จากที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (มหาชน) จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชน ไม่ดื่มเหล้า ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ภายใต้โครงการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ซึ่งเป็นโครงการที่ สสส. ได้รณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง และในช่วงเทศกาล เข้าพรรษานี้ถือเป็นเทศกาลที่ดีงามทางพุทธศาสนาที่ชาวไทยให้ความสำคัญ ถือว่าเป็นการทำบุญกุศลและเป็นการเริ่มต้นทำสิ่งดี ๆ ให้กับตัวเอง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ” และ “รายการ ก่อนตัดสินใจ” จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั้งผู้ที่ดื่มและไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อ ทราบถึงการรับรู้และสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 1,315 คน ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 นานๆครั้ง 37.49% อันดับ 2 ดื่มเป็นบางครั้ง 28.59% อันดับ 3 ไม่ดื่มเลย 22.05% อันดับ 4 ดื่มเป็นประจำ 11.86% 2. สาเหตุที่ “ดื่ม” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันดับ 1 มีการสังสรรค์เป็นประจำ 47.34% อันดับ 2 เพื่อนชวนให้ดื่ม 18.51% อันดับ 3 เครียด 9.04% อันดับ 4 เมื่อมีโอกาสสำคัญๆ 8.11% อันดับ 5 อยากทดลอง 6.93% อันดับ 6 ไม่มีอะไรจะทำ 5.58% อันดับ 7 ทะเลาะกับคนในครอบครัว 4.48% 3. สาเหตุที่ “ไม่ดื่ม” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันดับ 1 เป็นการทำลายสุขภาพตัวเอง 31.88% อันดับ 2 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย 20.38% อันดับ 3 ผิดศีลห้า 17.60% อันดับ 4 ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ 16.03% อันดับ 5 ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ 14.11% 4. จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยมีผลให้ประชาชน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นหรือไม่? อันดับ 1 ไม่ส่งผลให้ดื่มเพิ่มขึ้น 73.68% อันดับ 2 ส่งผลให้ดื่มเพิ่มขึ้น 16.53% อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 9.79% 5. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ของ สสส. อันดับ 1 เห็นด้วย 74.17% อันดับ 2 เฉยๆ 20.91% อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 4.92% 6. สำหรับผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” สามารถลดการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ได้เป็นระยะเวลานานเพียงใด? อันดับ 1 งดได้ตลอด 3 เดือน 39.85% อันดับ 2 งดได้ตลอดไป 25.09% อันดับ 3 งดได้เฉพาะช่วงแรกๆ 19.19% อันดับ 4 งดได้เฉพาะบางโอกาส 15.87% 7. การงดเหล้าช่วงเข้าพรรษาทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมการดื่มลดลงหรือไม่? อันดับ 1 ลดลง 76.98%
เพราะ เป็นการทำความดี รักษาศีล ,เป็นช่วงที่มีการรณรงค์ให้งดดื่มเหล้า ,1 ปีมีครั้งเดียว ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ลดลง 23.02%
เพราะ ไม่ได้ดื่มเป็นประจำ ,ในการดื่มแต่ละครั้งไม่ได้มากมายอะไร ,ดื่มเฉพาะในโอกาสพิเศษ ฯลฯ
อันดับ 1 งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานสังสรรค์ทุกประเภทในช่วงเข้าพรรษา 37.68% อันดับ 2 ขอร้องให้คนในครอบครัวงดหรือเลิกดื่มเหล้า 20.71% อันดับ 3 เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลย 20.00% อันดับ 4 ไม่ได้เข้าร่วม 8.84% อันดับ 5 เป็นผู้นำจัดโครงการรณรงค์ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ 6.52% อันดับ 6 เข้าร่วมโครงการรณรงค์ของหน่วยงานต่างๆที่จัดขึ้น 6.25% 9. เหตุผลที่ประชาชนเข้าร่วมโครงการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ในปีนี้ อันดับ 1 เห็นความสำคัญของการรณรงค์ 20.79% อันดับ 2 ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 18.41% อันดับ 3 อยากเลิกเอง 16.04% อันดับ 4 ปัญหาสุขภาพ 14.48% อันดับ 5 รักษาศีลห้า 11.14% อันดับ 6 ปัญหาเศรษฐกิจ 10.02% อันดับ 7 คนในครอบครัวขอร้อง 9.13% 10. ตามที่โครงการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ดำเนินการมาแล้วหลายปีโดยปีนี้เป็นปีที่ 7 ในภาพรวมประชาชนคิดว่าการรณรงค์ได้ผลหรือไม่? อันดับ 1 ได้ผล 54.95%
เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือและหันมาเอาใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น ,มีตัวอย่าง
ให้เห็นจากการเกิดอุบัติเหตุมาแล้วหลายครั้ง ,เป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การรักษาศีล ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 23.89%
เพราะ ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลและการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ที่จริงจังและต่อเนื่อง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ได้ผล 21.16%
เพราะ จากข่าวที่นำเสนอพบว่ามีนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น ,อุบัติเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มี สาเหตุมาจากการเมาสุรา ,คนไทยขึ้นชื่อในเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(ศคล.) กล่าวว่าในเทศกาลเข้าพรรษาปีนี้เครือข่ายและ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ร่วมกับสวนดุสิตโพลและรายการ “ก่อนตัดสินใจ” ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 ได้สำรวจความ คิดเห็นของประชาชนเรื่อง “งดเหล้าเข้าพรรษา” ซึ่งผลการสำรวจพบว่าคนในวัย 41-50 ปี ดื่มเป็นประจำมากที่สุด รองลงมาคือคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่ที่น่าตกใจคือเยาวชนอายุ 10-20 ปี ดื่มเป็นประจำเป็นลำดับที่ 3 และพบคนที่จบชั้นประถมศึกษาดื่มเป็นประจำมากที่สุดถึงร้อยละ 39.13 รองลงมาคือคนที่จบสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 14.29 แสดงให้เห็นว่าแม้จะเรียนสูงก็ไม่ทำให้ดื่มน้อยลง พบว่าอาชีพเกษตรกรดื่มเป็นประจำ มากที่สุดร้อยละ 29.65 ตามมาด้วยอาชีพรับจ้าง ข้าราชการ ค้าขาย ส่วนนักเรียนนักศึกษาอยู่ในลำดับที่ 5 เมื่อจำแนกตามพื้นที่พบว่าคนต่าง จังหวัดดื่มเป็นประจำมากกว่าคนในกรุงเทพ คือ ร้อยละ 13.52 และ 9.23 ตามลำดับ
ผู้อำนวยการศคล.กล่าวเพิ่มเติมว่าปัญหาเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยถูกละเลยมานานทั้งๆที่เป็นสาเหตุความรุนแรงในสังคมทุกมิติ เช่น ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น 4 เท่า เด็กที่ทำผิดถูกควบคุมอยู่ในสถานพินิจเกินร้อยละ 50 ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนทำผิด ปัญหาอุบัติเหตุทำ ให้คนเสียชีวิตปีละ 13,000 ถึง 14,000 คน เฉลี่ยวันละ 40 ถึง 50 คน มากกว่าการเสียชีวิตเพราะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เสียอีก และครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุก็มาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“ปีนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว ที่เรารณรงค์โครงการ งดเหล้าเข้าพรรษา เชื่อว่าเม็ดเงินที่ได้จากการงดเหล้าเข้าพรรษาในช่วง 3 เดือน จะมี นับหมื่นล้านบาท แต่เงินที่ได้ก็ไม่เท่ากับความสุขในครอบครัวเพราะมีตัวเลขชี้ว่าคนที่ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ได้ทำให้ลูกเมียมีความสุข การ รณรงค์ในปีนี้จึงมีแนวคิดว่าให้ลูกชวนพ่อแม่เลิกเหล้าในช่วงเข้าพรรษาและถ้าเป็นไปได้ควรจะเลิกตลอดชีวิตไปเลย”นายสงกรานต์ กล่าว
--สวนดุสิตโพล--