** ประชาชน 63.46% “เห็นด้วย” กับ โครงการ ฯ หนี้นอกระบบแต่ “ไม่ค่อยมั่นใจ” ต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล **
ตามที่ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้ประชาชน โดยรัฐบาลจะเปิดให้ ประชาชนลงทะเบียนเข้าโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธ.ค.52 ที่ ธนาคารออมสิน 600 สาขา และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 900 สาขาทั่วประเทศ และจัดแยกประเภทหนี้ ตามลำดับความสำคัญของการเป็นหนี้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือหนี้เพื่อประกอบอาชีพ เป็นหลัก “สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ที่มีต่อโครงการดังกล่าว จำนวน 1,422 คน ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เป็นหนี้นอกระบบ 62.67% อันดับ 2 ไม่เป็นหนี้นอกระบบ 37.33%
เพราะ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน ,สามารถกู้ยืมจากธนาคารได้ ,เป็นหนี้ในระบบสบายใจกว่า ฯลฯ
อันดับ 1 เศรษฐกิจไม่ดี 44.97% อันดับ 2 เงินขาดมือ ไม่พอใช้จ่าย 15.89% อันดับ 3 มีภาระต้องรับผิดชอบมาก เพียงเงินเดือน/ค่าจ้าง/รายได้ อย่างเดียวไม่พอใช้ 15.31% อันดับ 4 ไม่มีเครดิตพอที่จะกู้กับธนาคารเพื่อนำเงินไปลงทุนได้ 13.03% อันดับ 5 หยิบยืมได้สะดวก ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก 10.80% 3. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? กับ โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ของ รัฐบาล อันดับ 1 เห็นด้วย 63.46%
เพราะ ช่วยปลดหนี้ให้กับประชาชน ,ไม่ต้องกลัวกับการขูดรีด หรือข่มขู่ทวงหนี้จากผู้มีอิทธิพล , เป็นการจัดระเบียบ
ทางการเงินให้เข้าที่เข้าทาง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 20.64%
เพราะ อาจมีผู้สวมสิทธิ์เป็นลูกหนี้นอกระบบเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ,ต้องรอฟังรายละเอียดต่างๆให้มากกว่านี้ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 15.90%
เพราะ เป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้กับประเทศชาติ ,ต้องสูญเสียเงินมาใช้จ่ายในเรื่องนี้มากเกินไป ,เป็นการช่วยเหลือในทางที่ผิด
ทำให้ลูกหนี้บางคนที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเคยตัว ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่ค่อยมั่นใจ 43.19%
เพราะ หลายๆโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมายังมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ , ขั้นตอนต่างๆยังไม่ชัดเจน ฯลฯ
อันดับ 2 ค่อนข้างมั่นใจ 29.16%
เพราะ หากรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ตามที่พูดไว้ จะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและเชื่อถือในรัฐบาลยิ่งขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 มั่นใจ 17.57%
เพราะ เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นถึงเจตนารมที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง , ได้รับความร่วมมือ
จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่มั่นใจเลย 10.08%
เพราะ ประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการอย่างแท้จริง ,อาจมีเรื่องผลประโยชน์แอบแฝง ฯลฯ
อันดับ 1 ออกกฎหมายคุ้มครองผู้ที่กู้หนี้นอกระบบและมีกฎหมายควบคุมเจ้าหนี้ให้อยู่ในขอบเขต 34.20%
ที่เหมาะสม
อันดับ 2 ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินต่างๆปรับลดหลักเกณฑ์การกู้เงินให้ง่ายขึ้น 23.31%
เพื่อความสะดวกของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่ถูกต้อง
อันดับ 3 มีการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อาจ 17.94%
เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของใครก็สามารถสานต่อโครงการนี้ได้
อันดับ 4 จัดตั้งสถาบันการเงินใหม่สำหรับช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยโดยเฉพาะและไม่คิดดอกเบี้ย 13.53% อันดับ 5 นำเจ้าหนี้ต่างๆมาลงทะเบียนให้ถูกต้องเหมือนกับที่มีการขึ้นทะเบียนผู้ที่มีปัญหาหนี้นอกระบบ 11.02%
--สวนดุสิตโพล--