**ประชาชน 33.85% เป็นห่วงต่อการชุมนุมครั้งนี้มาก
เพราะมีบทเรียนจากที่ผ่านมาและกระแสของการก่อวินาศกรรม**
ตามที่แกนนำกลุ่มเสื้อแดง ประกาศว่าจะมีการเคลื่อนพลระหว่างวันที่ 12-14 มี.ค. ไปตามจุดต่างๆในกรุงเทพฯ โดยมีกลุ่มประชาชนจากต่างจังหวัดเข้ามารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเคลื่อนไหวให้รัฐบาลชุดนี้ยุบสภา อีกทั้งกระแสข่าวการก่อวินาศกรรม ที่ส่งผลให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ที่ไม่เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป จำนวน 2,376 คน ระหว่างวันที่ 2-6 มีนาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้
อันดับ 1 ไม่อยากให้มีการชุมนุมเกิดขึ้นเพราะเกรงว่าจะนำไปสู่ความรุนแรงหรือเห็นคนไทยต้องมาต่อสู้กันเอง 47.14% อันดับ 2 อยากขอให้ผู้ที่ออกมาชุมนุมทุกคนอยู่ในกฎระเบียบ ชุมนุมอย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง 21.51% อันดับ 3 อยากให้นึกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง 17.07% อันดับ 4 อยากขอให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะรัฐบาลและแกนนำเสื้อแดงไตร่ตรอง คิดถึงผลดี-ผลเสียที่ตามมา 14.28% 2. ประชาชนคิดว่าการชุมนุมครั้งนี้จะ “รุนแรง” หรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 51.76%
เพราะ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และกลุ่มแกนนำเสื้อแดงว่าจะกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกไปอย่างไร?
อันดับ 2 รุนแรง 34.38%
เพราะ มีประชาชนจาก ตจว. เข้าร่วมจำนวนมาก / มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า / เป็นการสะสมความไม่พอใจมาเป็นเวลานาน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่รุนแรง 13.86%
เพราะ รัฐบาลคงจะมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดีและกลุ่มเสื้อแดงก็ได้ประกาศไว้นานแล้วว่าจะชุมนุม ฯลฯ
อันดับ 1 เป็นห่วงมาก 33.85%
เพราะ มีบทเรียนจากครั้งที่ผ่านมา และยิ่งมีกระแสของการก่อวินาศกรรมออกมาให้รับรู้ ฯลฯ
อันดับ 2 เป็นห่วงอยู่บ้าง 31.30%
เพราะ การที่มีคนออกมาชุมนุมเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายตามมา ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่ค่อยห่วง 24.62%
เพราะ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจมีการตรึงกำลังและวางแผนป้องกันรับมือไว้เป็นอย่างดี ,รัฐบาลคอยเฝ้าระวังอยู่ ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่ห่วงเลย 10.23%
เพราะ เป็นเรื่องปกติทางการเมือง เป็นความเต็มใจของผู้ที่ออกมาชุมนุมเอง หากเกิดอะไรขึ้นก็ต้องยอมรับด้วยดี ฯลฯ
อันดับ 1 ยืดเยื้อ 41.54%
เพราะ หากรัฐบาลไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้อง กลุ่มผู้ชุมนุมคงจะไม่ยุติลงง่ายๆ และจะต้องชุมนุมยืดเยื้อออกไป ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่ยืดเยื้อ 32.07%
เพราะ กลุ่มผู้ชุมนุมก็มีภาระหน้าที่หรืองานที่ต้องทำ คงจะเข้าร่วมหลายวันไม่ได้ ,การชุมนุมต้องใช้เงินจำนวนมาก ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 26.39%
เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแกนนำและการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลว่าจะเป็นอย่างไร? ฯลฯ
อันดับ 1 ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะประชาชนที่มาร่วมชุมนุม 33.81% อันดับ 2 แกนนำกลุ่มเสื้อแดง /อดีตนายกฯ ทักษิณ 25.23% อันดับ 3 นายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล 21.29% อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ 19.67% 6. ประชาชนคาดว่าการชุมนุมครั้งนี้จะจบลงอย่างไร ? อันดับ 1 ไม่จบลง 42.46%
เพราะ ต่างฝ่ายคงไม่ยอมรับข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องจากฝ่ายตรงข้าม,สถานการณ์มาถึงจุดที่จะต้องแตกหักแล้ว ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 37.15%
เพราะ ขึ้นอยู่กับท่าทีของแกนนำและรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ฯลฯ
อันดับ 3 จบลงด้วยดี 20.39%
เพราะ กลุ่มเสื้อแดงได้ออกมาชุมนุมตามที่ต้องการ ทุกสถานการณ์ย่อมมีวันจบลงหรือคลี่คลายลงได้บ้าง ฯลฯ
อันดับ 1 ไม่มีการเตรียมการ 60.44%
เพราะ อยู่ไกล , คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงจะไม่รุนแรงมากนักหรือกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ฯลฯ
อันดับ 2 มีการเตรียมการรับมือ 39.56%
โดย ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด , อยู่บ้าน ไม่ออกไปไหนในช่วงที่มีการชุมนุม , เตรียมซื้อเสบียงอาหารตุนเก็บไว้ ฯลฯ
อันดับ 1 พยายามป้องกันมือที่ 3 ไม่ให้เข้ามาสร้างสถานการณ์หรือก่อความวุ่นวายมากขึ้น 40.22% อันดับ 2 รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ต้องใจเย็น อดทน ไม่ใช้กำลังหรืออาวุธแก้ปัญหา 30.08% อันดับ 3 รัฐบาลต้องเชิญแกนนำเสื้อแดงมาหารือร่วมกันเพื่อหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้ง 2 ฝ่าย 18.16% อันดับ 4 อำนายความสะดวกให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมในเรื่องห้องน้ำ อาหาร น้ำดื่ม เพื่อจะได้ลดความตรึงเครียดลงบ้าง 11.54% 9. บทบาทของสื่อมวลชน ต่อการชุมนุมครั้งนี้ควรเป็นอย่างไร? อันดับ 1 เกาะติดสถานการณ์ รายงานข่าวด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง 47.34% อันดับ 2 ไม่นำเสนอข่าวหรือภาพเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมซ้ำไปซ้ำมาเพราะอาจกระตุ้นให้คนออกไปชุมนุมมากขึ้นได้ 29.45% อันดับ 3 นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ไม่นำความคิดเห็นส่วนตัวสอดแทรกเข้าไปด้วย 23.21%
--สวนดุสิตโพล--