จากที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทยในฐานะประธานคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลอภิปรายไม่ไว้วางใจจะยื่นญัตติในปลายเดือนก.พ.นี้ เพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยการยื่นอภิปรายครั้งนี้จะพุ่งเป้าไปที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาล และผู้คุมนโยบายทั้งหมด ตามด้วยกระทรวงที่ปรากฏว่ามีการทุจริต ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม เป็นต้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน กรณี ที่ฝ่ายค้านจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 3,326 คน (กทม. 1,168 คน 35.12% ตจว. 2,158 คน 64.88%) ระหว่างวันที่ 18-23 มกราคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
ภาพรวม กทม. ตจว. อันดับที่ 1 ถึงเวลาแล้ว 49.46% 47.70% 51.22%
เพราะ จากที่รัฐบาลบริหารประเทศมาเป็นเวลากว่า 1 ปี พบปัญหาที่ไม่ชอบมาพากลอยู่หลายเรื่อง ,เริ่มส่อเค้าว่ามีปัญหาหรือความขัดแย้งภายในกันเอง ,รัฐบาลควรออกมาชี้แจงเรื่องต่างๆให้ประชาชนได้ทราบ ฯลฯ
อันดับที่ 2 ยังไม่ถึงเวลา 32.18% 34.27% 30.08%
เพราะ ที่ผ่านมารัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาที่คาราคาซังมาก่อนและจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าหลายเรื่อง ควรเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้บริหารงานต่อไปก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 18.36% 18.03% 18.70%
เพราะ ไม่มั่นใจว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของการเปิดอภิปรายครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนจริงหรือไม่? ฯลฯ
ภาพรวม กทม. ตจว. อันดับที่ 1 การทุจริตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการไทยเข้มแข็ง 38.77% 32.80% 44.73% อันดับที่ 2 การบริหารงานที่ผิดพลาดและล่าช้า เช่น การแต่งตั้ง- ผบ.ตร.การยกเลิกหวยออนไลน์ เป็นต้น 24.69% 29.63% 19.74% อันดับที่ 3 การบริหารงาน /การตัดสินใจ ของตัวนายกอภิสิทธิ์เอง 17.17% 23.81% 10.53% อันดับที่ 4 การกู้เงินของรัฐบาลทำให้ประเทศชาติต้องมีหนี้สินจำนวนมาก 13.18% 7.94% 18.42% อันดับที่ 5 การแต่งตั้งและการทำงานของ รมต. บางกระทรวงที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกระทรวงต่างประเทศ 6.19% 5.82% 6.58% 3. “ผลดี” ของ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล คือ ภาพรวม กทม. ตจว. อันดับที่ 1 ได้รับฟังข้อเท็จจริงของทั้ง 2 ฝ่าย/ ได้รู้ข้อมูลที่ถูกปิดบัง 46.71% 40.08% 53.34% อันดับที่ 2 เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล /เกิดการถ่วงดุล- อำนาจตามระบอบประชาธิปไตย 24.06% 32.91% 15.22% อันดับที่ 3 เป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลต้องทำงานโปร่งใสและรัดกุมมากขึ้น 17.98% 18.57% 17.39% อันดับที่ 4 ได้รู้ความคืบหน้าของการทำงานของรัฐบาล 7.38% 5.06% 9.70% อันดับที่ 5 ได้เห็นพฤติกรรมและการแสดงออกทางอารมณ์ของนักการเมือง 3.87% 3.38% 4.35% 4. “ผลเสีย” ของ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล คือ ภาพรวม กทม. ตจว. อันดับที่ 1 เกิดความล่าช้าในการทำงาน /หยุดชะงัก /เสียเวลา 30.35% 31.53% 29.17% อันดับที่ 2 อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น 25.58% 26.15% 25.00% อันดับที่ 3 เป็นการลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาล/ขาดเสถียรภาพทางการเมือง 16.25% 20.01% 12.50% อันดับที่ 4 เห็นภาพการอภิปรายที่นอกกรอบ เช่น การประท้วง ใช้กริยา/ ภาษาที่ไม่เหมาะสม ไม่เคารพกฎของที่ประชุม 15.92% 13.08% 18.75% อันดับที่ 5 อาจเป็นสาเหตุให้นักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจในการลงทุน 11.90% 9.23% 14.58% 5. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะผ่านพ้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้หรือไม่ ? ภาพรวม กทม. ตจว. อันดับที่ 1 ได้ 57.85% 54.32% 61.38%
เพราะ รัฐบาลก็ได้แก้เกมการเมืองด้วยการปรับ ครม. ไปก่อนแล้ว ,ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงให้ความเชื่อถือและเชื่อมั่นรัฐบาลเหมือนเดิม ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ 27.31% 25.90% 28.72%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการชี้แจงและข้อมูลสนับสนุนที่นำมาประกอบว่ามีน้ำหนักมากพอหรือไม่? ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่ได้ 14.84% 19.78% 9.90%
เพราะ ฝ่ายค้านอาจนำหลักฐาน/ข้อมูลที่ไม่มีใครเคยทราบมาก่อนมาเปิดเผย ปัญหาที่รัฐบาลประสบอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น ความขัดแย้งของนักการเมืองด้วยกันเอง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--