สวนดุสิตโพลล์: ทุกข์ของคนเมือง ณ วันนี้ กรณี ทำอย่างไร? ให้เมืองน่าอยู่

ข่าวผลสำรวจ Monday February 15, 2010 07:18 —สวนดุสิตโพล

ในอนาคต เมืองจะยังคงเจริญเติบโตต่อไปและมีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมเมืองในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยในปี 2554 ประชากรครึ่งหนึ่งของประเทศจะอาศัยอยู่ในเมือง และพบว่า “คน” คือต้นเหตุของปัญหาสำคัญต่างๆมากมาย อาทิ เช่น ปัญหาขยะ สิ่งแวดล้อม การ คมนาคม เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรหันมาหาวิธีรับมือกับการเติบโตของเมืองด้วยการสร้างกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความเป็น เมืองที่น่าอยู่ที่แท้จริง รายการ “ก่อนตัดสินใจ” ร่วมกับ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศ กรณี คนไทยจะร่วมกันสร้างเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร? จำนวนทั้งสิ้น 1,472 คน ระหว่างวันที่ 5-10 กุมภาพันธ์ 2553 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อเมืองที่อาศัยอยู่
อันดับ 1          ปานกลาง                                            34.92%
อันดับ 2          มาก                                                31.41%
อันดับ 3          มากที่สุด                                             18.09%
อันดับ 4          น้อย                                                11.81%
อันดับ 5          น้อยที่สุด                                              3.77%

2. ปัญหาสำคัญที่ประชาชนพบเห็นจากเมืองที่อาศัยอยู่ คือ
อันดับ 1          อากาศเป็นพิษ /ขาดพื้นที่สีเขียว /ขาดพื้นที่สาธารณะและพักผ่อน     18.08%
อันดับ 2          ขยะ /น้ำเน่าเสีย                                      17.92%
อันดับ 3          รถติด /การเกิดอุบัติเหตุ                                 14.62%
อันดับ 4          เศรษฐกิจ /ว่างงาน /ตกงาน                              9.19%
อันดับ 5          ยาเสพติด                                             9.03%
อันดับ 6          อาชญากรรม                                           6.63%
อันดับ 7          เด็กเยาวชน                                           5.80%
อันดับ 8          เสียงดัง                                              5.43%
อันดับ 9          การทุจริต คอรัปชั่นของผู้บริหารบ้านเมือง                      5.07%
อันดับ10          ขาดระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ                         4.18%
อันดับ11          อาหารไม่ปลอดภัย                                       4.05%

3. สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น คือ
อันดับ 1          กฎ  ระเบียบ กฎหมายไม่เด็ดขาด                          17.41%
อันดับ 2          ประชาชนไม่มีวินัย ขาดความรับผิดชอบ                       16.20%
อันดับ 3          นโยบายในการแก้ปัญหาไม่ชัดเจน                           13.40%
อันดับ 4          ขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในเมือง                      13.02%
อันดับ 5          ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจ                          12.94%
อันดับ 6          ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขาดความรู้และการจัดการขาดความต่อเนื่อง    9.69%
อันดับ 7          มีการคอรัปชั่น                                          6.81%
อันดับ 8          งบประมาณในการแก้ปัญหาไม่เพียงพอ                         6.43%
อันดับ 9          เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ                                     4.10%

4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
อันดับ 1          ปานกลาง                                            54.48%

เพราะ ไม่ค่อยมีเวลา หากมีโอกาสก็จะเข้าร่วม ไม่รู้ว่ามีโครงการลักษณะนี้ในชุมชน ฯลฯ

อันดับ 2          น้อย                                                27.11%

เพราะ คิดว่าเป็นการกระทำที่ตามกระแส ขาดความต่อเนื่อง ตื่นตัวเป็นพักๆ ฯลฯ

อันดับ 3          มาก                                                18.41%

เพราะ ตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ หากทุกคนร่วมมือกันชุมชนก็จะน่าอยู่มากขึ้น ฯลฯ

5. ประชาชนจะเข้าร่วมหรือไม่? หากมีการจัดกิจกรรมเพื่อขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมของเมืองในรูปแบบที่เข้าร่วมได้ง่าย
อันดับ 1          เข้าร่วม                                            67.10%
อันดับ 2          ไม่แน่ใจ                                            28.27%
อันดับ 3          ไม่เข้าร่วม                                           4.63%

6. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริงประชาชนคิดว่าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมของเมืองควรเป็นของใคร?
อันดับ 1          ประชาชนทั่วไป                                      43.53%
อันดับ 2          รัฐบาลส่วนท้องถิ่น เช่น   เทศบาล  อบจ.  กทม.           15.21%
อันดับ 3          รัฐบาลกลางและกระทรวง   กรม                        12.14%
อันดับ 4          รัฐบาลส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด  อำเภอ                   10.52%
อันดับ 5          ภาคประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชนสื่อมวลชน              6.15%
อันดับ 6          สถาบันการศึกษา  นักวิชาการ                            7.77%
อันดับ 7          ภาคธุรกิจ                                           4.68%

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