จากคำกล่าวที่นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ชื่อ นายพอล ครุกแมน พูดถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯกำลังเผชิญ
สภาวะฟองสบู่ โดยแสดงความเป็นห่วงว่าจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในแถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทยก็เป็น
ประเทศหนึ่งที่ทำการค้ากับทางสหรัฐฯ ด้วย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็น
ของผู้ประกอบธุรกิจจากประเภทต่างๆของไทย จำนวนทั้งสิ้น 411 บริษัท โดยสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 26
พฤษภาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักธุรกิจไทย” เชื่อหรือไม่? ว่าจะเกิดกระแสเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐอเมริกา
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 49.02%
เพราะ ธุรกิจที่ทำอยู่ตอนนี้ก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไร,ต้องรอดูสถานการณ์ไปก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 2 เชื่อ 35.29%
เพราะ มีนักวิชาการจากต่างประเทศออกมาเตือนกันบ้างแล้ว,จากการติดตามข่าวมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจริง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เชื่อ 15.69%
เพราะ สหรัฐฯเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจมานาน มีรากฐานที่มั่นคง,คิดว่าทางสหรัฐฯเองน่าจะมีการ
เตรียมรับสถานการณ์นี้ไว้ได้ ฯลฯ
2. “นักธุรกิจไทย” คิดว่าเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหรือไม่?
อันดับที่ 1 กระทบแน่นอน 64.71%
เพราะ ไทยกับสหรัฐฯ มีการติดต่อทางการค้ากันมานาน,การส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะส่งให้กับทาง
สหรัฐฯเกือบทั้งนั้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 น่าจะกระทบ 27.45%
เพราะ มีความสัมพันธ์กันมานาน,เป็นภาวะเศรษฐกิจระดับโลกย่อมเกิดผลกระทบแบบลูกโซ่อย่างแน่นอน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 5.88%
เพราะ รอติดตามข่าวและรอดูผลที่จะเกิดขึ้นกับสหรัฐฯก่อน,ยังไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 4 คงไม่กระทบ 1.96%
เพราะ ทางรัฐบาลไทยน่าจะดูแลหรือหาทางป้องกันให้กับกลุ่มผู้ประกอบการทางธุรกิจทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชนเอาไว้แล้ว ฯลฯ
3. “นักธุรกิจไทย” วิตกหรือหวาดกลัวกระแสข่าวเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ หรือไม่?
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยวิตก 41.18%
เพราะ อาจจะไม่เกิดตามที่เป็นข่าวก็ได้,คิดว่าทางสหรัฐฯ เองคงไม่ปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นฟองสบู่แน่ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่วิตก 25.49%
เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตื่นตัวจากข่าวต่างๆ,รอดูสถานการณ์ไปอีกสักพัก ฯลฯ
อันดับที่ 3 ค่อนข้างวิตก 23.53%
เพราะ กลัวถูกยกเลิกในการส่งสินค้าที่ได้เซ็นอนุมัติไปแล้ว,มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ฯลฯ
อันดับที่ 4 วิตก 9.80%
เพราะ ปัจจุบันนี้ภาวะเศรษฐกิจในประเทศลำบากอยู่แล้ว,การส่งสินค้าอาจต้องหยุชะงักลงอีก
นานกว่าจะดีขึ้น ฯลฯ
4. การเตรียมการกรณี เศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ ของ “นักธุรกิจไทย”
อันดับที่ 1 ไม่กักตุนเงินสกุล ดอลลาร์ เก็บไว้มากๆ 37.25%
อันดับที่ 2 ขึ้นอยู่กับผู้บริหารและคณะผู้บริหารของบริษัท 25.49%
อันดับที่ 3 มีการวางแผนที่ดีโดยเฉพาะเรื่องบัญชีและการเงิน 19.61%
อันดับที่ 4 หากจะมีการเซ็นสัญญาใดๆกับต่างประเทศในตอนนี้ควรชะลอไว้ก่อน 11.76%
อันดับที่ 5 ติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นจากสื่อต่างๆและวิเคราะห์อย่างละเอียด 5.89%
5. ข้อเสนอต่อธุรกิจไทยจากกรณี เศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ
อันดับที่ 1 ผู้ประกอบการต่างๆควรมีการเตรียมความพร้อม คอยรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น 43.14%
อันดับที่ 2 การลงทุนในช่วงนี้ควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี/ชะลอการลงทุนไว้ก่อน 29.41%
อันดับที่ 3 ควรหาทางแก้ไขหรือหาตลาดใหม่ๆที่ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไร เช่น ตลาดแถบเอเชีย 17.65%
อันดับที่ 4 ควรติดตามข่าวสารอย่างละเอียด/สอบถามความคืบหน้ากับบริษัทต่างประเทศที่ติดต่อด้วย 9.80%
6. ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยจากกรณี เศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ
อันดับที่ 1 ควรมีการผ่อนผันเกี่ยวกับการชำระหนี้ โดยเพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้นหรือลดดอกเบี้ย 37.25%
อันดับที่ 2 กระทรวงการคลังควรหามาตรการป้องกันและมีความเตรียมพร้อมตลอดเวลา 31.37%
อันดับที่ 3 รัฐบาลควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้ของภายในประเทศ/ลดการนำเข้า 19.62%
อันดับที่ 4 เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีหรือมีการเปลี่ยนแปลงควรประกาศหรือแจ้งให้ทราบตามความจริง
ไม่ควรปิดบัง 11.76%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
สภาวะฟองสบู่ โดยแสดงความเป็นห่วงว่าจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในแถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทยก็เป็น
ประเทศหนึ่งที่ทำการค้ากับทางสหรัฐฯ ด้วย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็น
ของผู้ประกอบธุรกิจจากประเภทต่างๆของไทย จำนวนทั้งสิ้น 411 บริษัท โดยสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 26
พฤษภาคม 2548 สรุปผลได้ดังนี้
1. “นักธุรกิจไทย” เชื่อหรือไม่? ว่าจะเกิดกระแสเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐอเมริกา
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 49.02%
เพราะ ธุรกิจที่ทำอยู่ตอนนี้ก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไร,ต้องรอดูสถานการณ์ไปก่อน ฯลฯ
อันดับที่ 2 เชื่อ 35.29%
เพราะ มีนักวิชาการจากต่างประเทศออกมาเตือนกันบ้างแล้ว,จากการติดตามข่าวมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจริง ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่เชื่อ 15.69%
เพราะ สหรัฐฯเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจมานาน มีรากฐานที่มั่นคง,คิดว่าทางสหรัฐฯเองน่าจะมีการ
เตรียมรับสถานการณ์นี้ไว้ได้ ฯลฯ
2. “นักธุรกิจไทย” คิดว่าเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหรือไม่?
