จากกรณีข่าว นักเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ถูกคนร้ายบุกทำร้ายถึงในโรงเรียน ทำให้ได้รับบาดเจ็บ
สาหัสถึง 4 ราย และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ กรณีความไม่ปลอดภัยทั้งที่อยู่ในโรงเรียน “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งผู้ปกครอง นักเรียนและประชาชนทั่วไปที่พัก
อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,497 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 11 กันยายน 2548 ทั้ง
นี้เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและรวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนคาดหรือไม่? ว่าจะเกิดเหตุการณ์มีคนบุกรุกเข้าไปทำร้ายนักเรียนถึงในโรงเรียนอย่างโหดร้ายแบบนี้
อันดับที่ 1 ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น 65.60%
เพราะ สังคมไทยเป็นสังคมเอื้ออาทร,เด็กนักเรียนเป็นกลุ่มที่น่ารัก น่าเอ็นดูไม่เป็นพิษภัยต่อใคร ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 20.77%
เพราะ เป็นเหตุการณ์ที่คาดเดายาก ฯลฯ
อันดับที่ 3 คาดว่าจะเกิด 13.63%
เพราะ สังคมปัจจุบันเสื่อมโทรม,การเอาอย่างต่างประเทศ ฯลฯ
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประชาชนคิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากสิ่งใด
อันดับที่ 1 สภาพสังคมที่เสื่อมโทรมเอารัดเอาเปรียบ ความกดดันของสังคม 44.76%
อันดับที่ 2 ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่/การไม่ระแวดระวัง/ไม่สอดส่องดูแล 27.45%
อันดับที่ 3 เหตุการณ์อยู่เหนือความคาดหมายไม่มีใครคิดว่าน่าจะเกิดขึ้น 20.98%
อื่นๆ เช่น การไม่ช่วยกันสอดส่องดูแลของผู้คนในสังคม ฯลฯ 6.81%
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนภาพอะไรของสังคมไทยได้บ้าง
อันดับที่ 1 ความเสื่อมโทรมของสังคม/การแบ่งแยกในสังคม 40.48%
อันดับที่ 2 ความกดดันของผู้คนในสังคม/โรคจิต/ความผิดปกติ 23.98%
อันดับที่ 3 การตั้งอยู่ในความประมาท/การไม่คาดเดาว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์นี้ในสังคมไทย 21.24%
อื่นๆ เช่น การไม่กวดขันด้านความปลอดภัย,เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ฯลฯ 14.30%
4. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความบกพร่องของใคร?
อันดับที่ 1 ทุกคนที่อยู่ในสังคมเพราะไม่ช่วยดูแลและสอดส่อง/ธุระไม่ใช่ 52.10%
อันดับที่ 2 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงเรียน 26.05%
อันดับที่ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจ / เจ้าหน้าที่บ้านเมือง 15.90%
* อื่นๆ เช่น ผู้บริหารของโรงเรียน,ครู อาจารย์ ฯลฯ 5.95%
5. แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก
อันดับที่ 1 การเฝ้าระวัง/ตรวจตรา/การเป็นหูเป็นตาของทุกคนที่ต้องช่วยกัน 46.30%
อันดับที่ 2 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจ/รปภ. ป้องกันอย่างเข้มงวดในทุกโรงเรียน 27.52%
อันดับที่ 3 สร้างความตระหนักในการระแวดระวังภัยให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง 13.96%
* อื่นๆ เช่น สร้างความเข้าใจในสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข,แก้ปัญหาช่องว่างทางสังคมโดยเฉพาะคนรวยกับคนจน ฯลฯ 12.22%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
สาหัสถึง 4 ราย และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ กรณีความไม่ปลอดภัยทั้งที่อยู่ในโรงเรียน “สวนดุสิตโพล”
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งผู้ปกครอง นักเรียนและประชาชนทั่วไปที่พัก
อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,497 คน โดยสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 11 กันยายน 2548 ทั้ง
นี้เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและรวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนคาดหรือไม่? ว่าจะเกิดเหตุการณ์มีคนบุกรุกเข้าไปทำร้ายนักเรียนถึงในโรงเรียนอย่างโหดร้ายแบบนี้
อันดับที่ 1 ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น 65.60%
เพราะ สังคมไทยเป็นสังคมเอื้ออาทร,เด็กนักเรียนเป็นกลุ่มที่น่ารัก น่าเอ็นดูไม่เป็นพิษภัยต่อใคร ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 20.77%
เพราะ เป็นเหตุการณ์ที่คาดเดายาก ฯลฯ
อันดับที่ 3 คาดว่าจะเกิด 13.63%
เพราะ สังคมปัจจุบันเสื่อมโทรม,การเอาอย่างต่างประเทศ ฯลฯ
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประชาชนคิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากสิ่งใด
อันดับที่ 1 สภาพสังคมที่เสื่อมโทรมเอารัดเอาเปรียบ ความกดดันของสังคม 44.76%
อันดับที่ 2 ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่/การไม่ระแวดระวัง/ไม่สอดส่องดูแล 27.45%
อันดับที่ 3 เหตุการณ์อยู่เหนือความคาดหมายไม่มีใครคิดว่าน่าจะเกิดขึ้น 20.98%
อื่นๆ เช่น การไม่ช่วยกันสอดส่องดูแลของผู้คนในสังคม ฯลฯ 6.81%
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนภาพอะไรของสังคมไทยได้บ้าง
อันดับที่ 1 ความเสื่อมโทรมของสังคม/การแบ่งแยกในสังคม 40.48%
อันดับที่ 2 ความกดดันของผู้คนในสังคม/โรคจิต/ความผิดปกติ 23.98%
อันดับที่ 3 การตั้งอยู่ในความประมาท/การไม่คาดเดาว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์นี้ในสังคมไทย 21.24%
อื่นๆ เช่น การไม่กวดขันด้านความปลอดภัย,เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ฯลฯ 14.30%
4. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความบกพร่องของใคร?
อันดับที่ 1 ทุกคนที่อยู่ในสังคมเพราะไม่ช่วยดูแลและสอดส่อง/ธุระไม่ใช่ 52.10%
อันดับที่ 2 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงเรียน 26.05%
อันดับที่ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจ / เจ้าหน้าที่บ้านเมือง 15.90%
* อื่นๆ เช่น ผู้บริหารของโรงเรียน,ครู อาจารย์ ฯลฯ 5.95%
5. แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก
อันดับที่ 1 การเฝ้าระวัง/ตรวจตรา/การเป็นหูเป็นตาของทุกคนที่ต้องช่วยกัน 46.30%
อันดับที่ 2 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจ/รปภ. ป้องกันอย่างเข้มงวดในทุกโรงเรียน 27.52%
อันดับที่ 3 สร้างความตระหนักในการระแวดระวังภัยให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง 13.96%
* อื่นๆ เช่น สร้างความเข้าใจในสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข,แก้ปัญหาช่องว่างทางสังคมโดยเฉพาะคนรวยกับคนจน ฯลฯ 12.22%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-