และสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์วิธีการป้องกัน ควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ให้ประชาชนเข้าใจ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน เขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในหัวข้อ สื่อสาร“ไข้หวัด 2009 ”อย่างไร? ให้มีประสิทธิภาพ จำนวนทั้งสิ้น 1,128 คน ระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 วิธีการป้องกันและการดูแลรักษา 49.76% อันดับ 2 อาการเบื้องต้น /การสังเกตอาการ 25.84% อันดับ 3 ลักษณะของการติดต่อ /การแพร่ระบาด 13.88% อันดับ 4 วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสชนิด AH1N1 5.74% อันดับ 5 ตัวเลขผู้ติดเชื้อ /ผู้เสียชีวิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ 4.78% 2. วิธีการใด? ที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไข้หวัด 2009 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อันดับ 1 เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ 66.30% อันดับ 2 เผยแพร่ลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ มือถือ ฯลฯ 11.51% อันดับ 3 เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขลงพื้นที่ไปยังสถานที่ราชการ หน่วยงานต่างๆด้วยตนเอง 7.95% อันดับ 4 จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการป้องกันโรคนี้ 7.67% อันดับ 5 แจกแผ่นพับ /โบชัวร์ /ใบปลิว /คู่มือ 6.57% 3. หากกระทรวงสาธารณสุขมีการรายงานความก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารต่างๆของไข้หวัด 2009 ระหว่างการแถลงข่าว “รายวัน” กับ “รายสัปดาห์” ประชาชนอยากให้มีการแถลงแบบใด? มากกว่ากัน อันดับ 1 อยากให้มีการแถลงรายวันมากกว่า 89.50%
เพราะ จะได้รู้ความคืบหน้าของโรคนี้อย่างต่อเนื่อง ทันเหตุการณ์ , เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรให้ความสำคัญเพราะจะต้อง ออกจากบ้านทุกวัน ,เป็นโรคระบาดที่มีความรุนแรง ฯลฯ
อันดับ 2 อยากให้มีการแถลงรายสัปดาห์มากกว่า 9.39%
เพราะ ทำให้ประชาชนไม่รู้สึกกังวลหรือตึงเครียดมากเกินไป ,น่าจะเห็นผล หรือตัวเลขต่างๆที่ชัดเจนกว่า เนื่องจากมีเวลาใน
การตรวจสอบข้อมูลมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่อยากให้มีการแถลง 1.11%
เพราะ ไม่ได้ช่วยให้เหตุการณ์ต่างๆดีขึ้นกลับเป็นการเพิ่มความกังวลและหวาดกลัวให้กับประชาชนมากกว่า ฯลฯ
อันดับ 1 พอรู้บ้าง 80.04% อันดับ 2 รู้เป็นอย่างดี 10.68% อันดับ 3 ไม่ค่อยมีความรู้ 7.18% อันดับ 4 ไม่มีความรู้เลย 2.10% 5. ผลกระทบที่ประชาชนได้รับโดยตรงจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด 2009 อันดับ 1 เกิดความวิตกกังวล กลัวติดเชื้อโรคเมื่อออกนอกบ้าน 35.07% อันดับ 2 ระมัดระวังสุขภาพมากขึ้น /ใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น 26.62% อันดับ 3 หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่มากหรือที่แออัด 18.18% อันดับ 4 สวมหน้ากากอนามัย 13.64% อันดับ 5 ต้องหยุดงานเพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่ทำงาน 6.49% 6. ความมั่นใจว่าจะไม่ติดโรคไข้หวัดเมื่อออกนอกบ้าน อันดับ 1 ไม่มั่นใจ 61.54%
เพราะ เราไม่อาจรู้ได้ว่าคนรอบข้างคนไหนที่ติดเชื้อหรือเป็นโรคนี้บ้าง ,เชื้อแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมากทางอากาศและการ หายใจ ,มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ฯลฯ
อันดับ 2 มั่นใจ 38.46%
เพราะ หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีคนมากๆ ,สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค ,ดูแลสุขภาพ ร่างกายเป็นอย่างดี ฯลฯ
อันดับ 1 มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม 42.05% อันดับ 2 รู้สึกดีที่ประชาชนตื่นตัวและให้ความร่วมมือ 30.11% อันดับ 3 ไม่แน่ใจว่าผู้ที่สวมหน้ากากเป็นผู้ติดเชื้อแล้วหรือไม่ 15.34% อันดับ 4 เฉยๆ ไม่รู้สึกว่าน่ากลัวอะไร 12.50% 8. ประชาชนกล้าสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่? อันดับ 1 กล้า 90.61% อันดับ 2 ไม่กล้า 9.39%
--สวนดุสิตโพล--