อันดับที่ 1 กระทบแน่นอน 64.71%
เพราะ ไทยกับสหรัฐฯ มีการติดต่อทางการค้ากันมานาน,การส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะส่งให้กับทาง
สหรัฐฯเกือบทั้งนั้น ฯลฯ
อันดับที่ 2 น่าจะกระทบ 27.45%
เพราะ มีความสัมพันธ์กันมานาน,เป็นภาวะเศรษฐกิจระดับโลกย่อมเกิดผลกระทบแบบลูกโซ่อย่างแน่นอน ฯลฯ
อันดับที่ 3 ไม่แน่ใจ 5.88%
เพราะ รอติดตามข่าวและรอดูผลที่จะเกิดขึ้นกับสหรัฐฯก่อน,ยังไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ฯลฯ
อันดับที่ 4 คงไม่กระทบ 1.96%
เพราะ ทางรัฐบาลไทยน่าจะดูแลหรือหาทางป้องกันให้กับกลุ่มผู้ประกอบการทางธุรกิจทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชนเอาไว้แล้ว ฯลฯ
3. “นักธุรกิจไทย” วิตกหรือหวาดกลัวกระแสข่าวเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ หรือไม่?
อันดับที่ 1 ไม่ค่อยวิตก 41.18%
เพราะ อาจจะไม่เกิดตามที่เป็นข่าวก็ได้,คิดว่าทางสหรัฐฯ เองคงไม่ปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นฟองสบู่แน่ฯลฯ
อันดับที่ 2 ไม่วิตก 25.49%
เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตื่นตัวจากข่าวต่างๆ,รอดูสถานการณ์ไปอีกสักพัก ฯลฯ
อันดับที่ 3 ค่อนข้างวิตก 23.53%
เพราะ กลัวถูกยกเลิกในการส่งสินค้าที่ได้เซ็นอนุมัติไปแล้ว,มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ฯลฯ
อันดับที่ 4 วิตก 9.80%
เพราะ ปัจจุบันนี้ภาวะเศรษฐกิจในประเทศลำบากอยู่แล้ว,การส่งสินค้าอาจต้องหยุชะงักลงอีก
นานกว่าจะดีขึ้น ฯลฯ
4. การเตรียมการกรณี เศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ ของ “นักธุรกิจไทย”
อันดับที่ 1 ไม่กักตุนเงินสกุล ดอลลาร์ เก็บไว้มากๆ 37.25%
อันดับที่ 2 ขึ้นอยู่กับผู้บริหารและคณะผู้บริหารของบริษัท 25.49%
อันดับที่ 3 มีการวางแผนที่ดีโดยเฉพาะเรื่องบัญชีและการเงิน 19.61%
อันดับที่ 4 หากจะมีการเซ็นสัญญาใดๆกับต่างประเทศในตอนนี้ควรชะลอไว้ก่อน 11.76%
อันดับที่ 5 ติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นจากสื่อต่างๆและวิเคราะห์อย่างละเอียด 5.89%
5. ข้อเสนอต่อธุรกิจไทยจากกรณี เศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ
อันดับที่ 1 ผู้ประกอบการต่างๆควรมีการเตรียมความพร้อม คอยรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น 43.14%
อันดับที่ 2 การลงทุนในช่วงนี้ควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี/ชะลอการลงทุนไว้ก่อน 29.41%
อันดับที่ 3 ควรหาทางแก้ไขหรือหาตลาดใหม่ๆที่ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไร เช่น ตลาดแถบเอเชีย 17.65%
อันดับที่ 4 ควรติดตามข่าวสารอย่างละเอียด/สอบถามความคืบหน้ากับบริษัทต่างประเทศที่ติดต่อด้วย 9.80%
6. ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยจากกรณี เศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐฯ
อันดับที่ 1 ควรมีการผ่อนผันเกี่ยวกับการชำระหนี้ โดยเพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้นหรือลดดอกเบี้ย 37.25%
อันดับที่ 2 กระทรวงการคลังควรหามาตรการป้องกันและมีความเตรียมพร้อมตลอดเวลา 31.37%
อันดับที่ 3 รัฐบาลควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้ของภายในประเทศ/ลดการนำเข้า 19.62%
อันดับที่ 4 เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีหรือมีการเปลี่ยนแปลงควรประกาศหรือแจ้งให้ทราบตามความจริง
ไม่ควรปิดบัง 11.76%
--สวนดุสิตโพล--
-พห-