เดือน เมษายน 2549 เป็นเดือนแห่งการเลือกตั้ง ทั้งการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. นับว่าเป็นบทเรียนประชาธิปไตยทางตรงของ
ประชาชน เพื่อสะท้อนข้อมูลการเลือกตั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเลือกตั้งในครั้งต่อไป “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,137 คน (กทม. 1,632 คน 39.45% ต่างจังหวัด 2,505
คน 60.55%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนให้ความสนใจต่อการเลือก ส.ส. กับ ส.ว. ต่างกันอย่างไร?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 ให้ความสนใจการเลือก ส.ส. มากกว่า ส.ว. 61.35%
เพราะ ส.ส.ใกล้ชิดประชาชนมากกว่า ส.ว., ส.ส.เข้าไปทำหน้าที่เพื่อประชาชนโดยตรง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ให้ความสนใจพอๆ กัน 25.07%
เพราะ เป็นหน้าที่ของประชาชน,เป็นตัวแทนของประชาชนทั้ง ส.ส. และ ส.ว.
อันดับที่ 3 ให้ความสนใจ ส.ว.มากกว่า ส.ส. 10.54%
เพราะ ได้เลือกคนที่มีความรู้ความสามารถ ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ให้ความสนใจทั้งการเลือก ส.ส. และ ส.ว. 3.04%
เพราะ เบื่อการเมือง, ไม่ชอบนักการเมือง, เบื่อการเลือกตั้ง ฯลฯ
2. ระหว่างการเลือก ส.ส. กับ ส.ว. การเลือกอะไรที่ตัดสินใจยากกว่ากัน
ภาพรวม
อันดับที่ 1 การเลือก ส.ว. ตัดสินใจยากกว่า ส.ส. 38.55%
เพราะ มีคนสมัครมากต้องเลือกเพียงคนเดียว, มีคนดีคนที่ชอบมาก, ส.ว. ไม่มีการหาเสียง จึงไม่ค่อยรู้ข้อมูล ฯลฯ
อันดับที่ 2 ตัดสินใจยากพอ ๆ กัน 29.32%
เพราะ มีการแข่งขันกันสูง/แข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตาย, ต้องพิจารณาให้ได้คนดี ฯลฯ
อันดับที่ 3 การเลือก ส.ส. ตัดสินใจยากกว่า ส.ว. 24.44%
เพราะ ต้องดูทั้งตัวคนและพรรคที่สังกัด ฯลฯ
อันดับที่ 4 ตัดสินใจง่ายทั้ง ส.ส. และ ส.ว. 7.69%
เพราะ ใช้เกณฑ์เลือกคนดีคนที่ชอบ, มีหัวคะแนนแนะนำทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ฯลฯ
3. ระหว่างการเลือก ส.ส. กับ ส.ว. การเลือกอะไรที่ซื้อเสียงมากกว่ากัน
ภาพรวม
อันดับที่ 1 การเลือก ส.ส. ซื้อเสียงมากกว่า 48.66%
เพราะ การเลือก ส.ส.มี หัวคะแนนแจกเงินทุกครั้ง, เลือก ส.ส. แจกเงินแพงกว่า ส.ว. ฯลฯ
อันดับที่ 2 ซื้อเสียงพอๆ กัน 38.84%
เพราะ มีการแจกเงินทั้ง 2 ฝ่าย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 12.50%
เพราะ ยังไม่เคยได้รับแจกเงิน ฯลฯ
4. สาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่อยากไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ภาพรวม
อันดับที่ 1 เลือกตั้งบ่อยเกินไป 51.41%
อันดับที่ 2 เบื่อการเมืองมีแต่เรื่องขัดแย้งกัน 26.47%
อันดับที่ 3 เลือกตั้งไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น 13.85%
อันดับที่ 4 นักการเมืองมีแต่กอบโกยผลประโยชน์ 5.68%
* อื่นๆ เช่น มีแต่การซื้อสิทธิขายเสียง, นักการเมืองชอบหลอกลวงประชาชน ฯลฯ 2.59%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
ประชาชน เพื่อสะท้อนข้อมูลการเลือกตั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเลือกตั้งในครั้งต่อไป “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,137 คน (กทม. 1,632 คน 39.45% ต่างจังหวัด 2,505
คน 60.55%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนให้ความสนใจต่อการเลือก ส.ส. กับ ส.ว. ต่างกันอย่างไร?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 ให้ความสนใจการเลือก ส.ส. มากกว่า ส.ว. 61.35%
เพราะ ส.ส.ใกล้ชิดประชาชนมากกว่า ส.ว., ส.ส.เข้าไปทำหน้าที่เพื่อประชาชนโดยตรง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ให้ความสนใจพอๆ กัน 25.07%
เพราะ เป็นหน้าที่ของประชาชน,เป็นตัวแทนของประชาชนทั้ง ส.ส. และ ส.ว.
