สวนดุสิตโพลล์: "คนไทย” กับ “พลังงานราคาแพง”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 17, 2009 08:59 —สวนดุสิตโพล

ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงมาตรการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เสนอให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนอนุรักษ์พลังงานในส่วนของดีเซลลิตรละ 2 บาท พร้อมให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) และก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV) รวมถึงค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อ ลดภาระให้แก่ประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ “รายการก่อนตัดสินใจ” ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน ทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพฯปริมณฑลที่มีต่อมาตรการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,143 คน ระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้

1. ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากราคาน้ำมันในปัจจุบัน คือ
อันดับ 1          มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น                                 39.76%
อันดับ 2          ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย                              26.38%
อันดับ 3          หันมาใช้บริการสาธารณะมากขึ้น                       11.81%
อันดับ 4          ลดการใช้พลังงานทุกประเภทให้น้อยลง                  11.42%
อันดับ 5          ทำงานหนักมากขึ้น                                 10.63%

2. จงเรียงลำดับผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากพลังงานในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
อันดับ 1          ราคาน้ำมัน                                      49.06%
อันดับ 2          ราคาก๊าซ (NGV)                                 39.60%
อันดับ 3          ราคาแก๊สหุงต้ม ( LPG)                            10.08%
อันดับ 4          ราคาค่าไฟฟ้า                                     1.26%

3. จากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีมติให้ลดจำนวนเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และกองทุนอนุรักษ์พลังงาน  ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซล B2 ถูกลง 2 บาทต่อลิตร  และ  B5 ถูกลง
40 สตางค์ต่อลิตร  ประชาชนคิดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ?
อันดับ 1          ไม่แน่ใจ                                        39.02%

เพราะ เงินที่ส่งเข้ากองทุนนำออกมาใช้ประโยชน์ได้จริงมากน้อยเพียงใด , เป็นเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

อาจมีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนเพิ่มขึ้นเหมือนเดิม ฯลฯ

อันดับ 2          เหมาะสม                                       34.96%

เพราะ เป็นการช่วยเหลือประชาชนได้ทางหนึ่ง ,ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนได้มากขึ้น ,เป็นช่วงที่เศรษฐกิจ

ของประเทศกำลังย่ำแย่ ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่เหมาะสม                                     26.02%

เพราะ ควรลดราคาน้ำมันทุกประเภท ,ผู้ที่ใช้น้ำมันประเภทนี้มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด ฯลฯ

4. นอกเหนือจากการลดราคาน้ำมันดีเซลแล้ว คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติควรจะมี
มาตรการลดราคาน้ำมันเบนซินทุกประเภทหรือไม่ ?
อันดับ 1          ควรมีมาตรการลดราคาน้ำมันเบนซินทุกประเภท            75.40%
อันดับ 2          ไม่ควรมีมาตรการลดราคาน้ำมันเบนซินทุกประเภท          12.70%
อันดับ 3          ไม่แน่ใจ                                        11.90%

5. รัฐบาลควรใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเดิมเหมือนที่ผ่านมาเพื่อทำให้ราคาน้ำมันดีเซลและเบนซินถูกลงหรือไม่ ?
อันดับ 1          สมควร                                         59.68%

เพราะ ช่วยให้ต้นทุนของราคาน้ำมันถูกลงกว่าเดิม ,ผู้บริโภคมีกำลังในการใช้จ่ายอย่างสะดวกมากขึ้น ,

ส่งผลให้ราคาสินค้า /บริการถูกลง ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ                                        28.22%

เพราะ อาจเป็นเพียงมาตรการระยะสั้นหรือไม่สามารถทำได้จริงเนื่องจากมีปัจจัยอื่นแทรกแซง ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่สมควร                                       12.10%

เพราะ ทำให้ผู้บริโภคใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือย ไม่รู้จักการประหยัด ,ทำให้รัฐขาดรายได้ที่จะนำไปพัฒนาประเทศ ฯลฯ

6. มาตรการอื่นๆที่รัฐบาลควรมีนอกเหนือจากการลดจำนวนเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน
เพื่อทำให้ราคาน้ำมันดีเซลและเบนซินถูกลง
อันดับ 1          ผลักดันให้ลดค่าการตลาด                            53.54%
อันดับ 2          ผลักดันให้ลดค่าการกลั่น                             23.62%
อันดับ 3          ลดภาษีเทศบาลเพื่อบำรุงท้องถิ่น                       22.84%

7. ความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลที่มีนโยบายตรึงราคา แก๊ส LPG / ก๊าซ NGV และอัตราค่า
ไฟฟ้าผันแปร(ค่า FT) เป็นระยะเวลา  1  ปี
อันดับ 1          เห็นด้วย                                        58.26%

เพราะ เป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ,สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น , อีก 1 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจอาจเริ่มฟื้นตัวซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีกำลังในการใช้จ่ายมากขึ้น ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ                                        24.35%

เพราะ หลังจาก 1 ปี ไปแล้วไม่ทราบว่าสถานการณ์ต่างๆจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและพลังงาน ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่เห็นด้วย                                      17.39%

เพราะ ระยะเวลา 1 ปี น้อยเกินไป การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต้องอาศัยระยะเวลาที่นานกว่านี้ ,

เป็นการช่วยเหลือแค่เพียงบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น ฯลฯ

8. มาตรการอื่นๆในการแก้ปัญหาพลังงาน /น้ำมันราคาแพง คือ
อันดับ 1          เร่งผลักดันพลังงานทดแทนทุกประเภทอย่างเร่งด่วน         34.24%
อันดับ 2          รณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงาน                    33.15%
อันดับ 3          เร่งก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ                 27.17%
อันดับ 4          รัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง                         5.44%

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