จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยืดเยื้อมานานและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววันนี้ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมา อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ฯลฯ สื่อมวลชนสามารถเป็นกระบอกเสียงและเป็นผู้สะท้อนภาพ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ผ่านการนำเสนอของสื่อมวลชนที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ “รายการก่อนตัดสินใจ” จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่มีต่อบทบาทสื่อมวลชน กับการแก้ไขปัญหาชายแดน ภาคใต้ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและเป็นฐานข้อมูลสำหรับสื่อมวลชนในการทำงานต่อไป จำนวนทั้งสิ้น 1,206 คน ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 46.60% อันดับ 2 ไม่เชื่อมั่น 17.28% อันดับ 3 ค่อนข้างเชื่อมั่น 15.71% อันดับ 4 ไม่แน่ใจ 15.18% อันดับ 5 เชื่อมั่นมาก 5.23% 2. สาเหตุที่ทำให้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ดีขึ้น เพราะ อันดับ 1 รัฐบาลไม่เอาจริงเอาจังในการแก้ไขปัญหา 33.45% อันดับ 2 ขาดความร่วมมือของคนทุกฝ่ายในสังคม 19.51% อันดับ 3 ขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ 13.24% อันดับ 4 นโยบายในการแก้ไขไม่เหมาะสม 12.89% อันดับ 5 การแทรกแซงหรือสนับสนุนจากต่างประเทศ 8.36% อันดับ 6 ขาดความเป็นเอกภาพทั้งด้านการทำงานและการข่าว 6.97% อันดับ 7 เจ้าหน้าที่และงบประมาณไม่เพียงพอ 5.23% อันดับ 8 การใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 0.35% 3. การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนมีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่? อันดับ 1 มีผลบ้าง 50.25% อันดับ 2 มีผลมาก 24.38% อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 21.89% อันดับ 4 ไม่มีผล 3.48% 4. การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบันต่อการนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันดับ 1 พอใช้ 54.23% อันดับ 2 ยังไม่ดี 25.37% อันดับ 3 ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว 20.40% 5. “สื่อของรัฐ” (ได้แก่ ช่อง 11 , ช่อง 9 และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ฯลฯ) ควรทำอย่างไร? เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ อันดับ 1 เปิดเวทีให้ประชาชนได้แสดงความเห็นมากขึ้น 30.18% อันดับ 2 เสนอข่าวในเชิงบวกมากขึ้น 25.23% อันดับ 3 ปรับผังรายการให้มีรายการเกี่ยวกับภาคใต้มากขึ้น 24.77% อันดับ 4 เสนอข่าวให้มากขึ้น 15.77% อันดับ 5 ไม่ชี้นำหรือเสนอข่าวแบบลำเอียง 4.05% 6. “สื่อของภาคเอกชน” ควรทำอย่างไร? เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ อันดับ 1 นำเสนอข่าวเชิงวิเคราะห์เจาะลึกให้มากขึ้น 26.79% อันดับ 2 ลดการเสนอข่าวความรุนแรงลง 19.64% อันดับ 3 นำเสนอข่าวในเชิงบวกมากขึ้น 18.75% อันดับ 4 นำเสนอข่าวให้รอบด้าน 17.86% อันดับ 5 รับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าผลกำไรทางธุรกิจ 16.07% อันดับ 6 ควรร่วมมือกับสื่อของรัฐด้วย 0.89% 7. ประชาชนอยากให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร? อันดับ 1 รายงานข่าวอย่างเป็นกลางและรอบด้าน 34.67% อันดับ 2 รายงานข่าวที่เป็นเสียงสะท้อนของคนในพื้นที่มากขึ้น 17.78% อันดับ 3 รายงานข่าวอย่างรวดเร็วฉับไว 15.10% อันดับ 4 รายงาข่าวโดยมีการวิเคราะห์เจาะลึก 14.67% อันดับ 5 รายงานข่าวที่เป็นด้านบวกให้มากขึ้น 9.78% อันดับ 6 รายงานความคืบหน้าของคดีสำคัญๆอย่างต่อเนื่อง 8.00% ติดตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดได้ใน “รายการก่อนตัดสินใจ” ทุกคืนวันเสาร์ 21.30-22.00 น. ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
--สวนดุสิตโพล--