อันดับที่ 3 ให้ความสนใจ ส.ว.มากกว่า ส.ส. 10.54%
เพราะ ได้เลือกคนที่มีความรู้ความสามารถ ฯลฯ
อันดับที่ 4 ไม่ให้ความสนใจทั้งการเลือก ส.ส. และ ส.ว. 3.04%
เพราะ เบื่อการเมือง, ไม่ชอบนักการเมือง, เบื่อการเลือกตั้ง ฯลฯ
2. ระหว่างการเลือก ส.ส. กับ ส.ว. การเลือกอะไรที่ตัดสินใจยากกว่ากัน
ภาพรวม
อันดับที่ 1 การเลือก ส.ว. ตัดสินใจยากกว่า ส.ส. 38.55%
เพราะ มีคนสมัครมากต้องเลือกเพียงคนเดียว, มีคนดีคนที่ชอบมาก, ส.ว. ไม่มีการหาเสียง จึงไม่ค่อยรู้ข้อมูล ฯลฯ
อันดับที่ 2 ตัดสินใจยากพอ ๆ กัน 29.32%
เพราะ มีการแข่งขันกันสูง/แข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตาย, ต้องพิจารณาให้ได้คนดี ฯลฯ
อันดับที่ 3 การเลือก ส.ส. ตัดสินใจยากกว่า ส.ว. 24.44%
เพราะ ต้องดูทั้งตัวคนและพรรคที่สังกัด ฯลฯ
อันดับที่ 4 ตัดสินใจง่ายทั้ง ส.ส. และ ส.ว. 7.69%
เพราะ ใช้เกณฑ์เลือกคนดีคนที่ชอบ, มีหัวคะแนนแนะนำทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ฯลฯ
3. ระหว่างการเลือก ส.ส. กับ ส.ว. การเลือกอะไรที่ซื้อเสียงมากกว่ากัน
ภาพรวม
อันดับที่ 1 การเลือก ส.ส. ซื้อเสียงมากกว่า 48.66%
เพราะ การเลือก ส.ส.มี หัวคะแนนแจกเงินทุกครั้ง, เลือก ส.ส. แจกเงินแพงกว่า ส.ว. ฯลฯ
อันดับที่ 2 ซื้อเสียงพอๆ กัน 38.84%
เพราะ มีการแจกเงินทั้ง 2 ฝ่าย ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 12.50%
เพราะ ยังไม่เคยได้รับแจกเงิน ฯลฯ
4. สาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่อยากไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ภาพรวม
อันดับที่ 1 เลือกตั้งบ่อยเกินไป 51.41%
อันดับที่ 2 เบื่อการเมืองมีแต่เรื่องขัดแย้งกัน 26.47%
อันดับที่ 3 เลือกตั้งไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น 13.85%
อันดับที่ 4 นักการเมืองมีแต่กอบโกยผลประโยชน์ 5.68%
* อื่นๆ เช่น มีแต่การซื้อสิทธิขายเสียง, นักการเมืองชอบหลอกลวงประชาชน ฯลฯ 2.59%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-