ตามที่รัฐบาลเตรียมเดินหน้านำสินเชื่อนอกระบบเข้าสู่ระบบด้วยการออกมาตรการ 72 สินเชื่อ จาก 6 ธนาคารรัฐ พร้อมตั้งศูนย์อำนวย การหนี้สินภาคประชาชน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจนำสินเชื่อนอกระบบเข้าสู่ระบบ และยกเลิกค่าธรรมเนียมเงินโอนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ “รายการก่อนตัดสินใจ” จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อการแก้ ปัญหาหนี้ภาคประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานของรัฐบาลต่อไป จำนวนทั้งสิ้น 1,298 คน ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 แย่ลง 70.41% อันดับ 2 เหมือนเดิม 23.47% อันดับ 3 ดีขึ้น 6.12% 2. รายได้โดยเฉลี่ยภายในครอบครัว อันดับ 1 เท่าเดิม 57.14% อันดับ 2 ลดลง 38.78% อันดับ 3 เพิ่มขึ้น 4.08% 3. วิธีการหารายได้เพิ่มเติม กรณี “รายได้ไม่เพียงพอ” อันดับ 1 ลดรายจ่าย 23.57% อันดับ 2 กู้เงินในระบบ 21.29% อันดับ 3 กู้เงินนอกระบบ 18.25% อันดับ 4 หยิบยืมจากญาติพี่น้องและคนรู้จัก 11.41% อันดับ 5 ทำงานล่วงเวลาหรือหางานพิเศษเพิ่ม 9.90% อันดับ 6 จำนำสิ่งของมีค่า 7.22% อันดับ 7 ซื้อหวย, ลอตเตอรี่ 6.84% อันดับ 8 เล่นการพนัน 1.52% 4. ภาวะหนี้สินของประชาชนในปัจจุบัน อันดับ 1 มีหนี้สิน 69.39% อันดับ 2 ไม่มีหนี้สิน 30.61% 5. สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ กรณี “เป็นหนี้ในระบบ” อันดับ 1 ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้เป็นพิเศษ 46.88% อันดับ 2 ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ให้นานขึ้น 35.94% อันดับ 3 พักการชำระหนี้เป็นเวลา 1 ปี 17.18% 6. สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ กรณี “เป็นหนี้นอกระบบ” อันดับ 1 พิจารณาให้เงินกู้ในระบบเพื่อชำระหนี้เดิม 57.38% อันดับ 2 ขึ้นทะเบียนผู้ที่มีปัญหาหนี้นอกระบบ 19.67% อันดับ 3 จัดตั้งสถาบันการเงินใหม่ เช่น ธนาคารคนจน 18.03% อันดับ 4 เจรจาต่อรองภาระหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบ 4.92% 7. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบได้ อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 50.74% อันดับ 2 ไม่เชื่อมั่น 28.36% อันดับ 3 เชื่อมั่น 20.90%
--สวนดุสิตโพล--