ภายหลังกรณีขัดแย้งทางการเมืองที่มีการชุมนุมประท้วงทั้งฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ต้องการขับไล่นายกฯทักษิณ กับ กลุ่ม
คาราวานคนจน ที่สนับสนุนนายกฯทักษิณ ได้สร้างความตึงเครียดให้กับสังคมไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการแตกแยกของกลุ่มคน ซึ่งทำให้ประชาชนคนไทย
มีแต่ความเครียดอย่างทั่วถึง และเมื่อเหตุการณ์ยุติลง โดยนายกฯทักษิณประกาศเว้นวรรค เพื่อสะท้อนความคิดเห็นภายหลังวิกฤติการเมืองไทย “สวนดุ
สิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,479 คน
(ชาย 1,633 คน 46.94% หญิง 1,846 คน 53.06%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 7 — 13 เมษายน 2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนมีความเครียด/วิตกกังวล กับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งเป็นฝ่าย
ต่อต้านและสนับสนุนนายกฯ ทักษิณ ก่อนที่นายกฯ ทักษิณจะประกาศเว้นวรรคเพียงใด?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 เครียด / วิตกกังวลมาก 53.38%
เพราะ ทำให้สังคมวุ่นวาย ไม่สงบสุข,มีแต่ความขัดแย้ง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างเครียด/วิตกกังวล 34.35%
เพราะ กลัวที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรง ไม่สงบสุข ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยเครียด/วิตกกังวล 6.52%
เพราะ เป็นเกมการเมือง,เบื่อการเมือง,ไม่อยากยุ่งเกี่ยว ฯลฯ
อันดับที่ 4 เฉยๆ 5.75%
เพราะ เบื่อการเมือง ฯลฯ
2. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นประชาชนคิดว่ามีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 ผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองที่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ 40.62%
อันดับที่ 2 เป็นเกมการเมือง/นักการเมืองสร้างความแตกแยกโดยหาประชาชนเป็นพรรคพวก 33.63%
อันดับที่ 3 ความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองที่ยุยง ปลุกปั่นประชาชน 16.13%
อันดับที่ 4 ความไม่เข้าใจ/ไม่รู้ทันสถานการณ์ทางการเมืองที่แท้จริง 5.84%
* อื่นๆ เช่น การโฆษณาของนักการเมืองแต่ละฝ่าย ฯลฯ 3.78%
3. ทำอย่างไร? จึงจะไม่เกิดกรณีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงถึงขั้นแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างที่เป็นอยู่
ภาพรวม
อันดับที่ 1 นักการเมืองควรจะวางตัวและทำงานภายในกรอบกติกาและทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง/
ไม่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ 44.04%
อันดับที่ 2 นักการเมืองจะต้องไม่เล่นเกมการเมือง/มีความจริงใจ 29.06%
อันดับที่ 3 สื่อมวลชนควรสะท้อนความจริงของนักการเมืองให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลอย่างชัดเจนและเป็นกลางจริงๆ 21.62%
* อื่นๆ เช่น มีการปฏิรูปการเมือง,สร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองให้ประชาชนรู้ทันนักการเมือง ฯลฯ 5.28%
4. ณ วันนี้เมื่อเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง ประชาชนมีความเครียด/วิตกกังวลเพียงใด?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 ความเครียด / วิตกกังวลลดลงมาก 39.09%
เพราะ เมื่อไม่มีความขัดแย้งก็จะไม่เกิดความวุ่นวาย,ประเทศชาติจะได้พัฒนาไปได้ด้วยดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังคงมีความเครียด/วิตกกังวลอยู่บ้าง 36.02%
เพราะ ยังไม่ไว้ใจนักการเมือง อาจจะมีความขัดแย้งกันอีก,ไม่แน่ใจว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้นอีก ฯลฯ
อันดับที่ 3 ยังคงมีความเครียด/วิตกกังวลอยู่มาก 18.60%
เพราะ การเมืองเป็นสิ่งที่ยังมีการต่อสู้ ช่วงชิงของแต่ละฝ่าย,นักการเมืองยังเห็นประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ฯลฯ
อันดับที่ 4 เฉยๆ 6.29%
