จากที่พรรคร่วมรัฐบาลออกมากดดันพรรคประชาธิปัตย์ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และขู่ว่าถ้าไม่แก้จะมาร่วมมือกับ พรรคเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่พรรคเพื่อไทยยืนยันจุดยืนชัดเจนแล้วว่าจะไม่ร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 แต่ได้เรียกร้องให้กลับมาใช้รัฐธรรมนูญปี 40 แทน อีกทั้งมองว่าความพยายามกดดันพรรคประชาธิปัตย์ ของพรรคร่วมรัฐบาล น่าจะเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันพรรคประชาธิปัตย์ หรือเพื่อเรียกร้องอะไรบางอย่าง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ รายการ “ก่อนตัดสินใจ” จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพ ฯ ปริมณฑล กรณี การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล จำนวนทั้งสิ้น 1,262 คน ระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 เห็นด้วย 54.55% อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 23.29% อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 22.16% 2. กรณีเห็นด้วย ประชาชนคิดว่าควรจะใช้แนวทางตามข้อเสนอของฝ่ายใดในการแก้ไข อันดับ 1 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาฯ จำนวน 6 ประเด็น 49.81% อันดับ 2 ตามข้อเสนอของพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคภูมิใจไทย จำนวน 2 ประเด็น 26.86% อันดับ 3 ตามข้อเสนอของพรรคเพื่อไทยโดยนำเนื้อหาส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ 21.28% อันดับ 4 ตามข้อเสนอของภาคประชาชน นำโดยนายแพทย์เหวง โตจิราการ 2.05% 3. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ? กับข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เรื่องการทำสัญญากับต่างประเทศโดยกำหนดประเภทของสัญญาที่จะให้รัฐสภาอนุมัติและสัญญาที่รัฐสภาสามารถ ทบทวนได้ให้ชัดเจน อันดับ 1 เห็นด้วย 54.27%
เพราะ เป็นการลดขั้นตอนในการพิจารณาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ,ข้อความบางส่วนยังไม่ชัดเจน ,หากการแก้ไขนี้มีผลต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 30.31%
เพราะ มาตรา 190 ของเดิมที่เขียนไว้ก็รัดกุมดีอยู่แล้ว แต่เกิดจากการนำไปใช้ไม่ถูกที่ ตีความเพื่อประโยชน์/เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 15.42%
เพราะ การเสนอแก้ไข รธน. ในมาตรา 190 นั้นควรมาจากพื้นฐานของปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่เป็นความต้องการของคนใดคนหนึ่ง ,ไม่รู้ว่าแก้ไปแล้วจะดีกว่าเดิมหรือไม่? ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 45.36%
เพราะ เป็นการผูกขาดเพียงคนเดียว ถ้าได้คนดีก็ดีไปแต่ถ้าได้คนไม่ดีก็ต้องรอจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 38.21%
เพราะ ประชาชนสามารถจดจำผู้สมัครได้ง่ายขึ้น ไม่สับสน ,ตัดสินใจได้ง่ายว่าจะเลือกใคร ,กกต.สามารถตรวจสอบการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงได้ง่ายขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 16.43%
เพราะ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตั้งใหม่ก็คือนักการเมือง เนื่องจากเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ,ทุกระบบมีทั้งข้อดี ข้อด้อย ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและนำไปใช้ ฯลฯ
อันดับ 1 มี ส.ส.จากระบบเขตเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวโดยใช้รูปแบบ เขตเดียวเบอร์เดียว 27.58% อันดับ 2 มี ส.ส.จาก 2 ระบบ คือ เขตเดียวเบอร์เดียวและส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อ (เหมือนรธน. ปี2540) 25.81% อันดับ 3 มี ส.ส.จาก 2 ระบบ คือ แบ่งเขตเรียงเบอร์ และส.ส.จากระบบสัดส่วน (เหมือนรธน. ปี2550) 23.35% อันดับ 4 มี ส.ส.จากระบบเขตเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวโดยใช้รูปแบบ แบ่งเขตรวมเบอร์(เขตเดียวพรรคเดียว) 14.89% อันดับ 5 มี ส.ส.จากระบบเขตเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวโดยใช้รูปแบบ แบ่งเขตเรียงเบอร์ 8.37% 6. ประชาชนคิดว่าข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เรื่องการทำสัญญากับต่างประเทศ และมาตรา 93-98 เรื่องรูปแบบการเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรคจะสำเร็จหรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 53.30%
เพราะ เป็นเกมการเมือง ,จะต้องศึกษาถึงผลดี ผลเสียอย่างละเอียด ,ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ รธน. มากพอ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่สำเร็จ 31.32%
เพราะ มาตราที่นำเสนอแก้ไขอาจถูกยับยั้งจาก ส.ว. และฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ,พรรคประชาธิปัตย์มีจุดยืนและอาจได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรานี้ฯลฯ
อันดับ 3 สำเร็จ 15.38%
เพราะ พรรคประชาธิปัตย์จะต้องรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล จึงต้องยอมแก้ไข รธน.เพื่อจะได้เป็นรัฐบาลต่อไป ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่เชื่อมั่น 68.40% อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 26.75% อันดับ 3 เชื่อมั่น 4.85%
--สวนดุสิตโพล--