**ประชาชน 81.65% เห็นว่า “ถึงเวลาแล้ว” ที่ประเทศไทยจะต้องทบทวน เปลี่ยนแปลงแนวทางในการพัฒนาประเทศ**
จากวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ณ ขณะนี้ เป็นสิ่งท้าทายต่อรัฐบาลในการทำให้สังคมกลับสู่ความร่ม เย็น ซึ่งนายกฯได้มอบหมายให้ สสส. เป็นตัวประสานเชื่อมโยงกับทุกฝ่ายในการจัดทำตัวชี้วัดทางสังคม เพราะในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 11 ที่กำลังจะประกาศใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ได้กำหนดชัดถึงการนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนหลัก โดยวัดทั้งประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่ครอบคลุมถึงมิติการศึกษา สุขภาพ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน ดุสิต ร่วมกับรายการ “ก่อนตัดสินใจ” และ สสส. จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อการจัดทำตัวชี้วัดทางสังคม จำนวน 1,379 คน ระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 มีความขัดแย้งสูง 38.75% อันดับ 2 เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม 25.29% อันดับ 3 ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 13.21% อันดับ 4 เป็นสังคมไร้ระเบียบ ไม่มีวินัย 9.51% อันดับ 5 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม 7.66% อันดับ 6 เป็นสังคมที่ยังขาดความพอเพียง 5.58% 2. ประเทศไทยถึงเวลาที่จะต้องทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงแนวทางในการพัฒนาประเทศหรือยัง? อันดับ 1 ถึงเวลาแล้ว 81.65%
เพราะ ในช่วงที่ผ่านมาประเทศชาติต้องประสบปัญหาต่างๆที่รุมเร้าเข้ามารอบด้านพร้อมๆกัน ฯลฯ
อันดับ 2 ยังไม่ถึงเวลา 9.63%
เพราะ ประเทศไทยยังมีปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องการให้แก้ไขก่อน เช่น การชุมนุม ความแตกแยก เป็นต้น ,
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจเตรียมตัวไม่ทันหรือยังไม่มีความพร้อม ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 8.72%
เพราะ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า หากทุกคนร่วมมือกันประเทศชาติก็จะน่าอยู่ยิ่งขึ้น ฯลฯ
อันดับ 1 การพัฒนาที่มุ่งเน้นวัดความสุขของประชาชน (GNH) 61.19% อันดับ 2 การพัฒนาที่วัดกันที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 38.81% 4. ประชาชนคิดว่าเรื่องใด ? เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขมากที่สุด อันดับ 1 ด้านการเมือง 26.10% อันดับ 2 ด้านเศรษฐกิจ 24.43% อันดับ 3 ด้านสภาพสังคม 20.45% อันดับ 4 ด้านสิ่งแวดล้อม 18.95% อันดับ 5 ด้านสภาพจิตใจ 4.24% อันดับ 6 ด้านการทำงาน 3.06% อันดับ 7 ด้านสุขภาพอนามัย 2.77% 5. ประชาชนคิดว่าอะไร? คือ การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมไทย อันดับ 1 การมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง 32.27% อันดับ 2 การมีครอบครัวที่อบอุ่น 19.77% อันดับ 3 การมีความรักสามัคคีไม่แตกแยก 18.18% อันดับ 4 การมีชีวิตที่ปลอดภัย 15.23% อันดับ 5 การมีสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่ดี 8.86% อันดับ 6 การมีสิ่งแวดล้อมดีปลอดจากมลพิษ 5.69%
สสส. จับมือรัฐบาลผลักดันดัชนีความสุขในการพัฒนาประเทศดันเข้าแผนเข้าแผนพัฒนา ฉบับ11 ตั้งกก.กิจกรรมเพื่อสังคม
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเรื่องแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงดัชนีชี้วัดการพัฒนาประเทศจากการวัดด้วย จีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ มาเป็นการวัดด้วยดัชนีความสุขว่าจริงๆแล้ว ไม่ต้องการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เป็นการผสมผสานกันทั้ง สองอย่างเพราะเวลาวัดดัชนีความสุขหรือดัชนีพัฒนาประเทศ ต้องวัด 2 ระดับ คือ 1 ระดับประเทศโดยจะดูว่ามีนโยบายพัฒนาด้านอะไรบ้าง เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องสุขภาพ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน เรื่องการกระจายรายได้ ส่วนระดับที่ 2 คือการวัด ในระดับพื้นที่เพราะแต่ละจังหวัดปัญหาไม่เหมือนกัน ปัญหาในกรุงเทพฯเมื่อไปเทียบกับเชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี ปัญหาก็ ไม่เหมือนกัน
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่าน่าดีใจที่ทุกส่วนโดยเฉพาะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.ได้เป็นผู้มี บทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องดัชนีทางเลือก หรือดัชนีความสุข โดยทางรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมีนโยบายที่ ชัดเจนโดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่กำลังจัดทำอยู่ ได้บรรจุเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเอาไว้ด้วย นอกจากนี้แล้วในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งปี 2553-2555 จะมีแผนงานและงบประมาณที่ ชัดเจน ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วย เช่น เรื่องคุณภาพการศึกษา หลักประกันสุขภาพ การพัฒนาพลังงานทางเลือก การลดผลกระทบสิ่ง แวดล้อม หรือในเรื่องเศรษฐกิจ เช่น การท่องเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์ เชิงอนุรักษ์ศิลปะและสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม เช่น จะมีคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมแห่งชาติ โดยนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แล้วดึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในภาคสังคมเข้ามาร่วมขับ เคลื่อนด้วยกัน.
--เอแบคโพลล์--