เพราะ เบื่อการเมือง,ไม่อยากสนใจเพราะ เป็นเรื่องของนักการเมือง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
คาราวานคนจน ที่สนับสนุนนายกฯทักษิณ ได้สร้างความตึงเครียดให้กับสังคมไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการแตกแยกของกลุ่มคน ซึ่งทำให้ประชาชนคนไทย
มีแต่ความเครียดอย่างทั่วถึง และเมื่อเหตุการณ์ยุติลง โดยนายกฯทักษิณประกาศเว้นวรรค เพื่อสะท้อนความคิดเห็นภายหลังวิกฤติการเมืองไทย “สวนดุ
สิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,479 คน
(ชาย 1,633 คน 46.94% หญิง 1,846 คน 53.06%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 7 — 13 เมษายน 2549 สรุปผลได้ดังนี้
1. ประชาชนมีความเครียด/วิตกกังวล กับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งเป็นฝ่าย
ต่อต้านและสนับสนุนนายกฯ ทักษิณ ก่อนที่นายกฯ ทักษิณจะประกาศเว้นวรรคเพียงใด?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 เครียด / วิตกกังวลมาก 53.38%
เพราะ ทำให้สังคมวุ่นวาย ไม่สงบสุข,มีแต่ความขัดแย้ง ฯลฯ
อันดับที่ 2 ค่อนข้างเครียด/วิตกกังวล 34.35%
เพราะ กลัวที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรง ไม่สงบสุข ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ค่อยเครียด/วิตกกังวล 6.52%
เพราะ เป็นเกมการเมือง,เบื่อการเมือง,ไม่อยากยุ่งเกี่ยว ฯลฯ
อันดับที่ 4 เฉยๆ 5.75%
เพราะ เบื่อการเมือง ฯลฯ
2. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นประชาชนคิดว่ามีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 ผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองที่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ 40.62%
อันดับที่ 2 เป็นเกมการเมือง/นักการเมืองสร้างความแตกแยกโดยหาประชาชนเป็นพรรคพวก 33.63%
อันดับที่ 3 ความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองที่ยุยง ปลุกปั่นประชาชน 16.13%
อันดับที่ 4 ความไม่เข้าใจ/ไม่รู้ทันสถานการณ์ทางการเมืองที่แท้จริง 5.84%
* อื่นๆ เช่น การโฆษณาของนักการเมืองแต่ละฝ่าย ฯลฯ 3.78%
3. ทำอย่างไร? จึงจะไม่เกิดกรณีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงถึงขั้นแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างที่เป็นอยู่
ภาพรวม
อันดับที่ 1 นักการเมืองควรจะวางตัวและทำงานภายในกรอบกติกาและทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง/
ไม่ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ 44.04%
อันดับที่ 2 นักการเมืองจะต้องไม่เล่นเกมการเมือง/มีความจริงใจ 29.06%
อันดับที่ 3 สื่อมวลชนควรสะท้อนความจริงของนักการเมืองให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลอย่างชัดเจนและเป็นกลางจริงๆ 21.62%
* อื่นๆ เช่น มีการปฏิรูปการเมือง,สร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองให้ประชาชนรู้ทันนักการเมือง ฯลฯ 5.28%
4. ณ วันนี้เมื่อเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง ประชาชนมีความเครียด/วิตกกังวลเพียงใด?
ภาพรวม
อันดับที่ 1 ความเครียด / วิตกกังวลลดลงมาก 39.09%
เพราะ เมื่อไม่มีความขัดแย้งก็จะไม่เกิดความวุ่นวาย,ประเทศชาติจะได้พัฒนาไปได้ด้วยดี ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังคงมีความเครียด/วิตกกังวลอยู่บ้าง 36.02%
เพราะ ยังไม่ไว้ใจนักการเมือง อาจจะมีความขัดแย้งกันอีก,ไม่แน่ใจว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้นอีก ฯลฯ
อันดับที่ 3 ยังคงมีความเครียด/วิตกกังวลอยู่มาก 18.60%
เพราะ การเมืองเป็นสิ่งที่ยังมีการต่อสู้ ช่วงชิงของแต่ละฝ่าย,นักการเมืองยังเห็นประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ฯลฯ
อันดับที่ 4 เฉยๆ 6.29%
เพราะ เบื่อการเมือง,ไม่อยากสนใจเพราะ เป็นเรื่องของนักการเมือง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--
-พห-